(มีคลิป) น่าน เชิญร่วมงานฉลองศาลเจ้าปึงเถ่ากง ครบ 120 ปี

น่าน เชิญร่วมงานฉลองศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่านสังกัด มท. ครั้งมโหฬารอายุครบ 120 ปี (10 รอบ) 2446- 2566

คณะกรรมการศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน ชาวจีนเชื้อสายไทยจังหวัดน่าน ขอเรียนเชิญมาไหว้ของพร องค์ปึงเถ่ากง ร่วมงานฉลองศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน สังกัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งมโหฬารอายุครบ 120 ปี (10 รอบ) 2446- 2566 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองครอบครนัว และให้ตนเองได้ในสิ่งที่ต้องการด้วยการช่วยเหลือจากเทพเจ้า ณ ศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน โดยนายประสงค์ เหล่าอารยะ ประธานคณะกรรมการศาลเจ้า นายอุดม เกสโรทยาน กรรมการผู้ตรวจสอบสอดส่อง ศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน สังกัดกระทรวงมหาดไทย และประชาชนชาวน่านเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองน่าน เชิญชวนชาวน่าน นักท่องเที่ยวร่วม งานฉลองศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน ครั้งมโหฬารอายุครบ 120 ปี (10 รอบ) 2446- 2566 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566

นายประสงค์ เหล่าอารยะ ประธานคณะกรรมการศาลเจ้า ได้กล่าวถึง ในโอกาสอันเป็นสิริมงคล การจัดงาน เฉลิมฉลองศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน ครั้งมโหฬารอายุครบ 120 ปี (10 รอบ) 2446- 2566 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากเมื่อ 18 ก.พ.51 ที่ผ่านมา ได้มีการบูรณะซ่อมแซมแทนศาลเจ้าเดิมที่มีอายุ 102 ปี ที่ทรุดโทรมย้ายจากหลังเดิม มายังศาลเจ้าใหม่ศาลนี้ โดยอดีต พ่อเมืองน่าน นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้เป็นประธานในพิธี อัญเชิญองค์ “ปึงเถ้ากง” ศูนย์รวมจิตใจของชาวจีนในจังหวัดน่าน มานานกว่า 102 ปี ลงประทับ ณ ศาลเจ้าแห่งใหม่ และประชาชนชาวน่านเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองน่านและอำเภอใกล้เคียงจำนวนมากเข้าร่วมพิธี จนถึงปัจจุบัน ครบรอบ 120 ปี 120 ปี (10 รอบ) 2446- 2566 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566

นายอุดม เกสโรทยาน กรรมการผู้ตรวจสอบสอดส่อง ศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการบูรณะซ่อมจนถึงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 พิธีการจัดงานงานฉลองศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่าน ครั้งมโหฬารอายุครบ 120 ปี (10 รอบ) 2446- 2566 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ในช่วงเช้า จะมีพิธีอัญเชิญ องค์ปึงเถ่ากง และองค์เทพประจำศาลปึงเถ่ากง กวนกงเจ้าพ่อกวนอู ตี่จู๊เอี้ยเจ้าที่ เซียนซือ และ เทพจี้กง เป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่าน มาเป็นเวลา 120 ปี ออกไปตามถนนให้ชาวเมืองน่าน ร้านตลาด ในเขตเทศบาลเมืองน่าน ได้ไหว้ขอพรเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและคนในบ้าน ร้านค้า พร้อมกับมังกรทอง ขึ้นชื่อของชาวปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ และสิงโต

มังกร ภาษาจีนเรียกว่า “หลง” หรือ “เล้ง” สัตว์มงคลอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ ซึ่งชาวจีนถือเป็นสัตว์ที่มีความเป็นมงคลสุดและเป็นสัตว์เทพศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวแทนแห่งความแข็งแกร่ง ความดีงาม มังกรจะช่วยนำพาสิ่งดีงามมาสู่ชีวิต

สิงโต ภาษาจีนเรียกว่า “ไซ” หรือ “จอหงวนไซ” สัตว์มงคลที่ให้คุณค่าทางด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง ชาวจีนเชื่อว่า การจัดตั้งสิงห์ไว้หน้าประตู หรือปลายหัวเสา แสดงถึงอำนาจ น่าเกรงขาม เพราะสิงห์เป็นสัตว์เทพมงคล โดยเฉพาะสิงห์สีเขียวเป็นสัตว์เทพพาหนะของ มัญชุศรีมหา-โพธิสัตว์ (บุ่งชู้ผ่อสัก) ในพุทธมหายาน ดังนั้นสิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มภัย และมีอำนาจขจัดภูตผีปีศาจ

ภาคกลางคืนบริเวณ หน้าโรงแรมเทวราช ถนนสุมนเทราช จัดให้มีการแสดงสิงโตกวางเจ้า และมังกรทองเล่นไฟ ที่งดงามอลังการ

สำหรับประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าปึงเถ้ากง อยู่ภายใต้การการกับดูแลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยตามกฎเสนาบดีว่าด้วยกุศล สถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 มีจำนวนทั้งหมด 679 แห่ง รวม 59 จังหวัด ภาคเหนือ จำนวน 40 แห่ง ศาลเจ้า แห่งนี้ สร้างเมื่อปี 2446 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมจนถึงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ชาวน่านเชื้อสายจีนมีความเชื่อเล่าสืบกันมาว่า บรรพบุรุษชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้อพยพและเดินทางมาอาศัยพระบรมโพธิสมภารในพระมหากษัตริย์ไทย คาดว่าชาวจีนคณะแรกที่เดินทางเข้ามาจังหวัดน่าน คงจะเดินทางเช้ามาทางชายแดนห้วยโก๋น ซึ่งอยู่ใกล้มณฑลยูนาน เมืองคุณหมิง และเดินทางต่อโดยทางน้ำใช้แพไม้ไผ่ มาขึ้นที่ท่าน้ำบริเวณต้นโพธิ์บ้านหัวเวียงใต้ หน้า รร.สตรีศรีน่าน เนื่องจากจังหวัดน่านในอดีตยังไม่มีถนน และได้แยกย้ายกันจังจองเป็นที่ตั้งบ้านเรือน รวมกันอาศัยทำมาหากินบนแผ่นดินเมืองน่านและได้แสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่พึ่งทางจิตใจคือ องค์เทพเจ้า “ปึงเถ้ากง” ที่บรรพบุรุษเชื่อถือศรัทธามาอย่างยาวนาน ตามหลักฐานจากตัวอักษรภาษาจีนที่ได้จารึกไว้บนแผ่นไม้ เมื่อ 102 ปี

โดยชาวจีนในยุคนั้นได้สละทรัพย์สินเงินทองและที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้ามาจนถึงปัจจุบันก่อตั้งศาลเจ้าปึงเถ้ากงให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวน่านเชื้อสายจีนมาโดยตลอด และศาลเจ้าหลังใหม่ได้มีการบูรณะอาคารมีลักษณะเป็นศิลปะแบบจีน การตกแต่งด้วยลวดลายกิเลนทอง หงส์ และมังกรพันเสาปิดทองคำแท้ ล้วนยึดถือตามปราชญ์และตำราจีนทั้งสิ้น เพื่อให้ศาลเจ้าปึงเถ้ากง เปรียบเสมือนวิมานเทพ ของ “เง็กเซียนฮ่องเต้” เทพเจ้าสูงสุดของชาวจีน สำหรับสักการบูชาและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวจีนในจังหวัดน่านสืบต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น