มหาวิทยาลัย 4 ประเทศอาเซียน ร่วมกันเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ตามโครงการ ” ประเทศไร้หมอกควัน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนม์เจริญ แสงรัตน์ หัวหน้าโครงการเครือข่ายประเทศไร้หมอกควัน สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน ดร. เพ็งคำหล้า พรวิไสย รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศลาว และคณะสัมมนาทั้ง 4 ประเทศอาเซียน ร่วมรับฟังข้อคิดเห็นข้อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาหมอกควัน ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า โครงการวิจัยที่ดำเนินการภายใต้ แผนวิจัยประเทศไทยไร้หมอกควัน (HazeFreeThailand)ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมด้วยความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (ResearchUniversityNetwork:RUN) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดงานASEAN2020: Managing Disasters & Haze ให้ไทยไรหมอกควัน ในช่วงวันที่ 11-12 มีนาคม ที่ผ่านมานั้นปัญหาหมอกควันค่อนข้างหนักมาก โดยมองว่าแท้ที่จริงมาจาก 3 ส่วนคือการเผา หมอกควันที่มาจากประเทศเพื่อน สภาพอากาศของภูมิประเทศที่ไม่มีลมทำให้ควันอยู่แบบนี้

ส่วนหมอกควันที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น ทำให้เราแก้ปัญหาด้วยการสร้างการนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างเครือข่ายที่ชื่อว่าประเทศไร้หมอกควัน โดยเบื้องต้นร่วมกันทำในแถบอาเซียน 4 ประเทศอาทิเวียดนาม ลาว กัมพูชา และประเทศเมียนมา ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการให้ความรู้สร้างความตระหนักในแก่ประชาชนในแต่ละประเทศ พร้อมนำเทคโนโลยีเครื่องวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ไปให้ติดตั้งในแต่ละที่เพื่อวัดค่าและเห็นได้ชัดเจนว่าฝุ่นละอองของประเทศนั้นเป็นอย่างไร การสร้างเครือข่ายและอาสาสมัครในพื้นที่ที่จะช่วยประชาสัมพันธ์เร่องของปัญหาหมอกควันของประเทศตนเอง ทั้งหมดนี้คือ 3 ขอบเขตงานของโครงการในวันนี้

และวันนี้ การอบรมเป็นสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาฝุ่นละออง ทั้งนี้ได้เชิญนักวิชาการจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และประเทศสิงคโปร์มาให้คำแนะนำแชร์ความคิดเห็นร่วมกันแก้ปัญหาหมอกควันของประเทศยังไง รวมถึงจังหวัดเชียงใหม่ด้วย และคาดหวังวันนี้ เราจะได้วิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และถ้าในอนาคตเราต้องการแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศเมียนมานั้นควรจะเริ่มทำยังไงต่อไป

ทั้งนี้ ประเทศไทยเจ้าภาพครั้งแรกในการจัดตั้งเครือข่าย “ประเทศไร้หมอกควัน” โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ผ่านมามีการจัดสัมมนาที่ประเทศลาว (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว) ได้รับการตอบรับในงานสัมมนาครั้งนั้นค่อนข้างดีมากเนื่องจากมีคนสนใจจำนวนมาก และการจัดงานที่สำนักอุทยานวิทยาศาสตร์วันนี้ ท่านรองอธิบดีจากประเทศลาวก็ได้มาสังเกตการณ์ร่วมงานในครั้งนี้อีกด้วย ซึ่งระยะเวลาการจัดโครงการนั้นเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2561 ที่ผ่านมาและจะเสร็จสิ้นโครงการฯ ประมาณช่วงเดือนเมษายน 2562 นี้

โดยโครงการครั้งนี้เป็นเพียงเฟสที่สองในการร่วมประเทศในกลุ่มอาเซียน 4 ประเทศก่อนเบื้องต้น และหลังจากนั้นจะมีขยายลงไปในประเทศตอนใต้ของประเทศไทยในกลางปีนี้อาทิประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดเนเซีย ซึ่งมองว่าประเทศเหล่านั้นก็ประสบปัญหาหมอกควันและลอยข้ามมายังประเทศเราได้เช่นกัน

ดร. เพ็งคำหล้า พรวิไสย รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศลาว กล่าวเพิ่มเติมว่า การมาสัมมนาวันนี้ “โครงการเครือข่ายประเทศไร้หมอกควัน ” เป็นการเริ่มต้นที่ดีและได้เรียนรู้สภาวะมลพิษทางอากาศในแต่ละประเทศ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็สามารถลอยข้ามในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ได้ การมาสัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีจะได้ศึกษาข้อมูลรวมกัน เพื่อแผนพัฒนาแก้ไขปัญหาในอนาคตสร้างแผนการปฏิบัติกำจัดปัญหาหมอกควันฝุ่นละออง และผู้เชื่ยวชาญที่มาให้ความรู้ครั้งนี้ จะสามารถหาแนวทางกำจัดมลภาวะทางอากาศได้

ด้าน สปป.ลาว เรื่องของปัญหาหมอกควันมองว่าปัญหาไม่หนักมาก เนื่องจากรัฐบาลลาวมีกฎแข้งขัดไม่ให้มีการเผาเด็ดขาดและไม่ให้มีไฟป่าเกิดขึ้น แต่ยังมีประชาชนบางกลุ่มลักลอบจุดเผาขยะอยู่บ้าง รวมถึงควันที่มาจากควันรถยนต์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ครั้งนี้คือการมาศึกษาและดูว่าจะทำความร่วมมือในด้านใดบ้าง ซึ่งต้องรู้ปัญหาเหมือนกันก่อน และกำหนดหัวข้อว่าจะทำอะไรร่วมกัน ศึกษาปัญหาและทางออกร่วมกัน ด้านอุตสาหกรรมข้าวโพดขนาดใหญ่หรือเกษตรกรไม่ค่อยมี ส่วนมากจะมีประชาชนเป็นคนปลูกเองแต่ไม่มาก แต่จะทำการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก พืชอื่นจะเป็นพืชสำรองเท่านั้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น