มะพร้าวน้ำหอมไทย จีนคาดปีนี้นำเข้ากว่า 28,000 ตู้คอนเทนเนอร์

มะพร้าวน้ำหอมไทย ถูกปากถูกใจชาวจีน คาดปีนี้จีนนำเข้ากว่า 28,000 ตู้คอนเทนเนอร์

“ทั้งหอม ทั้งหวาน รสชาติของมะพร้าวนั้นสุดยอดไปเลย!” จวงหย่ง คนรักมะพร้าว ชาว เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน บรรยายความชื่นชอบที่มีต่อ “มะพร้าวไทย” ซึ่งเขา มักหาซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ต สั่งซื้อออนไลน์ และงานแสดงสินค้าเป็นประจํา

มะพร้าวไทยนั้นได้รับความนิยมในตลาดจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวจีนประยุกต์ใช้มะพร้าวกับ การชงกาแฟ ทําขนมเค้ก หรือปรุงอาหารสารพัดเมนู นําไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวหลากหลายรูปแบบ ทําให้ บริษัทผลไม้และการจัดเลี้ยงเล็งเห็นช่องทางทําธุรกิจจากผลไม้ชนิดนี้

ตัวอย่างเช่นมะพร้าวน้ำหอมจากไทยที่แช่อยู่เต็มห้องเย็นของตลาดค้าส่งผลไม้แห่งหนึ่งในนครหนานหนิง เมืองเอกของ กว่างซี โดยมะพร้าวเหล่านี้จะถูกกระจายสู่ร้านอาหารเพื่อปรุงเมนูไก่ต้มน้ํามะพร้าว ร้านเครื่องดื่มเย็น ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าออนไลน์ทั่วจีน

“มะพร้าวที่เราขายส่วนใหญ่มาจากอําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีของไทย ซึ่งถูกเก็บเกี่ยว คัดแยก และบรรจุ หีบห่อ ก่อนขนส่งทางทะเลมายังจีน” โม่เจียหมิง รองผู้จัดการทั่วไปของบริษัท เทคโนโลยีการเกษตรโยวเซียนหยวน กว่างซี จํากัด อธิบายขั้นตอนอย่างคร่าวๆ

ก่อนหน้านี้บริษัท เทคโนโลยีการเกษตรโยวเซียนหยวน กว่างซี จํากัด ส่งทีมงานเดินทางเยือนอําเภอดําเนินสะดวกอยู่ หลายรอบเพื่อคัดเลือกสวนมะพร้าวคุณภาพดี และลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับโรงงานแปรรูปท้องถิ่นเพื่อจัดตั้ง แหล่งส่งออกมะพร้าวอย่างเป็นทางการ

ขณะที่การไลฟ์สดบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและโซเชียลมีเดีย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในจีนตลอดหลายปีที่ ผ่านมา กลายเป็นช่องทางสําคัญในการเพิ่มยอดจําหน่ายของผู้ค้าผลไม้ โดยมะพร้าวไทยเป็นอีกหนึ่ง “ม้ามืด” ที่มียอด จําหน่ายร้อนแรงไม่น้อย

ปัจจุบันนอกจากการดื่มน้ำมะพร้าวสดจากลูกที่ถูกทําฝาเปิดพร้อมปักหลอดอย่างสะดวกสบายแล้ว ผู้บริโภคชาวจีนใน หลายเมือง เช่น หนานหนิงและคุนหมิงยังนิยมเมนูหม้อไฟไก่ซุปน้ำมะพร้าว โดยเฉพาะที่ใช้ไก่จากเมืองเหวินชางของ มณฑลไห่หนาน (ไหหลํา) รวมกับน้ำมะพร้าวไห่หนานและมะพร้าวไทย
“มะพร้าวไทยหอมหวาน มะพร้าวไห่หนานสดใหม่ ไก่ต้มซุปสองมะพร้าวนี้จะเนื้อนุ่มน่ารับประทาน จึงเป็นที่ชื่นชอบ ของลูกค้าไม่น้อย” พนักงานร้านอาหารแห่งหนึ่งในนครหนานหนึ่งกล่าว โดยนอกจากเมนูดังกล่าวยังมีการจําหน่ายกะทิ วุ้นมะพร้าว ไอศกรีมกะทิ หรือซุปสาลี่ตุ้นน้ำมะพร้าวอีกด้วย
ความต้องการมะพร้าวไทยของตลาดจีนยังคงขยายตัวตามความนิยมชื่นชอบที่เพิ่มขึ้นและความหลากหลายของ ผลิตภัณฑ์ โดยโม่เจียหมิงคาดการณ์ว่ายอดนําเข้ามะพร้าวไทยของบริษัทในปีนี้จะสูงเกิน 28,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ขณะ อัตราการเติบโตในช่วงไม่กี่ปีนี้อยู่ที่ราวร้อยละ 10
อนึ่ง สถิติจากหน่วยงานศุลกากรระบุว่าปริมาณการนําเข้ามะพร้าวของจีน ช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมรวมอยู่ที่ 5.66 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นสามแหล่งส่งออกหลัก ครองสัดส่วนร้อยละ 48.6 ร้อยละ 32.5 และร้อยละ 18.4 ตามลําดับ

การก่อสร้างระเบียงการขนส่งทางบก-ทางทะเลใหม่ สายตะวันตก กอปรกับการบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทาง เศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ช่วยให้เกิดการพัฒนาวิธีการขนส่งที่หลากหลาย และความคล่องตัวของระบบโลจิสติกส์ ระดับภูมิภาค

ผลไม้จากอาเซียนอย่างมะพร้าวและทุเรียนจึงมีตัวเลือกในการขนส่งสู่จีน ทั้งทางถนน ทางราง ทางทะเล และทาง อากาศ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการ พร้อมโครงสร้างพื้นฐานอย่างห่วงโซ่ความเย็นและห้องเย็นที่ถูกพัฒนา ต่อเนื่อง ทําให้ชาวจีนได้ลองลิ้มชิมรสผลไม้อาเซียนสดใหม่และรวดเร็วยิ่งขึ้น

ด้านด่านรถไฟผิงเสียงของกว่างซีรับรองการนําเข้าและส่งออกสินค้าสุดอย่างแข็งขันในปีนี้ โดยการขนส่งสินค้าข้าม พรมแดนจีน-เวียดนามที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ได้ดึงดูดผู้ประกอบการนอกกว่างซีดําเนินการนําเข้าและส่งออก สินค้าผ่านด่านรถไฟแห่งนี้

บริษัท การรถไฟแห่งประเทศจีน สาขาหนานหนิง จํากัด ได้ยกระดับเครื่องไม้เครื่องมือของการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน จีน-เวียดนาม และหน่วยงานขนส่งสินค้าท้องถิ่น รวมถึงมีการกําหนดสถานีรถไฟหนานหนิงใต้เป็นจุดรวบรวมและ กระจายสินค้า และวางแผนพัฒนาการดําเนินงานของด่านรถไฟผิงเสียงให้ดียิ่งขึ้น
วรรณลดา รัตนพานิช กงสุลฝ่ายการพาณิชย์ประจําสถานกงสุลใหญ่ของไทย ณ นครหนานหนิง ระบุว่ามะพร้าวจัดอยู่ แถวหน้าของผลไม้ไทยที่นําเข้าสู่จีน บริษัทไทยที่หวังทําตลาดในจีนจึงควรเพิ่มคุณภาพและความหลากหลายของ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงใช้การไลฟ์สดเทศกาล และมหกรรมสินค้าไทยดึงดูดใจผู้บริโภค

สำนักข่าวซินหัว

ร่วมแสดงความคิดเห็น