คนไทยวิกฤต “หนี้ท่วม” เศรษฐกิจโดนฉุด หนี้ครัวเรือนรอกระแทกซ้ำ

ทำไมการคาดการณ์เศรษฐกิจถึงมีข้อมูลว่ามันโตขึ้น แต่ในภาพรวมกลับพบว่าแย่ลง การทำมาหากินในแต่ละวันรายได้ทำไมถึงไม่พอใช้แล้วเศรษฐกิจที่บอกว่ามันจะดีมันดีมาจากตรงไหนมันใช่เราในนั้นรึเปล่า หรือนี่มันเป็นเพียงแค่เรื่องของความรู้สึก หรือมันคือข้อเท็จจริงกันแน่ มันไม่ใช่เรื่องที่ผิดถ้าคุณจะรู้สึกแบบนั้น

เพราะเราอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่มันโตแบบเหลื่อมล้ำ ความรวยกระจุกตัว แต่ความจนกระจายไปทั่วประเทศ นั้นทำให้เกิดกลไกทางเศรษฐกิจที่ทำให้ผลกระทบต่อคนมันแตกต่างกันไปตามภาระและรายได้ที่มีต่างกันนั่นเองแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร มันมีจุดเริ่มครับ

เริ่มจากตรงนี้ก่อน จีดีพี(GDP) คงจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดีกับคำว่า จีดีพี(GDP) คือตัวเลขที่จะบอกได้ว่าเศรษฐกิจภายในของประเทศนั้นๆ เติบโตแล้วมันวัดจากอะไร วัดกันจาก การผลิตสินค้า บริการ การจับจ่ายใช้สอย ภาษีที่เกิดขึ้น การค้า การลงทุน ถ้าจีดีพีเป็นบวก คือ โต แต่ถ้า จีดีพีเป็นลบก็คือชะงัก แต่มันไม่สามารถที่จะบ่งบอกได้ว่าคุณภาพชีวิตจริงๆของประชาชนเป็นอย่างไร

เพราะมันคือการคิดเฉลี่ยทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากเม็ดเงินของทั้งคนรวยและคนจน สิ่งนึงที่จะบอกคุณได้ว่าคุณภาพชีวิตในตอนนี้ดีหรือร้ายอย่างไรก็คงจะหมายถึง สภาพสังคม ตัวเลขที่เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนก็คือ หนี้ครัวเรือน

คุณสุรพล โอภาสเสถียร
ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

สถานการณ์ที่กำลังย่ำแย่ในขนาดนี้ คือ หนี้ภาคครัวเรือนกำลังเติบโตแซงหน้าจีดีพีไปแล้ว
คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติจำกัดหรือเครดิตบูโร เปิดเผยว่าในขณะนี้หนี้ครัวเรือนเติบโตกว่า 13.7 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้นับว่าเป็นหนี้เสียไปแล้ว คือ ค้างเกินกว่า 90 วัน คือ หนี้เสียโดยสมบูรณ์มีมูลค่ากว่า หนึ่งล้านล้าน บาท ถ้านำมาขยายส่วนนี้ออกมาจะพบว่า 18% หรือราว 1.8 แสนล้านบาท เป็นหนี้บ้าน อีก 23% จำนวน 2.3 แสนล้านบาท เป็นหนี้รถยนต์ และกำลังจะเติบโตขึ้นมาอีก หนี้ก้อนนี้กำลังจะเป็นหนี้เสียเนื่องจากว่าเป็นลักษณะของการค้างยังไม่เกิน 90 วัน บางคนก็ผ่อนแบบเลี้ยงงวด หนึ่ง ถึง สอง งวดอะไรแบบนี้ไป

มูลค่าหนี้ก้อนนี้สูงกว่า 600,000 ล้านบาท คิดเป็นหนี้บ้าน 1.8 แสนล้านบาท พุ่งขึ้นมามากกว่า 30% คนที่เริ่มมีปัญหา คือ สัญญาเงินกู้บ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท หนี้รถยนต์ก็เติบโตขึ้น หนี้บ้านก็กำลังตามมา ทำไมถึงผ่อนกันไม่ไหว ทำไมไม่มีวินัยการเงิน คิดแบบนั้นได้หรือเปล่า ปัจจัยสำคัญก็คือหลังจากยุคโควิด 19 เป็นต้นมา จะหาโอกาสที่ไม่ตกงานก็ยากแล้ว การจะบอกว่าให้มีรายได้คงที่ยิ่งเป็นเรื่องยาก ยังมีปัญหาสงครามตามมาราคาน้ำมันพุ่งกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อ

แต่เศรษฐกิจของประเทศจีดีพีอันดับ หนึ่ง ของโลก สหรัฐกลับเติบโตได้ทำให้เขาเลือกใช้วิธีการเอาดอกเบี้ยมาสกัดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีเป้าหมายในทางเศรษฐกิจผ่านการจัดการเรื่องเงินเฟ้อก็ต้องขยับตามป้องกันไม่ให้เม็ดเงินลงทุนไหลออกทำให้นโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นผ่านการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

ทีนี้บ้านน่าจะเป็นตัวอย่างที่มีความชัดเจนมาก การผ่อนบ้านหลังหนึ่ง ดอกเบี้ยแบบติ๊กถือว่าคุณมีแต้มบุญสูงมาก เพราะในยุคนี้เป็นสิ่งหายากส่วนใหญ่ก็จะเจอดอกเบี้ยแบบลอยตัว ก็คือคุณจะได้ยินแบงค์บอกว่า เอ็มอาร์อาร์(MRR) เอ็มแอนด์อาร์(MLR) เอ็มโออาร์(MOR) ซึ่งมีอัตราตามที่ธนาคารแต่ละแห่งประกาศออกมาอยู่ที่ 6 ถึง 7% ในช่วงเวลานี้จะต้องบวกลบด้วยตัวเลขที่ธนาคารคิดเป็นสูตรคำนวณดอกเบี้ยออกมาได้พิจารณาว่าจะใช้บริการเขาหรือไม่ สิ่งนี้เรียกว่าดอกเบี้ยหน้างานซึ่งมันกำลังซ้ำเติมภาวะความเดือดร้อนจากดอกเบี้ยขาขึ้นของประชาชนนั่นเอง

ทีนี้ถามว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นมันกระทบยังไงในเมื่อคุณก็ผ่อนเท่าเดิมเคยส่งธนาคาร 20,000 บาทก็ยังเป็น 20,000 บาท ในเนื้อในของเงินที่ผ่อนก็จะพบว่า เราส่งเท่าเดิมแต่เงินต้นมันไม่ได้ลดลงที่ส่งไปกลายเป็นดอกเบี้ยเป็นรายได้ให้กับธนาคารยิ่งผ่อนยิ่งท้อเพราะหาจุดจบของหนี้ไม่เจอ

ความเปราะบางก็คือการสำรวจของเอสซีบีอีไอซีพบว่ากลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มีความเสี่ยงจากรายจ่ายกับหนี้ที่มันสูงเกินรายได้
กลุ่มคนที่มีรายได้ 15,000 บาท พอบวกทั้งรายจ่ายและรายได้ที่จะต้องไปจ่ายหนี้สูงถึงร้อย 30% ของรายได้
กลุ่มคน 15,000 บาทถึง 30,000 บาท ปรากฏว่ามีรายจ่าย พุ่งสูงถึง 120% ของรายได้ที่หาได้ในแต่ละเดือน
กลุ่มคนที่มีรายได้ 30,000 บาท ถึง 50,000 บาท กลุ่มนี้มีรายจ่ายเกินเหมือนกันอยู่ที่ 104%

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามองเพราะว่ารายจ่ายที่มันเพิ่มเกินรายได้ที่หาได้มันกำลังแฝงไปด้วย หนี้นอกระบบนั้นเอง คำถามก็คือสถานการณ์ที่กำลังบอกว่าคนชนชั้นกลางถึงล่างเขากำลังจมนี้มีความอ่อนแรงในทางการเงินถ้าระดับคนที่รายได้ที่เคยบอกว่านี่คือกลุ่มที่ไม่เสี่ยงของสังคมไทยยัง 30,000 บาท ถึง 50,000 บาท ยังมีความเสี่ยง แล้วกลุ่มคนรายได้ต่ำก็คงจะยิ่งไม่ต้องพูดถึงความเปราะบางของพวกเขา

การเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อในระบบและการปรับโครงสร้างหนี้กลายเป็นมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเอามาใช้ช่วยเหลือเป็นทางออกให้กับคนที่กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลานี้แต่มันใช่ทางออกของความทุกข์ ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นหรือไม่

ทางด้าน คุณสุรพล โอภาสเสถียร ได้ให้คำตอบว่า เงื่อนไขว่าคนคนนั้นอยู่ในกติกาที่กำหนด กติกามันบอกว่าคนที่จะปรับโครงสร้างหนี้ได้ต้องมีคำว่าเป็นคนมีศักยภาพ หมายความ ว่าคนนั้นต้องมีรายได้ แน่นอน มั่นคง เพียงพอ สม่ำเสมอ แล้วหาคนอย่างนั้นยากไหมครับในโลกหลังโควิด กติกาบอกว่าต้องไปหาคนที่มีศักยภาพที่จะสามารถปรับโครงสร้างหนี้และชำระหนี้ได้ตามตารางหนี้ใหม่ แต่เราลืมนึกไปหรือเปล่าว่าคนที่เรากำหนดบนกติกาที่อาจมีความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจน้อย มันได้กันคนจำนวนหนึ่ง ออกไป เพราะมันมีคนจำนวนนึงที่บอกว่ามีเท่านี้ มีอยู่ 100 บาท แต่ว่าต้องใช้จ่าย 104 บาท คำถามคือเราจะปรับจากร้อย 4 บาทให้เหลือ 90 บาท ได้ยังไง ถ้ากติกาที่มันมีอยู่มันค้ำคอ

แนวโน้มก็คือเราคงจะต้องอยู่กับปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบนี้ไปอีกนาน แล้วอะไรคือเครื่องมือที่จะมาช่วย ดิจิทัลวอลเล็ตจะตอบโจทย์ภาวะนี้หรือไม่
เงื่อนไขของดิจิตอลวอลเลตส์ ก็คือว่าจะต้องไม่นำเงินไปชำระหนี้ เงื่อนไขคือนำเงินไปใช้จ่ายเพราะฉะนั้นอย่างที่อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นมีเงิน 104 บาท เราจะต้องจ่ายหนี้และก็ใช้จ่ายมันจะไปช่วยในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนสำหรับกลุ่มที่มีรายได้ไม่มากเหมือนว่ามีรายได้เสริมมา แต่มันเป็นรายได้เสริมมาแค่จังหวะเดียวมันไม่ใช่ตลอดไป

เพราะฉะนั้นการออกแบบนโยบายมันมีสิ่งที่ต้องแลก มันมีสิ่งที่ไม่มีความสมบูรณ์ มันไม่มีอยู่ดีๆ มีเงิน 500,000 ล้านมาแจกให้ทุกเดือน ถ้าอย่างนี้มันแก้ปัญหาได้ แต่ว่ามันไม่มีที่มันจะมีมาแจกทุกเดือน เขาลงดอกเบี้ยไง ปรับดอกเบี้ยเงินกู้ 6% 7% เขาปรับเหลือ 4.75 พอปรับดอกเบี้ยเหลือ 4.75 ภาระมันน้อยลงเขายืดหนี้ออกไปจนถึงอายุ 75 ปีในกลุ่มครู ยอดผ่อนต่องวดมันก็ต่ำลง พอยอดผ่อนต่องวดมันต่ำลง ค่าใช้จ่ายบวกการจ่ายหนี้มันก็ต่ำลง พอมันต่ำลงมาก็พอที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้

จากคำกล่าวของ คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด จะเห็นได้ว่า การแก้ไขปัญหาสามารถทำได้ แต่นโยบายของรัฐบาลจะมาทิศทางนี้หรือไม่เราคนไทยที่กำลังแบกหนี้แบบหนีตายก็ต้องก้มหน้าก้มตามทำงานต่อไป…

เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น