จัดระเบียบใช้พื้นที่ป่า พบมี 10,730 คำขอ ยื่นสร้างวัดและสำนักสงฆ์

นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า มติ ครม. 23 มิ.ย. 2563 และมติ ครม. 11 พ.ค. 2564 มีแนวทางในการผ่อนผันให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ที่เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาต กรณีของวัดหรือสำนักสงฆ์ที่อยู่ในเขตป่าสงวนฯ ให้ยื่นขออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนฯ ตามระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนฯ พ.ศ. 2565 หมวด 1 การขออนุญาต ข้อ 6(2) และหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตต้องเป็นไปตามหมวด 2 หลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไขข้อ 12

กรณีวัดหรือสำนักสงฆ์ที่อยู่ในเขตป่า ตามมาตรา 4(1) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ให้ดำเนินการขออนุญาต
ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ.2558 ทั้งนี้ วัดหรือสำนักสงฆ์จะต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้ผ่านการพิจารณา ของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ระดับจังหวัด ที่มีมติให้ขออนุญาตสร้างวัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตามสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ระบุว่า ปัจจุบันวัดทั่วไทยมี 42,626 แห่ง แบ่งเป็นวัดราษฎร์ 42,316 แห่ง มีพระภิกษุจำวัดกว่า 205,513 รูป เป็นสามเณรราวๆ 33,510 รูป วัดและสำนักสงฆ์ที่มีการยื่นขออนุญาตใช้พื้นที่
ป่าไม้ เพื่อการสร้างวัดตาม มติ ครม.ทั้ง 2 นั้นมี ทั้งหมด 10,730 คำขอ ซึ่งวัดและสำนักสงฆ์ยังไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ผ่านการพิจารณา ของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ ในพื้นที่ป่าระดับจังหวัดที่มีมติให้ขออนุญาตสร้างวัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ล่าสุด กรมป่าไม้ได้ประชุมกับกรมอุทยานฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ประชุมมีมติยึดแนวทางตามมติ ครม. 18 เม.ย. 2538 และให้คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ระดับจังหวัด ตามคำสั่งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ ในพื้นที่ป่าไม้ที่ 1/2552 พิจารณาจำแนกที่พักสงฆ์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ตามหลักการในการจำแนกที่พักสงฆ์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ และแนวทางแก้ไขปัญหาตามมติคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ ในพื้นที่ป่าไม้ ครั้งที่ 2/2540 เมื่อ 3 พ.ย. 2540 เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างวัด และเร่งหารือสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ก่อนแจ้งจังหวัดทุกจังหวัด สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ท้องที่ 1-13 และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้สาขาทุกสาขาต่อไป ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว เพื่อป้องกันปัญหาในทุกกรณ๊ในอนาคต

ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า ทส.ได้ดำเนินการแก้ปัญหาพระสงฆ์และสำนักสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ โดยคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อ 9 ส.ค.2565 มีมติ ครม.ตามที่ ทส.เสนอกรณีดำเนินโครงการใดๆ ของหน่วยงานรัฐมีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าและจะต้องมีการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ด้วย ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรร/อนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทน ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการปลูกป่าตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดโดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการนั้นๆ ด้วย โดย ยกเว้นหน่วยงานรัฐหรือโครงการบางประเภทที่ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณค่าปลูกป่าทดแทน

ประกอบด้วย โครงการเพื่อสร้างศาสนสถานและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา โครงการที่มีวัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการเพื่อการจัดที่ดินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม.และโครงการที่เข้าใช้พื้นที่ป่าก่อนได้รับอนุญาตตามมติ ครม.เมื่อ 23 มิ.ย.2563 เรื่องการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และขอผ่อนผันตามมติ ครม.เมื่อ 8 ก.ค.2523 กรณีที่ปรากฏว่ายังมีส่วนราชการใดเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อ นได้รับอนุญาตและมติ ครม.เมื่อ 11 พ.ย.2564 เรื่องขอขยายเวลาในการยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ตาม มติ ครม.เมื่อ 23 มิ.ย.2563

นายจงคล้าย วรพงศธร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รอง ปกท.ทส.) กล่าวว่า พื้นที่ป่าในปัจจุบันของไทยมีประมาณร้อยละ 21 หรือ 102 ล้านไร่ อยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ผ่านมามีการขอความร่วมมือทุกหน่วยงานร่วมกันทำงานอย่างบูรณาการ ตรวจสอบผืนป่าในพื้นที่หน่วยงาน ในสังกัด โดยจะต้องทราบข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนของป่าอนุรักษ์ มีฐานข้อมูลที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาคเหนือ ระบุว่า การใช้ประโยชน์ในกิจกรรม โครงการด้านศาสนานั้น บางสถานที่
มีมีการพัฒนา ปกป้องดูแลผืนป่า แต่บางแหล่ง พัฒนาจนเสียสภาพสมดุลย์ ทางธรรมชาติ มีการปลูกสร้าง รุกล้ำทำลายผืนป่า ทั้งโดยเจตนาและความไม่เข้าใจภูมิทัศน์ ระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ

ร่วมแสดงความคิดเห็น