วิธีดูแลและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน

พระอาทิตย์แข็งแรง ร้อน ๆ (สุขภาพ) จะไม่ดี

ฤดูร้อนปีนี้ พุ่งทะยานกว่าทุกปี อาจแตะ 50 องศาเซลเซียส เลยทีเดียว และในสภาพอากาศที่ร้อนจัดแบบนี้ ต้องสังเกตอาการเสี่ยงเหล่านี้ เช่น ปวดศรีษะ เวียนศรีษะ สับสน มึนงง มีผื่นแดงตามผิวหนัง เบื่ออาหาร หรือ ปัสสาวะสีเข้ม เพื่อเฝ้าระวัง กรมอนามัย จึงมีคำแนะนำในการดูแลและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

สำหรับประชาชนทั่วไป

ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ในระหว่างวัน โดยไม่ต้องรอให้กระหาย
ควรสวมหมวก ใส่แว่นกันแดด เมื่อออกไปกลางแจ้ง
สวมเสื้อสีอ่อน หลวม มีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดี
หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง ช่วงอากาศร้อน
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
สังเกตสีปัสสาวะ หากปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม-สีอมส้มเข้ม ควรดื่มน้ำทันที
สังเกตอาการของตนเองและกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที
หากมีเหตุฉุกเฉิน ให้รับติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือ โทรสายด่วน 1669

สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่ ทารกและเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง
ห้ามปล่อยให้เด็กทารกและเด็กเล็กอยู่ในรถที่จอดตากแดดตามลำพังเด็ดขาด
แม่ที่ให้นมลูกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายช่วงที่อากาศร้อนจัด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรเตรียมความพร้อมร่างกายพักให้นานขึ้น และดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ
ผู้ทำงานกลางแจ้ง ปรับเปลี่ยนตารางเวลาทำงาน หลักเลี่ยงการทำงานในช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดของวัน (11.00 – 15.00 น.) ดื่มน้ำให้บ่อยขึ้น หากหยุดทำงานกลางแจ้งไปนาน ควรเริ่มจากงานเบา ๆ เพิ่มเวลาพักให้นานขึ้น และหมั่นสังเกตอาการเพื่อนร่วมงาน
ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้คัดจมูก ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคจิตเวช เป็นต้น ให้สังเกตอาการตนเอง

และอาจมีอาการร้ายแรงเพิ่มขึ้นจาก การเป็นลมจากแดด จนถึง โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรก เราต้องหมั่นตรวจเช็คอาการและทำตามคำแนะนำ เพื่อการดูแลและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อนค่ะ

“อย่าเล่นกับพระอาทิตย์ เพราะ ร้อนๆ (สุขภาพ) จะไม่ดี”ด้วยรักและห่วงใย อยากให้คนไทยสุขภาพ จาก กรมอนามัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น