ของขวัญปีใหม่ไทย! ปรับสูตรคำนวนค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 10 จังหวัดท่องเที่ยว

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการพิจารณาสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ และแนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำว่า คณะกรรมการค่าจ้างหรือบอร์ดไตรภาคีได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่และแนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเสนอ ซึ่งยังไม่ได้เป็นการสรุปว่าขึ้นค่าจ้างเท่าไหร่ โดยในการทบทวนและปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คณะกรรมการค่าจ้างได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

นำร่อง 10 จังหวัดท่องเที่ยว
คณะกรรมการค่าจ้างจึงมีมติเห็นชอบสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ และเห็นชอบแนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามพื้นที่ โดยให้มีการสำรวจข้อมูลประเภทกิจการด้านท่องเที่ยวและบริการในพื้นที่ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา พังงา ประจวบคีรีขันธ์ และระยอง 

เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ มาตรฐานการครองชีพ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของลูกจ้าง และข้อเท็จจริงทางสังคมและเศรษฐกิจตามพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดจนความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs เพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างต่อไป ทั้งนี้ จะมีการประชุมคณะกรรรมการค่าจ้างไตรภาคีอีกครั้งในวันที่ 26 มีนาคม 2567 และหลังจากนี้ไปจะเป็นการสำรวจซึ่งจะทำให้สามารถทราบสูตรการคำนวณการขึ้นอัตราค่าจ้างเป็นรายพื้นที่ให้เหมาะสม 

รัฐบาลเตรียมประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำอีกรอบตามสัญญา
ปลายปี 66 ครม. มีมติให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 2 – 16 บาท ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม เป็นต้นไป ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ตามสูตรการคำนวณที่คณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้เห็นชอบให้คณะอนุกรรมการใช้เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด โดยใช้หลักวิชาการบนพื้นฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากกลไกไตรภาคีระดับจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ได้รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างมีรายได้จากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น และการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ หรือมีผลทำให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อภาวะการครองชีพ        ของประชาชน โดยปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 17 กลุ่ม จังหวัด ภูเก็ต ครองแชมป์ค่าแรงสูงสุดในไทย 370 บาท 

ร่วมแสดงความคิดเห็น