4447

วิถีเกษตรต้นตอฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังจะถูกควบคุมโดย พรบ.อากาศสะอาด

ชาวนากำลังเตรียมทำนาปรังและเกษตรกรปลูกข้าวโพดมีการเร่งเผาตอซังข้าวและตอซังข้าวโพดในหลายอำเภอทำให้ในตอนนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เกษตรกรยืนยันว่าจำเป็นต้องทำ เพราะถ้าไม่เร่งเผาจะทำนาปรังไม่ทันชลประทานปล่อยน้ำและทันฤดูเก็บเกี่ยวดังนั้นต้องเร่งกำจัดตอซังให้ทันเพื่อเตรียมเพาะปลูก  หลายๆ จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน จึงต้องเฝ้าระวังต้องคอยดูแลกลุ่มเปราะบางเช่น เด็กและผู้สูงอายุ โดยในเขตพื้นที่ภาคเหนือในตอนนี้  4 จังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานก็คือ พิษณุโลกลำปาง ลำพูนและสุโขทัย โดยค่าฝุ่นมากที่สุดอยู่ที่พิษณุโลก อยู่ที่ 51.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเชียงใหม่จะมีปริมาณค่าฝุ่นในระดับกลางเนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนโปรยปรายและอากาศหนาวเย็น แต่นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวเนื่องจากเชียงใหม่จะมีปัญหาหมอกควันและฝุ่นในช่วงเดือนเมษายนของทุกๆ ปี ในห่วงเวลานับย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมาเชียงใหม่เป็นอีก 1 จังหวัดที่ปัญหาฝุ่นควันเป็นปัญหาอันดับ 1 และเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข ดังนั้นเชียงใหม่ต้องเตรียมตัวเพื่อรับกับปัญหาของการเผาและฝุ่นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ปัญหาการเผาทางการเกษตรไม่ใช่ปัญหาใหม่และยังสร้างมลพิษในอากาศสูง ด้านผู้เผาก็ยืนยันว่าก็มีความจำเป็นต้องเผาเพราะว่าปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวบังคับในขณะที่ พรบ.อากาศสะอาด ที่กำลังผลักดันเพื่อที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาฝุ่นควันทั้งประเทศจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาการเผาพื้นที่การเกษตรและเพื่อจะบรรจุลงไปในพรบอากาศสะอาด อาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้กล่าวไว้ว่า กฎหมายควบคุมการเผาพื้นที่การเกษตรมันก็มีอยู่แล้วแต่ทำไมทุกวันนี้ก็ยังพบกันเผากันอย่างชัดเจน การใช้กฎหมายบังคับใช้ไม่ได้หรือว่ายังไง ประเด็นคือมันไม่ตอบโจทย์เกษตรกรที่เขาทำเขาเรียกว่าเกษตรเชิงเดี่ยว เช่น นาข้าว อ้อย ข้าวโพดวิธีการจัดการพวกวัสดุการเกษตรของเขาที่ง่ายและลงทุนต่ำสุด คือ การเผา เราจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ แนวทางที่ 1 คือ ต้องมีนโยบายป้องกัน คือ การแปรรูปไปสู่การมีรายได้ทางเศรษฐกิจ เช่น ตอซังข้าว มันน่าจะไปทำอะไรที่เป็นรายได้ทางเศรษฐกิจได้บ้าง คือ เราจะมาแก้ตอนเผาคงไม่ทันมันต้องเป็นนโยบายเชิงป้องกันและการแปรรูปไม่ว่าจะเป็น ตอซังข้าว อ้อยหรือตอซังข้าวโพด ไปเป็นวัสดุที่เป็นรายได้ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรด้วย สิ่งนี้คือสิ่งที่จะต้องทำเป็นอย่างแรก เช่น อัดก้อน อัดแท่ง ทำอาหารสัตว์ ทำเชื้อเพลิง สิ่งเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรฯ ที่น่าจะต้องรับผิดชอบ ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้เน้นกระบวนการป้องกันเหล่านี้ให้ชัดเจน  แนวทางที่ 2 ถ้าสมมุติว่าเกิดมาตรการเรื่องราคา เช่นมาตรการเรื่องแรงจูงใจ กลุ่มที่เผาราคาสินค้าต่ำเพราะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่จะต้องนำมาดูแลสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นมาตรการจูงใจทางราคา ว่าถ้าเกิดไม่มีการเผาราคาสินค้าจะสูงถ้าเกิดเผาราคาจะปรับลดลงไปในราคาต่ำ มาตรการสุดท้ายเป็นมาตรการทางกฎหมาย ต้องทำควบคู่กันไป  ต้องทำทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน มาตรการทางกฎหมายตอนนี้มีการผลักดัน พรบ.อากาศสะอาด มาตรการกฏหมายจะมีการบรรจุหรือว่าปรับปรุงใหม่อะไร พรบ.อากาศสะอาด ใส่ลงไปเป็นเนื้อหาถ้า พรบ. นี้สำเร็จขึ้นมา มาตรการทางกฎหมายลงโทษอันนี้ต้องชัดเจน แต่ว่าระดับจะแบ่งเป็นหลายส่วน 1. กลุ่มที่ปล่อยมลพิษในกิจการที่ทำกำไร อย่างเช่นโรงงาน รถบรรทุกขนส่ง ถือว่าเป็นธุรกิจสร้างกำไรจะต้องรับผิดชอบ 2. ผู้ปล่อยที่ทำเป็นวิถีชีวิตประจำวัน เช่น ขับรถยนต์หรือว่าทำกินแบบใช้วิธีปกติ จะอยู่ในกลุ่มกลาง กลุ่มที่อยู่ในป่าและได้รับผลกระทบค่อนข้างสูงแล้วก็มีส่วนร่วมในการลุกขึ้นมาดูแลป่าจะต้องมีมาตรการที่ทำให้เกิดความเป็นธรรม 3. กลุ่มเปราะบาง หรือผู้ทุกกระทำ  โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ คือ  1. คณะกรรมการเพื่อการจัดการอากาศสะอาด กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ดังนี้ คณะกรรมการนโยบายอากาศสะอาด ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย  คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ซึ่งมี รมว.ทส. เป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการขับเคลื่อนเชิงวิชาการ และคณะกรรมการอากาศสะอาดจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และ คณะกรรมการอากาศสะอาดพื้นที่เฉพาะ ซึ่งจะแต่งตั้งเมื่อพบว่ามีสถานการณ์และระดับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 2. ระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ […]

เทศบาลนครเชียงใหม่ – AIS ชูภารกิจคนไทยไร้ e-waste

เทศบาลนครเชียงใหม่ – AIS เดินหน้าสร้างการเติบโตร่วมกันของคน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมชูภารกิจคนไทยไร้ e-waste แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมพร้อมสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เสริมทักษะพลเมืองดิจิทัล อย่างยั่งยืน จากวิสัยทัศน์ของ เทศบาลนครเชียงใหม่ และ AIS ที่มีเป้าหมายเดียวกันในการสร้างคุณภาพชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือของ AIS และเทศบาลนครเชียงใหม่ ในครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน ตั้งแต่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในโครงการ “คนไทยไร้ e-waste” มุ่งสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี อันจะนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากลเพื่อยกระดับแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน รวมไปถึงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตชาวเชียงใหม่สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล ผ่านหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ให้สามารถรับมือและใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า “เทศบาลนครเชียงใหม่ เรามีวิสัยทัศน์ คือนครแห่งความสุขภายใต้วิถีใหม่ ที่มุ่งสร้างความสมดุล ทั้งคุณภาพชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ระบบบริการสาธารณะและสิ่งแวดล้อมที่ดี และพร้อมร่วมมือกับพันธมิตรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน วันนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่จับมือกับ AIS เพื่อนำจุดแข็งจากทั้ง 2 องค์กร มาร่วมกันต่อยอดการเติบโตร่วมกันของสังคม […]

ศาลปกครองเชียงใหม่พิพากษาชี้ ‘นายกฯ กก.วล.’ ละเลยหน้าที่

ศาลปกครองเชียงใหม่พิพากษาชี้ ‘นายกฯ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ’ ละเลยหน้าที่ ล่าช้าแก้ปัญหาฝุ่น สั่งให้ใช้อำนาจแก้ปัญหาฝุ่นควัน ปลัด ทต.ผู้ฟ้องคดีขอไม่ให้สัมภาษณ์ ระบุคดียังไม่ถึงที่สุด จากกรณีศาลปกครองเชียงใหม่ อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ส. 2/2566 คดีหมายเลขแดงที่ ส. 2/2566 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ระหว่าง นายวสุชาติ พิชัย ผู้ฟ้องคดี กับ นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 วานนี้ (10 ก.ค.66) ทั้งนี้ทางศาลปกครองระบุว่านายวสุชาติ พิชัย ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้แก่ประชาชนอย่างจริงจัง จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ซึ่งนายวสุชาติ พิชัย ผู้ฟ้องคดี ได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาและคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สั่งให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรทำฝนหลวงเพื่อดับควันหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน […]

น่าชื่นชม!!นศ.ราชภัฎเชียงใหม่จับมือร้านค้าเก็บขยะ ล่องแพแม่วาง

น่าชื่นชม!! นศ.ราชภัฎเชียงใหม่จับมือผู้ประกอบการร้านค้าริมน้ำล่องแพแม่วาง เก็บขยะ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2566!นายนิคม ออนเขียว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชมรมการท่องเที่ยวบ้านสบวิน (ท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลแม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่าในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชมรมการท่องเที่ยวบ้านสบวิน ล่องแพแม่วาง ขอขอบคุณนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับผู้ประกอบการร้านค้าริมน้ำล่องแพแม่วาง ทุกร้าน ทุกแพ ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมจัดเก็บขยะตามลำน้ำแม่วาง หลังจากเทศกาลสงกรานต์ผ่านไป หรือถ้ามีขยะใหม่ก็ต้องร่วมกันจัดเก็บอีก และขอฝากถึงนักท่องเที่ยวที่มาล่องแพแม่วางทุกท่านทราบทุกวันนี้ท่านได้นำอาหารและเครื่องดื่มจากนอกพื้นที่ซื้อมาแล้วมาล่องแพทำให้ขยะในพื้นที่เราเพิ่มมากขึ้น การที่ท่านมาล่องแพและมีความสุข ท่านทิ้งความทุกข์ให้กับผู้ประกอบการก็คือขยะตามลำดับที่เราจะต้องคอยจัดเก็บ อยู่ตลอดเวลาฉะนั้นร่วมด้วยช่วยกันนะครับป้องกันอย่างไรที่จะไม่ให้ขยะเหล่านั้นที่นำมา ได้ถูกน้ำพัดพาแล้วลอยไปข้างล่าง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวล่องแพแม่วาง

บูรณาการองค์ความรู้และการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน

“AiroTec CMRU” จับมือ “GISTDA” ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร ฝึกอบรม“Pandora and GEMS Data Processing & Application”เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จับมือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม หรือในนามของจิสด้า (GISTDA) สหประชาชาติ (UNESCAP) กรมควบคุมมลพิษ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร 16 หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 สภาลมหายใจเชียงใหม่ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จัดกิจกรรมฝึกอบรม “Pandora and GEMS Data […]

5 นวัตกรรม จัดการขยะพลาสติก

ในแต่ละปีทั่วโลกมีการผลิตพลาสติกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล 1.2 พันล้านตัน โดยวงจรชีวิตของพลาสติก ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2 พันล้านตัน อีกทั้งมีขยะพลาสติกเกือบ 100 ล้านตัน ได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกต้อง หรือปล่อยให้รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม หลายประเทศ จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิเช่น

อธิบดี คพ. แลกเปลี่ยนการจัดการไฟป่า ในที่โล่ง ด้วยระบบ Fire-D

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาระบบการตัดสินใจ การจัดการไฟในที่โล่ง ด้วยระบบ Fire-D ระดับจังหวัด และท้องถิ่น เพื่อพัฒนาขยายผลต่อยอดในพื้นที่ต่างๆ วันนี้ (3 ก.พ. 66) ที่ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และคณะ ได้ร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาระบบการตัดสินใจ การจัดการไฟในที่โล่ง ด้วยระบบ Fire-D ระดับจังหวัด และท้องถิ่น ก่อนลงพื้นที่ไปยังพื้นที่จุดต้นแบบของการบริหารจัดการไฟป่า ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ รวมถึงสภาองค์กรชุมชนและเครือข่ายระดับพื้นที่ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย สำหรับการลงพื้นที่เรียนรู้ แลกเปลี่ยน การบริหารจัดการไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ ได้ร่วมกันหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหลากหลากประเด็น ทั้งการบริหารจัดการไฟป่าในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ระบบการทำงานของระบบ Fire-D การถ่ายโอนภารกิจด้านการควบคุมไฟป่า การถอดบทเรียนและข้อเสนอจากการถอดบทเรียนเชียงใหม่โมเดล รวมถึงการลดความขัดแย้งในการบริหารจัดการไฟป่า และการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับการบริหารจัดการไฟป่า โดยผู้นำสภาองค์กรชุมชน ได้เสนอแนวทางการถ่ายโอนภารกิจด้านการควบคุมไฟป่า ให้คณะกรรมการกระจายอำนาจ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง […]

(มีคลิป) กองทัพภาคที่ 3 ส่งเฮลิคอปเตอร์ สนับสนุนเมื่อเกิดไฟป่า

กองทัพบก กองทัพภาคที่ 3 ส่งเฮลิคอปเตอร์ Mi-17 พร้อมถุงตักน้ำสนับสนุนเมื่อเกิดไฟป่าในพื้นที่เสี่ยง และจัดกำลังเฝ้าระวังในจุดต่างๆในพื้นที่ หากเกิดสถานการณ์ไฟป่าขึ้นอีกก็พร้อมปฎิบัติงานทันทีที่บริเวณลานสนามกีฬาศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เฮลิคอปเตอร์ Mi-17 ได้ลงจอด เพื่อที่จะมาประจำการในการสนับสนุนดับไฟป่าในพื้นที่จังหวัดลำปาง และอีก – จังหวัดภาคเหนือได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรการในการเตรียมในการับมือไฟไหม้ป่าในพื้นที่ที่ไม่สามารถเดนเท้าเข้าไปดับได้ ต้องอาศัยการโปรยน้ำดับไฟทางอากาศแทน หลังจากที่เฮลิคอปเตอร์ลวจอดได้แล้ว พ.อ.สมจริง กอรี รอง รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี , พ.อ. อาทิรัช ปุ๊ดหน่อย หัวหน้ากองกิจการพลเรือนมณฑลทหารบกที่ 32 และคณะได้ให้การต้อนรับ คณะนักบินและผู้ติดตามภารกิจดับไฟป่าก่อนที่จะมาประชุมวางแผนในการบินสำรวจพื้นที่เป้าหมายตามที่ได้รับแจ้ง และสำรวจพื้นที่อ่างเก็บน้ำต่างๆเพื่อที่จะสนับสนุนในการโปรยน้ำทางอากาศในการดับไฟไหม้ป่าให้แล้วเสร็จเร็วที่สุด ขณะที่สถานการณ์ไฟป่าดอยพระบาทสงบตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา แต่มีรายงานพบกลุ่มควันไฟ 2 จุด 2 อำเภอ จึงได้มีการเฮลิคอปเตอร์ Mi-17 ขึ้นบินสำรวจพื้นที่ […]

ทต.ร้องกวางขอความร่วมมือป้องกันและแก้ไขไฟป่า

นายพิพัฒน์ ซื่อทรงธรรม นายกเทศมนตรีตำบลร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เผยว่าจังหวัดแพร่ ได้ประกาศขอความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติหมอกควัน และกำหนดให้ทุกพื้นที่ทุกหมู่บ้านในท้องที่จังห่วัดแพร่ เป็น เขตควบคุมไฟป่าและการเผาในที่โล่ง โดยจ.แพร่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 15 และมาตรา 29 จังหวัดแพร่จึงกำหนดให้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 เป็นช่วง “วิกฤติหมอกควัน” และกำหนดให้ทุกพื้นที่ทุกหมู่บ้านในท้องที่จังหวัดแพร่ เป็น “เขตควบคุมไฟป่าและการเผาในที่โล่ง”ดังนั้น จึงขอให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดแพร่ ปฏิบัติดังนี้ 1. ห้ามเผาเด็ดขาดในทุกพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ริมทางหลวง พื้นที่ชุมชนและเมือง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงด้วยวิธีการเผาในช่วงก่อนและหลังประกาศช่วงวิกฤติหมอกควัน ให้แจ้งขออนุญาตจากกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในเขตปกครองท้องที่นั้น […]

สะเมิงถกปัญหา รับมือไฟป่าหมอกควัน

สะเมิงถกรับมือปัญหาไฟป่าหมอกควัน​ นายอำเภอนั่งหัวโต๊ะ​ เคาะให้บูรณาการสื่อสารทำความเข้าใจ ถึงผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ วันที่ 25 มกราคม 2566. นายณฐกร ภัทรวนนท์ นายอำเภอสะเมิง/ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM.2.5 แบบบูรณาการ อำเภอสะเมิง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไฟป่า และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM.2.5 แบบบูรณาการ โดยเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนบูรณาการร่วมกันดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจถึงผลกระทบไฟป่าหมอกควันให้กับประชาชนในพื้นที่ ตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ และติดตามสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ การลงทะเบียนในระบบ FireD ณ หอประชุมอำเภอสะเมิง

อ.พร้าว​ Kick off ปัญหาไฟป่าหมอกควัน​

อ.พร้าว​ Kick off รณรงค์ร่วมกันแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควัน​ หวังสร้างการรับรู้ให้ประชาชน​ทราบถึงสถานการณ์ วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ลานด้านหน้าที่ว่าการอำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่​ นายวรุตม์ วิศิษฏ์ศิลป์ นายอำเภอพร้าว เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick off รณรงค์การแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อำเภอพร้าว ปี 2566​ โดย​มี​ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประชาชนจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกิจกรรม สำหรับการจัดกิจกรรม​ Kick off ครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของภาคส่วนต่างๆ และสร้างความรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์ แนวทางการปฏิบัติตน ซึ่งมีกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายภาครัฐและภาคประชาชน และการปล่อยแถวขบวนรถน้ำฉีดพ่นละอองน้ำบนท้องถนนเพื่อลดฝุ่นละออง

POLLUTION พบสารเคมีระดับสูงในวาฬเพชฌฆาต ที่ใกล้สูญพันธุ์

#POLLUTION พบ ‘สารเคมีตลอดกาล’ ระดับสูงในวาฬเพชฌฆาต หรือ ออร์กา แถบประเทศแคนาดาที่ประชากรประจำถิ่นใกล้สูญพันธุ์ โดยสารเคมีนี้มีชื่อว่า ‘4NP’ หรือ 4-โนนิลฟีนอล (4-nonylphenol) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษชำระ และพบในสบู่ ผงซักฟอก และการแปรรูปสิ่งทออื่น ๆ สารเคมีตลอดกาลคือ สารที่คงอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน ไม่หายไปไหน พวกมันเล็ดลอดเข้าสู่ธรรมชาติและมหาสมุทรจากโรงบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม และเข้าไปปนเปื้อนสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก จากนั้นนักล่าระดับสูงขึ้นไปก็กินมัน เช่นวาฬเพชฌฆาตกลุ่มนี้ที่มีจำนวนน้อยลงจากการประมงที่มากเกินไปอยู่แล้ว ทำให้พวกมันกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีการปนเปื้อนสารเคมีมากที่สุดในโลก . งานวิจัยนี้ได้เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อของวาฬที่เกยตื้นตามแนวชายฝั่งของรัฐบริติชโคลัมเบีย ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2018 จำนวน 6 ตัว ซึ่งพบว่าทุกตัวมีการปนเปื้อนสารเคมี และ 46% ของสารเคมีนั้นคือ 4NP เป็นหนึ่งในสารที่ถูกระบุว่าเป็นสารพิษอินทรีย์แบบถาวร แต่ก็ยังไม่มีใครศึกษารวมทั้งควบคุมด้วย ทำให้มันถูกใช้อย่างไม่มีใครห้าม และมันก็ปนเปื้อนในออร์กาท้องถิ่นของรัฐบริติชโคลัมเบีย “งานวิจัยชิ้นนี้เป็นสัญญาณเตือนภัยของวาฬภาคใต้ที่เป็นประชากรใกล้สูญพันธุ์ และอาจเป็นไปได้ว่าสารปนเปื้อนมีส่วนทำให้จำนวนประชากรลดลง เราแทบรอไม่ไหวแล้วที่จะปกป้องสายพันธุ์นี้” ดร. ฮวน โฮเซ่ อาลาวา (Dr Juan José Alava) จากหน่วยวิจัยมลพิษทางทะเลที่สถาบันเพื่อมหาสมุทรและการประมง […]

1 2