Fast Fashion ซื้อง่าย ใส่ไว เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

กระแส Fast Fashion ในประเทศไทยยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในหลาย ๆ ประเทศ ได้เริ่มออกมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากพอสมควร เนื่องจากกระบวนผลิตของ Fast Fashion และผลผลิตของ Fast Fashion นั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ได้แก่การเพิ่มปริมาณขยะจากวัสดุเหลือใช้ในการผลิต และมลพิษต่าง ๆ ที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม Fast Fashion เช่น มลพิษทางน้ำและมลพิษทางอากาศเป็นต้น ในอนาคตกระแส Fast Fashion มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก Fast Fashion สามารถตอบสนองของความต้องการของมนุษย์ได้ เนื่องจากสินค้ามีราคาที่ถูกและมีความทันสมัย ยิ่งในโลกของสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถช้อปปิ้งได้ทุกที่ทุกเวลา การตระหนักรู้ถึงผลกระทบของ Fast Fashion และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค Fast Fashion จะเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่และลดภาระให้โลกใบนี้

Fast Fashion คืออะไร

Fast Fashion ก็คือสินค้าแฟชั่นที่ผลิตออกมาจำนวนมาก ๆ ในระยะเวลาอันรวดเร็วและวางขายในราคาที่ถูกมาก ๆ อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ ที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสูง ใส่เพียงไม่กี่ครั้งแล้วก็ซื้อใหม่

Fast Fashion เป็นปัญหายังไง

  1. โรงงานผลิตผ้าสำหรับ Fast Fashion มีการปล่อยน้ำเสียคิดเป็น 20 % ของน้ำเสียในโลก ซึ่งน้ำเสียเหล่านี้หากไม่ได้รับการบำบัด น้ำเสียที่ปนเปื้อนสารอันตรายก็จะดูดกลับเข้าไประบบน้ำของมนุษย์เป็นวงจรไม่สิ้นสุดเกิดเป็นมลพิษทางน้ำ แน่นอนว่าหากร่างกายสะสมสารอันตรายไว้มากย่อมส่งกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และการปล่อยน้ำเสียส่งผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ
  2.     โรงงานผลิตผ้าสำหรับ Fast Fashion ยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์คิดเป็น 10 % ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการขนส่งสินค้าจำพวก Fast Fashion อีกด้วย ก๊าซชนิดนี้หากสะสมอยู่ในชั้นบรรยายกาศมาก ๆ จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศก็คือภาวะเรือนกระจกหรือภาวะโลกร้อนนั่นเอง
  3.     ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจากกระบวนการผลิตได้แก่ เศษผ้าและเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิต และมาจากการทิ้ง Fast Fashion จากตัวผู้บริโภคเอง เนื่องจากเสื้อผ้าจะต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การทิ้งและการซื้อใหม่มักเป็นทางเลือกของผู้บริโภค ซึ่งขยะจำพวกนี้ยากต่อการกำจัด เพราะมีประมาณที่เยอะและขยะบางชิ้นอาจมีการปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการกำจัดให้ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ อาทิ การสูดดมสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับน้ำ

หยุด Fast Fashion ด้วย Slow Fashion

เมื่อทราบถึงผลกระทบของ Fast Fashion แล้ว ผู้อ่านสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดประมาณขยะที่เกิดจากสินค้าของ Fast Fashion ได้ โดยวิธีการ Slow Fashion แนวคิดหลักของวิธีการนี้ประกอบด้วย 3 หัวใจสำคัญได้แก่

  1.     เสื้อผ้าจะต้องใช้เส้นใยที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ คือเส้นใยที่ไม่ได้มาจากการสังเคราะห์และมาจากสัตว์ (ขนสัตว์,หนังสัตว์) แต่จะต้องผลิตมาจากเส้นใยพืช ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้พวกลินินและกังชงเป็นต้น
  2.     เน้นเสื้อผ้าที่ใส่ได้นาน คือเสื้อผ้าที่ผลิตมาแบบคงทนถาวร รวมไปถึงเสื้อผ้าที่ไม่ต้องซักบ่อย เพื่อลดการเสื่อมภาพทำให้สามารถใส่ได้นาน ๆ (ในประเทศไทยอาจจะพบเสื้อผ้าที่ไม่ต้องซักบ่อยได้น้อยเนื่องจากภูมิอากาศเป็นเมืองร้อน ลองเลือกซื้อเสื้อผ้าที่แข็งแรงและทนทานมาใส่แทนจะได้ใส่ได้นาน ๆ )
  3. กระบวนการผลิตเสื้อผ้ามักจบในท้องถิ่น คือการผลิตในที่เดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้กระบวนการผลิตสามารถตรวจสอบได้ และไม่มีการเอาเปรียบแรงงาน นอกจากนี้ ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออก  ไซด์ที่เกิดจากระบบขนส่งได้อีกด้วย

เสื้อผ้าในลักษณะนี้ไม่ค่อยพบในแบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่ แต่จะพบเห็นในแบรนด์ท้องถิ่นมากกว่า ยกตัวอย่างเสื้อผ้าจากแบรนด์ KLAI ของคนไทย โดยแบรนด์จะให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เส้นใย และสีย้อมจากธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ผลิตตามจำนวนที่สั่ง การตัดเย็บที่ตั้งใจทำให้เสื้อมีคุณ ภาพใส่ได้นานและค่าจ้างที่ไม่เอาเปรียบแรงงาน และแบรนด์ FolkCharm เป็นแบรนด์ที่ผลิตเสื้อผ้าจากผ้าฝ้ายออร์แกนิคและใช้สีย้อมจากธรรมชาติ ทั้งสองแบรนด์ นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งเสริมรายได้ให้กับทางชุมชนอีกด้วย

แบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม

แบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่อย่าง H&M, Zara, Uniqlo ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดมากยิ่งขึ้นโดยแต่ละแบรนด์หันมาเลือกใช้วัสดุ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังจัดโครงการและแคมเปญต่าง ๆ ให้กับลูกค้าเพื่อลดการก่อให้เกิด Fast Fashion อีกด้วย

H&M

ทางผู้ผลิตได้มีการใช้วัสดุออร์แกนิคและวัสดุรีไซเคิลมากขึ้น H&M มีเป้าหมายที่จะเพิ่มการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้นในแต่ละปี และยังตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2573 ทางผู้ผลิตจะใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100 %ทาง H&M ก็ได้มีแคมเปญเกี่ยวกับการลด Fast Fashion อาทิ แคมเปญ CONSCIOUS Exclusive เป็นการใส่เสื้อผ้าที่มากจากเศษผ้าเหลือใช้ และแคมเปญ Loop แคมเปญที่ให้ลูกค้านำเสื้อที่ไม่ต้องการใส่แล้วมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นใหม่เป็นต้น

Zara

ทางด้านของ Zara ก็ได้ประกาศจุดยืนว่าจะก้าวเป็นแฟชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปี 2568 โดยการใช้วัสดุในการผลิตที่มีความยั่งยืนและเป็นวัสดุออร์แกนิคที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ 100 %

Uniqlo

ในส่วนของ Uniqlo เอง ก็มีความมุ่งมั่นในการผลิตเสื้อผ้าที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เริ่มต้นตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม และการให้ความสำคัญต่อพนักงาน รวมถึงพัฒนาวัตถุดิบและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่คำนึงถึงอนาคตเป็นสำคัญ ส่งเสริมการสร้างคุณค่าใหม่ให้เสื้อผ้าตัวเก่าด้วยการรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ทาง Uniqlo ก็ได้มี ส่งเสริมการสร้างคุณค่าใหม่ให้เสื้อผ้าตัวเก่าด้วยการรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ภายใต้โครงการ RE.UNIQLO เป็นการรวบรวมเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วมาทำการ Recycle Reuse และ Reduce จากนั้นส่งต่อให้กับผู้ที่ลี้ภัยและขาดแคลน

จะเห็นได้ว่าแบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่ที่ได้กล่าวมาในข้างต้น เริ่มมีการเปลี่ยน แปลงและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวด ล้อม จนมีความต้องการที่จะช่วยเหลือในฐานะผู้ผลิต ได้เปิดทางเลือกให้กับผู้บริโภค รวมไปถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง เรียกได้ว่านอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้เพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย

กระแส #wearวนไป

       กระแส #wearวนไป ในโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการลด Fast Fashion แฮชแท็กนี้เป็นการรณรงค์ให้คนหันมาใส่เสื้อเดิมที่มีอยู่แล้วนำมาใส่ซ้ำ สามารถอาศัยการ Mix & Match ได้ เพื่อเป็นการลดขยะที่เกิดจาก Fast Fashion การใส่เสื้อซ้ำ ๆ เดิม ๆ ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย หากลองมองให้ลึกลงไปก็เหมือนเป็นการช่วยลดภาระให้โลกไปอีกทาง

เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วมีประโยชน์อีกเยอะ อย่าพึ่งทิ้ง!! ลองทำตามนี้ดู

  1. ลอง D.I.Y. เปลี่ยนเสื้อที่ไม่ใช้แล้วเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ปลอกหมอน ที่รองแก้ว พรมเช็ดเท้า ถุงผ้า เป็นต้น
  2.     นำไปบริจาคให้กับผู้ที่ขาดแคลน ผู้ลี้ภัย ข้อสำคัญในการบริจาคแนะนำว่าเสื้อผ้าที่จะนำไปบริจาคนั้นควรมีสภาพที่สมบูรณ์
  3. สามารถนำไปขายเป็นเสื้อผ้ามือสองได้

ผู้อ่านสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองได้ง่าย ๆ เพื่อลดประมาณขยะที่เกิดจากสินค้าของ Fast Fashion ได้ โดยการ Mix & Match เสื้อผ้าเดิมที่มีอยู่ D.I.Y. เสื้อผ้า ส่งต่อ/ขายต่อหรือบริจาคเสื้อผ้าที่เราไม่ต้องการแล้ว แทนการทิ้งเพื่อลดประมาณขยะ และหันมาบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลดแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ Fast Fashion ได้ และได้เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้โลกของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

ที่มา :

https://goodonyou.eco/fast-fashions-environmental-impact/

https://goodonyou.eco/what-is-fast-fashion/

https://www.greenpeace.org/thailand/story/10127/plastic-slow-fashion/

https://hr.tcdc.or.th/en/Articles/Detail/klai–แบรนด์เสื้อผ้าวันหยุดสุดโก้แบบ-slow-fashion

https://www.prachachat.net/csr-hr/news-207016

https://thestandard.co/hm-clothing-recycling/

https://thaitextile.org/th/insign/detail.1017.1.0.html

https://sdthailand.com/2019/08/zara-new-sustainability-goals/

https://www.uniqlo.com/th/sustainability/planet/product/

ร่วมแสดงความคิดเห็น