วัดพระยืน วัดตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราวของ วัดพระยืน วัดคู่บ้านคู่เมืองนครหริภุญไชย มีมาแต่สมัยพระนางจามเทวี

วัดพระยืนเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่วัดหนึ่งในประเทศไทย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองนครหริภุญไชยมีมาแต่สมัยพระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์ครอบครองนครหริภุญไชยองค์ที่ 1 ตั้งอยู่ ณ บ้านพระยืน หมู่ที่ 1 ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ปรากฏตามประวัติศาสตร์และโบราณคดีดังนี้ ตำหนานแห่งวัดพระยืนลำพูน นี้ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ด้วยความที่เป็นวัดเก่าแก่และโบราณที่ตั้งอยู่นอกเมืองไปในทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นวัดสำคัญหนึ่งในสี่ของวัดสี่มุมเมืองที่พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัยนคร ทรงให้สร้างไว้ เมื่อปีพุทธศักราช 1204 พระวาสุเทพฤาษี ได้สร้างนครหริภุญไชย

ขึ้นเมื่อสร้างนครหริภุญไชยได้ 2 ปี คือ พ.ศ.1206 จึงได้อัญเชิญพระนางจามเทวีจากเมืองละโว้(ลพบุรี)มาเสวยราชสมบัติและเมื่อพระนางเจ้าจามเทวี ครองราชย์ได้ 7 ปี เมื่อ พ.ศ.1213 จึงได้สร้างวัด ณ ทิศตะวันออก สร้างพระวิหาร พระพุทธรูป และเสนาสนะ ให้เป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระ
ตำหนานวัดป่าแดดเชียงตุง เมื่อปีพุทธศักราช 1606 สมัยพระเจ้าธรรมิกราชกษัตริย์หริภุญไชยองค์ที่ 32 มีผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผุดขึ้นมาจากพื้นดินกลางเมืองเปล่งรัศมีต่างๆ พระองค์จึงมีพระบัญชาให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายสร้างสถูปปราสาทสูง 16 ศอก มีประตู 4 ด้าน ตรงที่ผอบพระบรมสารีริกธาตุผุดขึ้นนั้นต่อมาภายหลังเรียกว่า พระธาตุหริภุญไชย และพร้อมกันนั้นพระเจ้าธรรมิกราชทรงหล่อพระมหาปฎิมากรทองสัมฤทธิ์สูง 18ศอก เมื่อเสร็จ เมื่อแล้วเสร็จจึงด้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ทิศตะวันออกทางด้านหลังของวิหาร
สร้างปราสาทสถูปเป็นที่ประดิษฐานพระมหาปฎิมากร (พระพุทธรูปยืน)ไว้ ที่นั้นด้วยและให้ชื่อว่า วัดพุทธมหาสถาน ต่อมาเรียกชื่อวัดป่าไผ่หลวง และวัดพระยืนตามลำดับ เมื่อปีพุทธศักราช 1712 พระยากือนากษัตริย์ ผู้ครองพิงค์นครเชียงใหม่และลำพูน ได้ทรงทราบกิติศัพท์ของสถูปของพระสุปติปันนะตาธิคุณญาณ แห่งพระมหาสุมนะเถระแห่งกรุงสุโขทัย จึงมีบัญชาให้หมื่นเงินกองเป็นราชทูต เชิญพระราชสารและเครื่องบรรณาการไปถวายพระมหาธรรมราชากรุงสุโขทัยเพื่อขอนิมนต์พระมหาสุมณะเถระ ไปสืบพระพุทธศาสนาในนครเชียงใหม่ พระมหาธรรมาราชาทรงพระบรมราชานุญาต ให้พระมหาสุมณะเถระ พร้อมด้วยสามเณรกุมารกัสปะผู้เป็นหลานจึงขึ้นมาประกาศพระพุทธศาสนาพร้อมด้วยพระภิกษุรามัญ 10 องค์ ซึ่งพระยากือนานิมนต์มาจากเมืองเมาะตะมะ ก่อนหน้านั้นแล้วโดยอาราธนานิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ ณ วัดพระยืนแห่งนี้ และได้สั่งสมมุติกระทำอุปสัมปถุกรรมบวช สามเณรกุมารกัสสปะภิกษุ พร้อมทั้งอุปสมบทกุลบุตรกุลธิดาทั้งในนครลำพูนและเชียงใหม่เป็นสงฆ์ สืบพระศาสนาต่อมาเป็นจำนวนมาก ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๗ พระคันธวงศ์เถระ (ครูบาวงศ์) ภายหลังได้รับการพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูศีลวิลาศ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน พร้อมทั้งเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้ก่อสร้างปราสาทสถูปที่พังทลายลง และซ่อมแซมสิ่งปรักหักพังที่ชำรุดให้คงดีดั่งเดิม
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2508 เมื่อวันที่8 มีนาคม 2474 เล่ม 97

สถานที่ตั้ง วัดพระยืน หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ขอบคุณ สนง.วัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
https://www.m-culture.go.th/lamphun/ewt_news.php?nid=504&filename=index

ร่วมแสดงความคิดเห็น