คณะแพทยศาสตร์ มช.มอบรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี บุคคลดีเด่น

คณะแพทยศาสตร์ มช.มอบรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี บุคคลดีเด่น และภาควิชาที่มีแนวปฎิบัติดีเลิศ ประจำปี 2565

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี บุคคลดีเด่น และภาควิชาที่มีแนวปฎิบัติดีเลิศ ประจำปี 2565 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในโอกาสที่คณะฯ จัดกิจกรรม MED CMU Quality Fair ครั้งที่ 3 ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2565 ดังมีรายนามต่อไปนี้

: รางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี 2565
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • รศ.นพ.อดิศักดิ์ ตันติวรวิทย์
    รักษาการแทนรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มช.

: บุคคลดีเด่น สายอาจารย์

  • ผศ.นพ.เศรษฐพงศ์ บุญศรี
    รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

: บุคคลดีเด่น สายสนับสนุนสังกัดสำนักงานคณะฯ

  • คุณมะลิวรรณ หินทอง
    เลขานุการคณะแพทยศาสตร์ มช.

: บุคคลดีเด่น สายวิชาชีพ

  • ภญ.เยาวภา ชัยเจริญวรรณ
    หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

: บุคคลดีเด่น สายไม่ใช่วิชาชีพ

  • คุณปิ่นเพชร ยอดแก้ว
    พนักงานบริการฝีมือ

: บุคคลดีเด่น ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์

  • คุณสุภาพร เลาหพูนรังษี
    ผู้จัดการศูนย์เลสิค

: บุคคลดีเด่น ศูนย์ศรีพัฒน์

  • คุณวิทยาภรณ์ พื้นทะเล
    ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ด้านบริการพยาบาล

ภาควิชาที่มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practice) และ แนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)
จากการประเมินคุณภาพองค์กรภายในคณะแพทยศาสตร์
ตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2565

: ภาควิชาที่มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
    เรื่อง ระบบการดูแลนักศึกษาแพทย์/แพทย์ประจำบ้านที่เป็นระบบและมีประสิทธิผล และการรับฟังเสียงลูกค้าทุกกลุ่ม (VOC)

: ภาควิชาที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)

  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    เรื่อง การสร้างทัศนคตินวัตกร และนวัตกรรมที่โดดเด่น
  • ภาควิชาศัลยศาสตร์
    เรื่อง กระบวนการ DALI – Design Action Learning Improvement for Disease
    Specific Certification
  • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
    เรื่อง ระบบการอุทิศร่างกายออนไลน์
  • ภาควิชาจักษุวิทยา
    เรื่อง Online Evaluation of EPAs and DOPS
  • ภาควิชานิติเวชศาสตร์
    เรื่อง โครงการกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) เพื่อเปิดหลักสูตรอบรม
  • ภาควิชาพยาธิวิทยา
    เรื่อง Onsite FNA clinic
  • ภาควิชาเภสัชวิทยา
    เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ Clinical Research Center for Food and Herbal Product
    Trials and Development (CR-FAH)
  • ภาควิชารังสีวิทยา
    เรื่อง ระบบประกันคุณภาพการฉายรังสีรักษา CMU QUAPRO
  • ภาควิชาวิสัญญีวิทยา
    เรื่อง Undergraduate Medical Teaching Reform
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
    เรื่อง การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บูรณาการการเรียนการสอนและการบริการ

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 15 อาคารเฉลิมพระบารมี คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น