29219

ย้อนรอยสี่แยกช้างเผือกก่อนสร้างวงเวียนน้ำพุ 2503

ย่านช้างเผือกหมายถึงบริเวณประตูช้างเผือก ตั้งอยู่บริเวณถนนช้างเผือกต่อกับถนนโชตนา ชื่อย่านช้างเผือกน่าจะมาจากรูปปั้นช้างเผือก 2 ตัว คือ ปราบจักรวาลและปราบเมืองมารเมืองยักษ์ ซึ่งพระเจ้ากาวิละโปรดให้สร้างไว้ที่ประตูหัวเวียง ปัจจุบันช้างเผือกทั้งสองนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าของประตูขนส่งช้างเผือก ส่วนที่บริเวณด้านหน้าประตูช้างเผือกได้สร้างน้ำพุรูปช้างเผือก (ช้างทาสีขาว) ตั้งอยู่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของประตูช้างเผือก ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่าเคยมีการสร้างช้างเผือกมาแล้วตั้งแต่สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากการทำศึกกับสุโขทัย แต่เดิมย่านช้างเผือกเป็นที่รวมของชุมชนหลากหลายเชื้อชาติเช่นเดียวกับย่านอื่นๆ คือมีทั้งชาวจีน คนเมือง คนไทยใหญ่ และมุสลิม ความหลากหลายของผู้คนเหล่านี้เห็นได้จากศาสนสถานซึ่งเป็นสถานที่ทำบุญของแต่ละชุมชนที่ยังคงอาศัยอยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น กลุ่มคนเมืองและคนจีนไปวัดเชียงยืน คนไทยใหญ่ไปวัดป่าเป้า ส่วนคนมุสลิมก็มีมัสยิดเป็นศูนย์รวมจิตใจอยู่ในชุมชน ชุมชนมุสลิมแห่งนี้เพิ่งจะมาตั้งอยู่ที่นี่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง อาชีพหนึ่งที่เคยเป็นอาชีพหลักของชาวไทยใหญ่ในแถบนี้คือ การทำหนังพอง ที่นิยมรับประทานแกล้มกับขนมจีนน้ำเงี้ยว หนังพองมีลักษณะคล้ายแคบหมูทำจากหนังวัว ในขณะที่แคบหมูทำจากหนังหมู ปัจจุบันอาชีพนี้หายไปจากชุมชนหมดแล้ว ใกล้ๆ กับประตูช้างเผือก เป็นที่ตั้งของตลาดช้างเผือก แต่เดิมเป็นย่านการค้าที่มีกลุ่มพ่อค้าจากทางเหนือของเมืองนำของมาวางขายร่วมกับคนในย่านชุมชนนี้ ปัจจุบันพ่อค้ากลุ่มนี้ยังมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ตลาดช้างเผือกเป็นตลาดสด เริ่มติดตลาดตั้งแต่ตี 3 ตี 4 พอสายสัก 9 โมงเช้าตลาดก็เริ่มวายแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าขายปลีกและกลุ่มที่ทำอาหารขาย ฉะนั้นของที่ขายที่นี่จะมีทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป ส่วนหนึ่งขายกันแบบยกโหล เช่นแคบหมู โจ๊ก บะหมี่ และก๋วยจั๊บ รวมทั้งอาหารสดเช่น หมู […]

(มีคลิป) แจงกำแพงเมืองติดประตูช้างเผือกพังทลาย เตรียมบูรณะ

กำแพงเมืองติดประตูช้างเผือกพังทลาย แจงสาเหตุชัดเจน มาจากฝนตกหนักต่อเนื่องในเขตเมือง น้ำเข้าไปอยู่ในแกนกลางเกิดแรงดันทำให้เปลือกที่ก่อสร้างหุ้มกำแพงเดิมพัง ทน.เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ 7 เตรียมปรับปรุงบูรณะ พร้อมเร่งดามกำแพงฝั่งทิศใต้ที่เริ่มพอง เร่งสำรวจประตูเมืองทุกจุด วันที่ 25 กันยายน 2565 เวลา 09.30 น. ณ บริเวณลานหน้าประตูช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองนากยกเทศมนตรี และเจ้าหน้าที่เทศบาลนครเชียงใหม่ นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ร่วมกันตรวจสอบกำแพงเมืองเชียงใหม่ช่วงที่ติดประตูเชียงใหม่ด้านทิศเหนือที่เกิดพังทลายลงในช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า เหตุการณ์กำแพงเมืองพังทลายเกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.30 น. ของเช้าวันนี้ เกิดหลังจากที่ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ทำให้กำแพงเมืองเกิดการชุ่มน้ำและเกิดพังทลายขึ้น ซึ่งกำแพงส่วนที่พังทลายลงมานี้เป็นกำแพงชั้นนอกที่สร้างขึ้นมาราวปี 2500 ต้นๆ แต่กำแพงเมืองชุดเดิมยังคงสภาพซึ่งยังอยู่ด้านในเข้าไป “สำหรับแนวทางในการแก้ไขต่อไป เริ่มจากที่จะต้องปิดพื้นที่บริเวณนี้ไว้ก่อนเพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าพื้นที่ จากนั้นทางเทศบาลนครเชียงใหม่และทางกรมศิลปากรจะได้เร่งดำเนินการ เบื้องต้นจะตั้งจุดค้ำยันไว้ก่อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ส่วนกำแพงเมืองจุดอื่นๆ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ก็จะร่วมกับกรมศิลปากรทำการเร่งสำรวจประตูเมืองและกำแพงเมืองในทุกจุดว่ามีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใดต่อไป” นายอัศนี บูรณุปกรณ์ […]

(มีคลิป) เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย ประตูช้างเผือก

เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย ประตูช้างเผือกโบราณสถานสำคัญ หลังฝนตกหนักถล่มเสียหาย ล่าสุดทำการปิดกั้นพื้นที่ชั่วคราว เตรียมวางแผนบูรณะซ่อมแซมโดยเร็ว ช่วงเช้าวันนี้เกิดเหตุประตูช้างเผือก ซึ่งเป็นประตูเมืองโบราณด้านทิศเหนือของเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ พังถล่มเสียหายเป็นแนวยาวเกือบ 10 เมตร เศษก้อนอิฐแตกกระจัดกระจายมทั่วบริเวณ ส่วนป้ายข้อมูลที่อธิบายถึงเรื่องราวประวัติศาตสร์พังลงมาด้วยเช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความตกใจให้กับชาวเชียงใหม่และประชาชนที่ทราบข่าว ขณะที่เจ้าหน้าที่เทศบาลเข้าปิดกั้นพื้นที่และเก็บเศษซากก้อนอิฐเพื่อป้องกันอันตรายกับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา หลังเกิดเหตุนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ โดยนายอัศนี บอกว่า จากการสำรวจพบกำแพงเมืองในส่วนประตูเสียหายค่อนข้างมาก สาเหตุมาจากฝนตกหนักทำให้น้ำซึมเข้าไปภายในจนดินอ่อนตัวเกิดพังถล่ม หลังจากนี้จะปิดพื้นที่ไปก่อนระหว่างเข้าตรวจสอบและบูรณะ นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กล่าวว่า กำแพงเมืองชั้นในของเชียงใหม่ โดยเฉพาะประตูเมืองแต่ละจุดที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานก่อสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2500 ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประตูช้างเผือกมาจากฝนที่ตกหนักสะสม น้ำซึมเข้าแกนในของกำแพง ประกอบกับโครงสร้างภายในเป็นการก่ออิฐครอบแนวกำแพงเดิม ไม่มีโครงสร้างการรับน้ำหนักด้วยการโยงยึด เมื่อน้ำอิ่มตัวภายในจึงเกิดแรงดันด้านข้างทำให้กำแพงถล่มลงมา โดยประตูเชียงใหม่มีการบูรณะด้วยการก่ออิฐหุ้มเปลือกด้านนอกเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน หลังจากนั้นมาไม่เคยมีการซ่อมบำรุง จนมาเกิดเหตุครั้งนี้ สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นโดรวมจะม่มากเพราะเป็นเปลือกใหม่ด้านนอก แต่ก็ถือเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ หลังจากนี้สำนักศิลปากรที่ […]