เกษตรเชียงใหม่ เปลี่ยนใบไม้กลายเป็นเงิน สร้างรายได้งาม

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น.นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้เพิ่มจากใบไม้ นางรัชนีวรรณ์ เป็งพรม เกษตรอำเภอแม่ริม พร้อมนางเนตรนภา ทากาฮาชิ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมให้ข้อมูล ณ บ้านซาง ตำบลขี้เหล็ก จังหวัดเชียงใหม่

เกษตรอำเภอ กล่าวว่า จากวิกฤติหมอกควัน ไฟป่า ประกอบกับอำเภอแม่ริม มีเขตป่าชุมชน มีต้นตองตึง หรือต้นพลวง ซึ่งไม้ยืนต้นสูงประมาณ 20-30 เมตร บริเวณที่พบเป็นดินปนหิน แห้งแล้ง ที่เราเรียกว่าป่าเต็งรัง อยู่ในพื้นที่ ตำบลขี้เหล็ก ตำบลห้วยทราย ตำบลสะลวง อีกทั้งตำบลขี้เหล็กเป็นแหล่ง ปลูกข้าวโพดหวานตลอดปี หลังจากที่เก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดแล้วทำให้มีต้นข้าวโพดเหลืออยู่เป็นจำนวนมากจึงหาวิธีเพิ่มมูลค่า จึงรับซื้อไร่ละ 800 บาท ส่วนใบตองตึงในราคา 4ใบ 1 บาท นำมาผลิตเป็นจานรักษ์โลกขนาดต่างๆ จำหน่าย ในราคาประมาณ 5-15 บาทมากที่สุดถึงชิ้นละ1,500 บาท แล้วแต่ขนาดและแบบ จำหน่ายในประเทศอเมริกา ออสเตรีย เป็นต้น โดยแต่ละวันผลิตแต่ละแบบประมาณ 2,000 ชิ้นต่อวันสร้างรายได้ปีละหลายล้านบาท

กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติงบประมาณ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างการรับรู้การจัดการเศษวัสดุเชื้อเพลิง และเพิ่มศักยภาพการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าใบไม้ เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเรียนรู้วิธีการเก็บใบไม้มาจำหน่ายกับทางกลุ่มตลอดจนกระทั่งการผลิตเพื่อให้เพีงพอต่อความต้องการของตลาด และเป็นการดึงเชื้อเพลิงออกจากป่าพร้อมกับสร้างมูลค่าจากเศษใบไม้ สร้างรายได้แก่เกษตรกรอีกช่องทางหนึ่งทางกลุ่มสร้างเครือข่ายในอำเภอดอยสะเก็ด และสันทรายรับซื้อใบไม้จากพื้นที่ใกล้เคียงเนื่องจากปริมาณไม่เพียงพอและร่วมกับป่าไม้ชุมชน โรงเรียนเอกชน ต่อยอดความรู้ในการผลิต และพัฒนาผลิตจานจากกาบต้นหมาก และโรงศพหมาแมวพร้อมย่อยสลาย เวลาฝังดิน ซึ่งแต่ละปีสร้างรายได้แก่กลุ่มเป็นอย่างดี โดยเป็นการสร้างมูลค่าจากใบไม้หรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นการช่วยลดไฟป่าหมอกควัน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างดีๆที่สามารถสร้างมูลค่าจากขยะทางการเกษตร หากท่านใดสนใจเรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใข้ทางการเกษตรสามารถติดต่อสำนักนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอทั้ง 25 อำเภอใกล้บ้านท่าน

ร่วมแสดงความคิดเห็น