(มีคลิป) ป้ายบอกทางสุดแปลก จ.น่าน คนแห่ตั้งชื่อไม่เคยเจอมาก่อน

เมื่อุวันที่ 21 มกราคม 2566 ที่ทางหลวงชนบท สายแยก ทล.1091 – โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ป่าไม้ห้วยลู่ ตามพระราชดำริฯ ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ระยะทาง 10.805 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 61,445,000 บาท โดยมีสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 17 เชียงราย เป็นเจ้าของโครงการ กำหนดราคากลางไว้ที่ 60,595,000 บาท และประมูลโครงการโดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งจากจังหวัดขอนแก่น ในราคา 60,566,000 บาท ต่ำกว่าราคากลาง 29,000 บาท เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 กำหนดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565


หลังก่อสร้างเสร็จมีการติดตั้งป้ายสัญญาณจราจร มีคนถ่ายรูปนำไปลงในสื่อโซเชี่ยลมีเดียเฟสบุ๊ค ทำเอาหลายคนถึงกับงง เมื่อเจอป้ายเตือนลักษณะแปลกๆ ดังกล่าว ที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน แม้แต่เวลาไปสอบใบขับขี่ก็ยังไม่เคยเจอ ที่มีสัญลักษณ์แปลกตา โดยในโลกโซเชี่ยลมีการตั้งชื่อป้ายกันอย่างคึกคัก อาทิ โค้งตัวหนอน โค้งงู โค้งจอดอ้วก โค้งไส้ติ่ง

ด้านคุณนุ่น กล่าวว่าด้วยหัวเราะไปด้วย ว่าไม่เคยเห็นป้ายดังกล่าวมาก่อนในชีวิต ทั้งงงและก็ขำ ป้ายดังกล่าวมันสามารถใช้ได้จริงไหม ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อขับรถไปแล้วเจอป้ายแบบนี้จะทำให้การสัญจรปลอดภัยขึ้น หรือทำให้เราสับสน คุณนุ่นตอบว่าทำให้เกิดการสับสนอย่างและทำให้งงว่าจะเลี้ยวยังไงก่อน

ด้าน นายสหชาติ คำพูน ขนส่งจังหวัดน่าน กล่าวว่า ป้ายที่กรมขนส่งทางบกใช้ออกข้อสอบเป็นป้ายที่เป็นการติดตั้งตามแบบมาตรฐานสากล ตามแบบที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดยป้ายดังกล่าวคาดว่าเป็นการออกแบบป้ายเฉพาะพื้นที่ ไม่มีอยู่ในข้อสอบของกรมการขนส่งทางบก


ทั้งนี้ตามมาตรฐานการติดตั้งป้ายของทางหลวงชนบท กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดนิยามไว้ว่าจะต้องสื่อความหมายให้คนใช้ทางเข้าใจไม่เกิน 3 วินาที แต่ถนนที่ใช้ความเร็วต้องไม่เกิน 1.6 วินาที เนื่องจากการใช้ทางมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว หรือมองแว็บเดียวต้องตีความหมายออกทันทีว่า จะโค้งซ้ายก่อนหรือโค้งขวาก่อน

ด้าน นายธงไชย ชมถนอม ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงชนบทที่ 17 ซึ่งสำนักฯ เป็นเจ้าของโครงการ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า สำหรับป้ายดังกล่าวสำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวงชนบท เป็นผู้ออกแบบ ทางเราเป็นเพียงผู้ดำเนินการสรรหาผู้รับจ้างมาทำ


จากความเข้าใจ คนออกแบบคงอยากให้ผู้สัญจร ทราบว่าทางข้างหน้ามีลักษณะอย่างไรตามสภาพถนนจริง โดยป้ายจะทำการออกแบบจากแบบที่ทำการก่อสร้างเฉพาะพื้นที่ ที่เป็นภูเขามีโค้งซับซ้อนซึ่งอาจจะแปลกตาบ้าง เนื่องจากมีการติดตั้งในพื้นที่ดังกล่าวเป็นแห่งแรก ในพื้นที่สำนัก 17 และในไทย จำนวน 60 ป้าย และแห่งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันยังมีติดตั้งเพียง 2 ที่ จำนวน 90 ป้าย เมื่อสอบถามถึงราคาในการผลิตป้าย แบบ ต.มาตฐาน กับ ต.พิเศษ ว่าราคาแตกต่างกันหรือไม่ ผู้อำนวยการสำนักฯ ตอบว่าราคาเท่ากัน ผู้สื่อข่าวจึงตรวจสอบในใบปริมาณงานพบว่า ราคาป้ายสัญญาณตามแบบมาตรฐาน ราคาตกอยู่ป้ายละ สองพันกว่าบาทถึงสี่พันกว่าบาท ส่วนป้ายแบบพิเศษราคาตกอยู่ป้ายละ เจ็ดพันกว่าบาท

ร่วมแสดงความคิดเห็น