วิกฤตฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจและความท้าทายต่อการจัดการ

วิกฤตฝุ่น PM2.5 ที่เชียงใหม่และภาคเหนือของไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่รุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤตการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานอย่างรุนแรง โดยสถิติจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในเชียงใหม่ชี้ให้เห็นถึงค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2566 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในหลายปีที่ผ่านมา

‘เชียงใหม่’ ทะยานขึ้นติดอันดับต้นๆ เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลกอย่างต่อเนื่องทุกปี ล่าสุดในช่วงวันที่ 21 ก.พ.2566 สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ภาคเหนือเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 25 – 89 มคก./ลบ.ม. อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ

วันเดียวกันนั้น ‘เชียงใหม่’ ยังติดอันดับเมืองมลพิษอันดับ 15 ของโลก จากเว็บไซต์ https://www.iqair.com/ รายงานคุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษ พบว่า ช่วงเวลา 14.32 น. จ.เชียงใหม่ ติดอันดับที่ 15 ขณะที่ อันดับ 1 ได้แก่ ลาฮอร์, ปากีสถาน อันดับ 2 อักกรา, กานา และ อันดับ 3 เดลี, อินเดีย ส่วนกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 31

วิกฤตฝุ่น PM2.5 นี้ไม่เพียงแต่เป็นผลมาจากกิจกรรมต่างๆ ต้นตอหลักของปัญหานี้คือการเผาในที่โล่งในพื้นที่เกษตรเช่น การเผาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ข้าวนาปรัง และอ้อย และไฟป่า ซึ่งส่งผลให้เกิดฝุ่น PM2.5 ประมาณ 209,937 ตัน ตามด้วยกิจกรรมอุตสาหกรรม, การขนส่ง การก่อสร้างและการผลิตไฟฟ้า ที่มีส่วนสำคัญในการก่อเกิดฝุ่น PM2.5 ในปริมาณที่น่าสนใจซึ่งมีแนวโน้มว่าปริมาณจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2567

ผลกระทบทางเศรษฐกิจในเชียงใหม่และภาคเหนือจากวิกฤตฝุ่น PM2.5 นี้มีความรุนแรง มีมิติที่กว้างขวาง โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว การลดลงของนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าวิกฤตครั้งนี้อาจทำให้เกิดความสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประมาณ 700 ล้านบาท จากการลดลงของนักท่องเที่ยวที่เลือกไปเที่ยวภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่และเชียงราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

 นอกจากนี้ วิกฤตฝุ่น PM2.5 ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยอาจส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจ การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์และผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ

การจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดและจุดอ่อนทางนโยบาย รวมถึงความท้าทายทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตในเมือง ต้องเผชิญกับความจำเป็นในการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น การเปลี่ยนรถยนต์ปิ๊กอัพและรถบรรทุกดีเซลเป็นรถไฟฟ้า ซึ่งนอกจากต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จไฟแล้ว ยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบายสนับสนุน

ขาดการบูรณาการความรู้ระหว่างนักวิจัย, เจ้าหน้าที่รัฐ, และชุมชนท้องถิ่นเป็นอุปสรรคที่สำคัญ การแก้ปัญหา PM2.5 ต้องการข้อมูลและการวิจัยที่ครอบคลุมทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค เพื่อให้มาตรการที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในไทยยังรวมถึงปัญหาการเผาในพื้นที่ชนบทและเขตเมืองใหญ่ การขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของมลพิษ (airshed) ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการจัดการปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ ท้ายที่สุดแล้ว การแก้ไขปัญหา PM2.5 ในเชียงใหม่และทั่วไทย

ต้องการการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ทั้งในด้านการวางแผน, การวิจัย, การกำหนดนโยบาย, และการดำเนินการที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตและการใช้พลังงาน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต, รวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นหัวใจสำคัญในการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว.

การจัดการวิกฤตฝุ่น PM2.5 จึงเป็นความท้าทายที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง มาตรการเฉพาะหน้าที่ดูแลผู้ประสบปัญหาในพื้นที่ควรได้รับการพิจารณา พร้อมกับการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านภาคการผลิตและบริการไปสู่กิจการที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชนในระยะยาว

การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่และประเทศไทยที่ล้มเหลวอย่างต่อเนื่องนั้น มีสาเหตุหลักมาจากข้อจำกัดและจุดอ่อนสำคัญหลายประการ ตามข้อมูลจากการวิเคราะห์และรายงาน ข้อจำกัดเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลักได้แก่:

1. แนวทางการจัดการแบบภัยพิบัติไม่เหมาะสม : การตั้งกรรมการเพื่อจัดการฝุ่น PM2.5 ในเดือนตุลาคม 66 ซึ่งเป็นก่อนที่จะมีปัญหาฝุ่นและสิ้นสุดการทำงานในเดือนพฤษภาคม ทำให้ขาดความต่อเนื่องและไม่สามารถจัดการปัญหาอย่างมืออาชีพได้ การเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการเป็นแบบเชิงโครงสร้างจึงเป็นสิ่งจำเป็น

2. ท้องถิ่นขาดทุนทรัพย์ : แม้จะมีการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการให้กับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แต่การจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพและข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถใช้งบประมาณเพื่อการจัดการฝุ่นได้ตามความจำเป็น

3. การป้องกันและจัดการ PM2.5 ต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย : แม้ในจังหวัดที่มีการจัดการฝุ่น PM2.5 อย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่มีความร่วมมือจากจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ที่มีการปลูกข้าวโพดและการเผาในที่โล่งก็ยากที่จะควบคุมปัญหาได้ ประกอบกับข้อมูลและความรู้ที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของฝุ่น PM2.5 หรือที่เรียกว่า “airshed” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝุ่นมลพิษแพร่กระจายในระดับภูมิภาค ทำให้การแก้ไขปัญหานี้ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากและการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน

การรับมือกับวิกฤตฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่และภาคเหนือของไทยจึงไม่เพียงแค่เป็นความท้าทายทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการทดสอบความมุ่งมั่นและความพร้อมของทุกภาคส่วนในการร่วมมือและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนและต่อเนื่องนี้.

เรียบเรียง :   บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น