ลุยรื้อรีสอร์ตม่อนแจ่ม ยันทำตามกฎหมาย ชี้ตรวจสอบเบื้องลึกมานาน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวต่อสื่อฯ ในระหว่างเข้าร่วมประชุม ครม.วานนี้ ว่ากรณีคณะเจ้าหน้าที่สำนักทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ สภ.แม่ริม และ ชุดควบคุมฝูงชน เข้ารื้อถอนบ้านพักและรีสอร์ต 5 แห่ง บนพื้นที่ดอยม่อนแจ่ม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่กระทรวงดำเนินการมาโดยตลอด และยืนยันทำทุกอย่างตามกฏหมาย บุคคลที่อยู่ในม่อนแจ่มมี 2 กลุ่ม คือที่อยู่เดิมและที่มาอยู่ใหม่

ทั้งนี้คณะทำงานจัดระเบียบพื้นที่ม่อนแจ่ม จ.เชียงใหม่ ระบุว่า ที่ผ่านๆ มา ทส.ร่วมกับหลายหน่วยงานมีการ
บูรณาการติดตามตรวจสอบ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ม่อนแจ่มมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบที่มาที่ไป ในมิติต่างๆ ผลการตรวจสอบพื้นที่ดอยม่อนแจ่มทั้งหมด พบว่ามีผู้ประกอบการรีสอร์ต บ้านพักที่มีการเปลี่ยนมือ มีการบุกรุกพื้นที่ป่าฯ ซึ่งได้มีการเข้าไปทำความเข้าใจและให้รื้อถอน พร้อมฟื้นฟูสภาพป่าให้เหมือนเดิม กลุ่มที่ถูกเจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดีกรณีบ้านพักรีสอร์ต ในพื้นที่ม่อนแจ่ม มีทั้งผู้ที่มีสิทธิอยู่อาศัยทำกิน และแต่ทำเกินพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก็มี ได้ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายไปแล้ว

แม้ว่าการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ริม (ม่อนแจ่ม และพื้นที่ใกล้เคียง) ต.โป่งแยง ต
.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีการครอบครองใช้ประโยชน์ผิดวัตถุประสงค์ ด้วยการทำเป็นรีสอร์ต โรงแรมที่พัก จนนำไปสู่กระบวนการทางกฎหมาย และต่อมามีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีรีสอร์ตที่พักม่อนแจ่มบุกรุกป่าสงวน 19 คดี จากที่มี 28 คดี โดยมีความเห็นขาดเจตนาในการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ และมีคำสั่ง คสช.ที่ 6/2562 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผ่อนผันให้ผู้ที่ประกอบกิจการโรงแรม ที่ไม่ได้รับการอนุญาตสามารถยื่นขออนุญาตภายหลังได้

“จะเห็นได้ว่า ทางเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีการบูรณาการทำงานหลายภาคส่วน ดำเนินการอย่างละมุนละม่อม มีการเปิดโอกาส ให้หาทางออก แต่ละกรณี แต่การกล่าวอ้างเหตุความไม่รู้ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงต่างๆ ของผู้ครอบครองพื้นที่เพื่อให้พ้น จากข้อกล่าวหาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯที่เป็นคดีความนั้นไม่สามารถรับฟังได้
เนื่องจากที่ถูกดำเนินคดีมีความผิดชัดเจน เจ้าหน้าที่ได้นำภาพถ่ายทางอากาศปี 2545 เป็นหลักฐานทางนิติ
วิทยาศาสตร์ มาเปรียบกับพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จริงในปัจจุบัน และเมื่อทำตรวจสอบในเชิงลึกพบว่ามีการลงทุนทำกิจการโดยอาศัยนอมินี และมีการขยายพื้นที่บุกรุกเพิ่มเติมจากพื้นที่เดิม”

คณะทำงาน โครงการจัดการที่ดินชุมชน (คทช. ) เชียงใหม่ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบหมายแนวทาง การจัดการที่ดินของรัฐ 6 กลุ่ม รวมถึงมอบแนวทาง การจัดที่ดินทำกินให้ เป็นไปตามตามยุทธศาสตร์ชาติ การลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ กล่าวว่ากรณีบริเวณท้องที่ บ้านปางไฮ หมู่ 5 ,บ้านหนองหอยเก่า หมู่ 7 ,บ้านหนองหอยใหม่
หมู่ 11 ต.แม่แรม และ บ้านโป่งแยงนอก หมู่ 2 ต.โป่งแยง ซึ่งทั้งหมดอยู่ใน อ.แม่ริม และเรียกกันว่า ม่อนแจ่มเขตพื้นที่อยู่ภายใต้มติคณะรัฐมนตรี 30 มิ.ย.2541 ปัจจุบันมีการประกอบธุรกิจโรงแรมหรือบ้านพัก,ที่พักตากอากาศหลากหลายรูปแบบ ไม่เป็นระเบียบ เกินกำลังระบบบริการพื้นฐานที่จะรองรับได้ เป็นจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามกฎหมายโรงแรม, ผังเมือง,และการควบคุมอาคารประการสำคัญคือการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 54 และ 55 ,พ.รบ.ป่าสงวน

มีการเปิดโอกาสให้ผู้ดูแล ดำเนินการตามขั้นตอน ท้ายที่สุดก็ต้องมีการรื้อถอน เพราะขั้นตอนที่ดำเนินการมา มีทั้งพิสูจน์ทราบ ให้โอกาสชี้แจงมีการอุทธรณ์ จนถึงต้องบังคับใช้กฎหมายตามกรอบเวลากำหนดไว้ เขตป่าสงวนฯต้องทำเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ตามสิทธิเงื่อนไขในโครงการแรกเริ่ม ไม่ใช่ทำอะไรได้ตามอำเภอใจ บ้านเมืองมีกฎกติกา อย่านำกฎหมู่มาอยู่เหนือกฎหมาย และภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ยอมรับว่า กระทบม่อนแจ่มอย่างมาก ต้องหาทางออกร่วมกัน

โดยยึดหลักความถูกต้อง เหมาะสมอย่างไรก็ตามแกนนำชาวบ้าน ในพื้นที่ม่อนแจ่ม เปิดใจว่าพร้อมจะเจรจาและทำตามข้อตกลงร่วมกับภาครัฐ ว่าต้องการพัฒนาของม่อนแจ่มไปทางไหน วันนี้ชาวม่อนแจ่มพยายามยกระดับ พัฒนาคุณภาพชีวิตและยืนอยู่ได้บนลำแข้งของตนเองแล้ว
ม่อนแจ่มกลายเป็นที่ท่องเที่ยวสร้างรายได้มหาศาลให้เชียงใหม่ แต่ภาครัฐกลับคิดว่าคนม่อนแจ่มจะต้องปลูกผักอย่างเดียว ไม่สามารถประกอบการท่องเที่ยว และโฮมสเตย์ได้ กลุ่มชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ม้งออกมารวมตัวขัดขืนการรื้อถอน เพราะมองว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่างตายตัวไม่ยืดหยุ่น จะทำให้ชาวบ้านไม่มีที่อยู่ที่ยืน ทั้งๆ ที่มีหลักฐานว่าชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ พ.ศ.2447 ก่อนจะมีประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้ปัญหาของม่อนแจ่ม น่าจะเป็นอีกกรณีตัวอย่างในการจัดการที่อยู่ที่กินในผืนป่าของบ้านเราในอนาคต

ร่วมแสดงความคิดเห็น