นำร่องขยายพื้นที่ปลูกกัญชง 7 ไร่ 1,600 ต้น จ.แม่ฮ่องสอน

ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน นำเกษตรวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชกันชง 7 ไร่ 1,600 ต้น เป็นแปลงสาธิตเป็นต้นแบบกัญชง และจะขยายผลไปยังเครือข่ายทั้ง 7 อำเภอคาดหวังว่าจะมีรายได้มากกว่าพืชชนิดอื่น ตามโครงการ สร้างป่า สร้างรายได้ ขณะที่ กศน.นำนักศึกษาดูงานจัดทำรายวิชากัญชง กัญชา

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 นายกรัณย์พล แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้ นำร่อง ปลูกกัญชง เพิ่มรายได้ลดพื้นที่บุกรุกป่า ในพื้นที่ คทช. ให้กับเกษตรกร บ้านแม่จ๋า ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 7 ไร่ 1,600 ต้น โดยมีเกษตรกร นักศึกษา กศน.เมืองแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ไร่กัญชง

นายกรัณย์พล แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้จัดทำโครงการ คทช.เป็นการสร้างความมั่นคงในที่ดินทำกินแล้ว การสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้ประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงได้จัดทำโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ คู่กับการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเพื่อการรักษาป่า สร้างอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงในที่ดินทำกิน และสร้างโอกาสรายได้ให้กับประชาชน ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินของเกษตรกรที่ได้จัดที่ดินทำกินในกลุ่มที่ 1 คือผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ก่อนปี พ.ศ. 2545 และอยู่ในลุ่มน้ำ 3-4-5 ในกลุ่มบุคคลเหล่านี้ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเป้าหมายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอยู่กว่า 7 หมื่นไร่ จนถึงขณะนี้ได้แจกสมุด คทช.ไปแล้วกว่า 400 เล่ม สำหรับพื้นที่แห่งนี้ทางสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน จึงได้ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มเกษตรวิสาหกิจชุมชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน และคิดว่าปลูกพืชอะไรก็ได้ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต ใช้พื้นที่น้อยมีรายได้สูงมากกว่าพืชชนิดอื่น และในอนาคตก็อาจจะเข้ามาทดแทนพืชชนิดอื่นได้ จึงได้จัดทำแปลงสาธิตปลูกกันชงขึ้น เพื่อให้เป็นแปลงตัวอย่าง เนื่องจากปัญหาของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน พืชผัก ผลผลิตต่าง ๆ ราคาตกต่ำ และมีปัญหาเรื่องระยะทาง การขนส่ง การปลูกกันชงถือเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากการขออนุญาตปลูกกันชงในปัจจุบัน ได้ปดล็อคไปหมดแล้ว กันชงแปลงนี้จะเป็นแปลงสาธิตของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้ ส่วนผลผลิตกันชง ทางเครือข่ายสร้างป่าสร้างรายได้ก็จะนำส่งขายให้กับบริษัทวีอีโค จำกัด ซึ่งมาช่วยเรื่องการส่งเสริมการตลาดให้และรับซื้อทั้งหมด

นางมัณฑนา กาศสนุก )ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบ และการตามอัธยาศัยอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ( กศน.) กล่าวว่า นักศึกษา กศน.เมืองแม่ฮ่องสอน ที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมปลูกกันชงในครั้งนี้เป็นการศึกษาดูงานการปลูกกันชง เนื่องจากศูนย์ กศน.เมือง ได้จัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับกันชง กัญชา ตามพระราชบัญญัติ และได้จัดทำรายวิชากันชง กัญชา และภาคเรียนต่อไปจะให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียน เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรมอยู่แล้ว ก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเรียนรู้และทำเป็นอาชีพของตนเองได้ และสร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน เมื่อก่อนกันชง กัญชา เป็นพืชเสพติดผิดกฏหมาย ปลูกไม่ได้ เสพไม่ได้ แต่ปัจจุบันได้ปลดล็อคแล้วสามารถทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ ก็จะพยายามให้นักศึกษา เรียนรู้ ขยายผล ไปสู่ชุมชน จึงได้นำนักศึกษามาดูงาน มาเรียนรู้ในพื้นที่จริง

นางศรีจันทร์ ปิตานี ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นเจ้าของพื้นที่โครงการ ฯ กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว พื้นที่ตรงนี้กันไว้สำหรับปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ถั่วลายเสือ กระเจี้ยบ เมื่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้เข้ามาจึงได้จัดทำเป็นแปลงสาธิตต้นแบบปลูกกันชง และจะขยายผลไปยังเครือข่ายทั้ง 7 อำเภอ ความคาดหวังในการปลูกกันชง น่าจะมีรายได้ดีมากกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น เนื่องจากมีผู้รับซื้อโดยตรง มีตลาดรองรับที่จะสามารถระบายผลผลิตได้ทั้งหมด

ร่วมแสดงความคิดเห็น