7982

ฝนตก ทำให้คนเรา รู้สึกเหงา-เศร้ามากขึ้น

โดยปกติมนุษย์จะตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวอยู่แล้ว เช่น ในตอนกลางคืน หรืออยู่ในที่มืด ๆ เงียบ ๆ เราจะได้ยินเสียง มองเห็นหรือรับรู้สิ่งภายนอกอื่น ๆ น้อยลง ส่งผลให้เราจะกลับมาได้ยินเสียงของตัวเอง รับรู้ความคิดของตัวเองมากขึ้น เมื่อนำมาเทียบเคียงกับตอนฝนตก ก็คือตอนที่ท้องฟ้าเริ่มมืดลง หรือเราต้องอยู่ในห้องคนเดียวเพราะออกไปไหนไม่ได้ ซึ่งบางคนอาจจะนำไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัว เช่น การกลัว เมื่ออยู่คนเดียว กลัวเสียงฟ้าร้อง ซึ่งความกลัวนี้เองที่จะนำพาตัวเราไปสู่ความรู้สึกเหงาได้ ถ้ากลัวฟ้าร้องมาก ๆ มีวิธีจัดการไหม? ความกลัวของคนเกิดจากการเชื่อมโยงประสบการณ์ในอดีตเช่น คนที่กลัวเสียงฟ้าร้อง แท้จริงแล้วอาจจะเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับฟ้าผ่า เมื่อเวลาฝนตกฟ้าร้อง ใจจะคิดต่อว่าฟ้าจะผ่า วิธีรับมือคือต้องค้นหาต้นตอของความกลัวที่แท้จริงให้เจอ ถ้าสิ่งไหนสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือถ้าสิ่งไหนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างเช่น ฟ้าร้องฟ้าผ่า ต้องตระหนักว่ายังไงเราก็ต้องเผชิญกับมัน อาจจะต้องฝึกที่จะเผชิญแทนที่จะหลีกหนี ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจากการลองทนอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ แล้วกลับมาคิดกับตัวเองว่า สิ่ง ๆ นั้นทำอันตรายเราได้จริงไหม ทำได้ขนาดไหน เช่น เมื่อเราอยู่ในบ้านยังไงฟ้าก็ไม่ผ่าเรา เราก็ไม่เห็นต้องกลัว อย่างนี้เป็นต้น ทำไมเวลา ฝนตก ถึงขี้เกียจมากกว่าเดิม? ในเวลาที่ฝนตกหรือช่วงที่มีอากาศเย็นลงนั้น ทำให้ร่างกายมนุษย์ตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ลดต่ำลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดต่ำลง ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้รู้สึกว่าตัวเองขี้เกียจ […]

ของแพง – รายได้ลด ทำคนไทยเครียดหนัก

มาร์เกตบัซ ผู้นำการวิจัยทางการตลาด เผยผลสำรวจพบ คนไทยจำนวนมาก สุขภาพจิตแย่ลง จากวิกฤตเศรษฐกิจ ค่าครองชีพพุ่ง – รายได้ลง สาเหตุหลักทำคนเกินครึ่งเครียดหนัก จากการสำรวจคนไทยที่อายุเกิน 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1,000 คน พบว่า นับตั้งแต่เกิดปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนไทย 70 % เครียดจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง นอกจากนี้ ราคาสินค้าและน้ำมันที่สูงขึ้นประกอบกับการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้คนไทย 52 % รายได้ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ต่อเดือนไม่มั่นคง มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากกว่าปีที่แล้ว 62 % ภาคครัวเรือนมีความเปราะบางทางการเงินมากขึ้น 75 % ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า คนไทยโดยเฉลี่ย มีค่าใช้จ่ายประมาณ 70 % จากเงินเดือน โดยส่วนใหญ่ใช้จ่ายไปกับอาหารและของใช้ภายในบ้าน สำหรับการวางแผนรับมือค่าครองชีพที่สูงขึ้น 67 % ตั้งใจที่จะลดค่าใช้จ่าย 50 % เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 43 % เปลี่ยนมาซื้อสินค้าหรือบริการที่มีข้อเสนอดีที่สุด ทางมาร์เก็ตบัซซ ยังให้ความเห็นว่า […]