“ผงชูรสแท้” กินได้ไม่มีโทษ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด!

การประกอบอาหารในทุกครัวเรือนนั้น หัวใจสำคัญของความอร่อยคือ เครื่องปรุงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา รสดี เกลือ น้ำมันหอย และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ผงชูรส หรือที่เรียกกันว่า ผงอร่อย หากแต่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ผงชูรส ว่าหากทานมากๆ จะให้โทษมากกว่าประโยชน์และเสี่ยงเกิดโรค

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะมาแก้ไขถึงความเข้าใจผิดในการทาน ผงชูรสแท้ ที่ไม่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือให้โทษแต่อย่างใด

ผงชูรสคืออะไร ?ผงชูรส

เกิดจากกระบวนการหมักแป้ง  เป็นสารเติมแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร มีชื่อทางเคมีว่า Monosodiumglutamate (MSG) เกิดจากการกรดอะมิโนกลูตาเมต ซึ่งพบมากที่สุดในธรรมชาติ และยังถูกพบในอาหารแทบทุกชนิด กลูตาเมตเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น หมายถึง ร่างกายของเราสามารถผลิตได้เอง

กรดอะมิโนคืออะไร ?

กรดอะมิโน เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน ที่ถูกย่อยแล้ว ภายหลังจากที่เรารับประทานอาหารประเภทโปรตีนเข้าไป ร่างกายจะย่อยโปรตีนเหล่านั้น ให้กลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่า “กรดอะมิโน” ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นก็จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. กรดอะมิโนจำเป็น มีด้วยกันทั้งหมด 8 ชนิด เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จะต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น
  2. กรดอะมิโนไม่จำเป็น มีด้วยกันทั้งหมด 12 ชนิด เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้

ผงชูรสต่างจากผงปรุงรสชนิดอื่นอย่างไร ?

ผงชูรส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรสชาติเป็นของตัวเอง ให้รสชาติที่แตกต่างจากรสชาติพื้นฐานทั้ง 4 นั่นก็คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม และขม จึงเรียกรสชาตินี้ว่า “อูมามิ” หรือ “รสอร่อย” ซึ่งผงชูรสมีคุณสมบัติไปกระตุ้นต่อมรับรสในปากและลำคอให้ขยายตัว จึงทำให้เรารับรสได้ไวกว่าปกติ เวลาทานอาหารที่ใส่ผงชูรสก็จะช่วยให้รสต่างๆ ค้างอยู่ในปากนานขึ้นกว่าเดิม ทำให้รู้สึกว่ารสชาติของอาหารกลมกล่อมขึ้น

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผงชูรสแท้

อาการยอดนิยมที่มักถูกระบุว่าเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจาก การทานผงชูรสมากเกินไป นั่นก็คือ ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน ทั้งที่จริงๆ แล้ว การเกิดผมร่วงจนหัวล้านนั้น มักมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม หรือเกิดจากความผิดปกติของหนังศีรษะและเส้นผมเอง ไม่ได้เกี่ยวข้อง กับการทานผงชูรสแต่อย่างใด

หรือแม้กระทั่ง ปากแห้ง หรือทานมากๆ แล้วจะเป็นหมัน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มีคำยืนยันเรื่องความปลอดภัยของผงชูรสแท้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร JECFA และ องค์การอาหารและเกษตร ร่วมกับองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ ว่าเราสามารถบริโภคผงชูรสได้ทุกๆ วันตลอดชีวิตอย่างปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดปริมาณบริโภคต่อวัน นับเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดของวัตถุเจือปนอาหารที่มาจากการประเมินดังกล่าว

อันตรายจากการใช้ผงชูรสปลอม

เนื่องจากผงชูรสแท้มีผู้นิยมมาก และราคาค่อนข้างแพง จึงมีการปนปลอมผงชูรสกันขึ้น เช่น เจือปนน้ำตาล หรือเกลือ เป็นการเพิ่มปริมาณ ซึ่งไม่เป็นอันตรายอะไร ที่สำคัญคือใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งผงชูรสปลอมที่ประกอบด้วยสารเคมีมี 2 ชนิดคือ

  1. โซเดียมเมตาฟอสเฟต (Sodium Metaphosphate) มีลักษณะเป็นผลึกรูปแบนยาว หัวท้ายมนใส แวววาว ไม่มีสี ภายในเหมือนมีฟองอากาศ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส สำหรับโซเดียม เมตาฟอสเฟตในผงชูรสปลอม ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ท้องร่วง
  2. บอแรกซ์ (Borax หรือ Sodium Tetraborat) หรือที่ภาษาการค้าเรียกว่า “น้ำประสานทอง” หรือที่บรรจุของพลาสติกขายถูกๆ อยู่ในท้องตลาดใช้ชื่อว่า “ผงกรอบ” มีลักษณะเป็นผลึกรูปสี่เหลี่ยม หรือเป็นผงขาวละเอียดคล้ายเกลือ ทิ้งไว้นานๆ จะมีสีขุ่นขาว รสเฝื่อน เป็นสารห้ามใช้ตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 21 เนื่องจากบอแรกซ์ เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร จะเข้าไปสะสมในกรวยไต ทำให้บริเวณนั้น และท่อปัสสาวะอักเสบ อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ ยิ่งรับประทานเข้าไปมากจะทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ช็อคและตาย

ข้อควรระวังในการใช้ผงชูรส

  1. ควรเลือกใช้ผงชูรสแท้
  2. ผงชูรสแท้จะต้องมีฉลาก และข้อความในฉลาก ต้องระบุชื่อและเลขทะเบียนอาหาร ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต น้ำหนักสุทธิ และมีข้อความ “ไม่ควรใช้ผสมอาหารสำหรับทารกหรือหญิงมีครรภ์”
  3. ผู้บริโภคไม่ควรซื้อผงชูรสที่แบ่งขายโดยไม่ติดฉลาก หรือซื้อผงชูรสบรรจุซองที่มีฉลากลบเลือนเป็นอันขาด
  4. การใช้ต้องระวังปริมาณที่ใช้ ให้มาก
  5. ข้อสำคัญ คือ ไม่ใช้ผงชูรสปรุงแต่งอาหาร สำหรับทารกและหญิงมีครรภ์โดยเด็ดขาด

สรุป

อย่างไรก็ตาม อาหารทุกชนิดมีโทษต่อร่างกายได้ หากเรารับประทานในปริมาณที่มากเกินความพอดี เพราะฉะนั้น เราควรเลือกบริโภคอาหารที่หลากหลาย ทั้งในแง่ของคุณค่า และปริมาณ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
กินผิดวิธีเสี่ยงโรค

สดชื่น! 5 วิธีป้องกันและสลัดอาการเมาค้างหลังปาร์ตี้
สายปาร์ตี้ควรระวัง พิษจากสุรา ส่งผลถึงตาย!!!
มะเร็งตับ…โรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือน!!!
หนักเค็ม! ทำให้ไตพัง เสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
โซเดียมสูง! เสี่ยงโรค ปรับวิถีการกินเลี่ยงเกิดโรค
ไขมันทรานส์ ความเสี่ยงที่มากับอาหาร
น้ำเปล่า ดื่มน้อย เสี่ยงติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
ควรรู้ เคี้ยวช้า ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าที่คิด
กลืนเมล็ดผลไม้ อันตรายมากกว่าที่คิด
เบาหวานเป็นโรคของคนอ้วนจริงหรือ ?

ร่วมแสดงความคิดเห็น