4333

ปรากฏการณ์ “Moondogs” เหนือทะเลเมฆ

นี่คือดวงจันทร์ มิใช่ดวงอาทิตย์ อีกทั้งกำลังเกิดปรากฏการณ์ “Moondogs” ที่หาชมยาก และยังเป็นวิวทิวทัศน์จากบนเครื่องบินอีกด้วย! อีกหนึ่งภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ที่ทำให้เราได้ชมเหตุการณ์ที่ไม่ได้พบเห็นง่ายๆ ผลงานของคุณสุภฉัตร วรงค์สุรัติ เจ้าของรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2565 ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก ปรากฏการณ์ Moondogs เกิดจากการที่แสงจากดวงจันทร์ ถูกหักเหหรือสะท้อนกับผลึกน้ำแข็งรูปแผ่น ซึ่งอยู่ในเมฆบางชั้นสูงที่วางตัวแบนๆ ตามแนวระดับ คล้ายกับใบไม้ที่กำลังร่วงหล่นลงมาจากต้นไม้ เกิดเป็นวงแหวนสีรุ้งขึ้น เรียกว่า การทรงกลดที่เกิดจากผลึกรูปแผ่น (Plate Halo) หรือเส้นโค้งที่เกิดจากผลึกรูปแผ่น (Plate Arc) ลักษณะที่เกิดขึ้นนอกจากวงแหวนสีรุ้ง คือการปรากฏของแถบแสงด้านซ้ายและขวาของดวงจันทร์ แต่ละแถบแสงเรียกว่า moondog ถ้าเป็นแถบทั้งสองข้างจะเรียกว่า moondogs หากมีความสว่างมากพอ จะดูเสมือนมีดวงจันทร์ทั้งหมด 3 ดวง ปรากฏการณ์นี้คล้ายกับปรากฏการณ์ sundogs ซึ่งเกิดจากแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นดวงอาทิตย์ แต่เกิดขึ้นได้ยากกว่า เพราะดวงจันทร์มีความสว่างน้อยกว่าดวงอาทิตย์ วงแหวนสีรุ้ง จะมีระยะห่างเชิงมุมประมาณ 22 องศาเสมอ เนื่องจากแสงที่เดินทางผ่านผลึกจะถูกเบี่ยงเบนไปจากแนวตกกระทบเดิมเป็นมุม 22 องศาในทิศต่าง ๆ ผู้สังเกตจึงมองเห็นแนวแสงที่ห่างจากแหล่งกำเนิดเป็นมุม […]

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี เหนือฟ้าเมืองเชียงใหม่

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี อวดโฉมเหนือฟ้าเมืองเชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี” บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา นับเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตดาวพฤหัสบดีในช่วงนี้ ปรากฏชัด สุกสว่างทางทิศตะวันออก ในช่วงหัวค่ำ สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ปรากฏการณ์ “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในวันที่ 27 กันยายน 2565 ถือเป็นการโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2506 มีระยะทางห่างจากโลกประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าวสามารถสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 […]

4 ก.ค.65 โลกโคจรห่างดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี

4 กรกฎาคม 2565 เป็นวันที่โลกโคจรอยู่ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี หรือที่เรียกว่าจุด “อะฟีเลียน” (Aphelion) จุดที่โลกเราอยู่ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี ระยะทางประมาณ 152,098,455 กิโลเมตร ในเวลา 14:10 น. ตามเวลาประเทศไทย ในหนึ่งปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ทำให้มี 2 จุดบนวงโคจร คือจุดที่โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด เรียกว่า “เพอริฮีเลียน” (Perihelion) ในเดือนมกราคม และจุดที่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด เรียกว่า “อะฟีเลียน” (Aphelion) ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ ตำแหน่งของโลกที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิบนโลกแต่อย่างใด เนื่องจากฤดูกาลของโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ แต่ขึ้นอยู่กับความเอียงของแกนโลกนั่นเอง