ความเสี่ยงด้านสุขภาพ จากการปล่อยโคมลอย ในช่วงเทศกาลยี่เป็ง

บทความ: ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการปล่อยโคมลอยในช่วงเทศกาลยี่เป็ง โดย Mr.Masahiro Araki

ทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน นักท่องเที่ยวนับหมื่นมาที่เชียงใหม่ เพื่อร่วมประเพณียี่เป็ง อันเป็นประเพณีพื้นบ้านล้านนาของภาคเหนือ ซึ่งนอกจากการลอยกระทง เพื่อขอขมาพระแม่คงคาแล้ว ยังได้มีการปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งข่าวท้องถิ่น (www.northpublicnews.com) โคมลอยจำนวนมากถึง 27,278 ลูกในปี 2560 ซึ่งในช่วงเทศกาลลอยกระทง นอกจากจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและความสุขใจ ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวแล้ว

ในทางกลับกัน คุณทราบหรือไม่ว่าการปล่อยโคมลอย ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งอาจสามารถส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์อย่างมากมายอย่างไรบ้าง ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ปริมาณฝุ่น PM2.5 และ PM10 มีค่าที่สูงกว่าในช่วงปกติ ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยใจกลางเมืองเชียงใหม่ ปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงกว่าช่วงเวลาปกติถึง 1.7 เท่า

ผมชื่อ Masahiro Araki จาก Chuo University ในโตเกียว ผมเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 ถึงพฤษภาคม 2561 ผมมีความสนใจในประเพณียี่เป็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยโคมลอย และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จึงได้เข้ามาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งนี้ที่หน่วยวิจัย เพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ ม.เชียงใหม่แห่งนี้ ที่หน่วยวิจัยฯ แห่งนี้ มุ่งเน้นศึกษาผลกระทบสิ่งแวด ล้อม โดยใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต หรือ LCA ซึ่งวิธีการ LCA สามารถประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของวงจรชีวิต ผลิตภัณฑ์เริ่มต้นจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้และการกำจัดซาก

ผมได้ทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดวัฏจักรชีวิตของโคมลอย โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การปล่อยโคมลอยและการกำจัดซากโคมลอย ซึ่งลักษณะข้อมูลที่รวบรวมได้แก่ ลักษณะวัตถุดิบที่นำมาผลิตโคมลอย พลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตโคมลอยและใช้ในการขนส่ง โคมลอยจากแหล่งผลิตมายังแหล่งจำหน่าย ข้อมูลประเภทมลสารสู่อากาศ ตลอดจนลักษณะการกำจัดซากโคมลอยที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้น จะได้ถูกนำมาประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นในหน่วย DALY ซึ่งเป็นการระบุจำนวนปีที่สูญเสียไป เนื่องจากสุขภาพไม่ดี, พิการหรือตายเร็วขึ้น

ผลการประเมินทางสิ่งแวดล้อม เฉพาะการปล่อยโคมลอย จำนวน 27,278 ลูกนั้น พบว่ามีค่าประมาณ 0.004 DALY ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจทำให้อายุขัยของมนุษย์เราลดลง 1.46 วัน ลงจากเดิม

ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ที่ได้จากการประเมินฯ ข้างต้นนั้นมาจากมลสารสู่อากาศประเภท คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ที่ทำจากกระดาษชำระนำมาชุบด้วยน้ำมันก๊าด

และหากทำการประเมินตลอดวัฎจักรชีวิตของโคมลอยแล้ว เราพบว่ามีค่าประมาณ 0.01547 DALY ซึ่งนั่นหมายความว่า อาจทำให้อายุขัยของมนุษย์เราลดลง 5.46 วัน ลงจากเดิม

หากสมมุติว่าประชาชนอาจมีชีวิตอยู่ได้ 70 ปี หรือ 25,550 วัน และอาจได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยโคมลอยทุกปี เราสามารถคำนวณจำนวนปีที่สูญเสียไปตลอดชีวิต ดังนี้ *
70 (years)*0.01547 DALY=1.0829 DALY (395 days)
การประเมินฯ นี้ แสดงให้เห็นว่าคุณอาจมีอายุขัยที่ลดลงจากเดิม 395 วัน
หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คุณอาจมีสุขภาพที่ไม่ดี หรือความพิการเป็นเวลา 395 วัน

จากผลวิจัยที่นำเสนอมา เราอาจไม่สามารถไปยกเลิกประเพณีอันดีงามที่มีมาตั้งแต่โบราณ แต่ทางผมเพียงอยากให้ทุกท่านได้รับรู้และทราบถึงข้อมูลที่เกิดขึ้น ซึ่งในอนาคตอาจส่งผลให้มีการจัดการที่ดีมากขึ้นจากเดิม

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณ รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล สำหรับคำแนะนำและข้อคิดในการวิจัยที่หน่วยวิจัยฯ ผมขอขอบคุณ ศ.มาโนช โพธาภรณ์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สำหรับการให้คำปรึกษาและแก้ไขวิทยานิพนธ์ ผมขอขอบคุณ ดร.เอกพร นวภานันท์และ คุณฐิฏาพร สุภาษี สำหรับความรู้ในด้านการประเมินวัฏจักรชีวิต

ร่วมแสดงความคิดเห็น