พช.แพร่ เข้าร่วมการประกวด สารสนเทศต้นแบบ

พช.แพร่ เข้าร่วมการประกวดสารสนเทศต้นแบบ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีเด่น ระดับเขตตรวจราชการที่ 16 (เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา) ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting

เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 16 เป็นประธานการประกวดสารสนเทศต้นแบบ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีเด่น ระดับเขตตรวจราชการที่ 16 ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting จากกรมการพัฒนาชุมชน พิจารณาตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

โดยมี นายสมศักดิ์ สุขประเสริฐ นายอำเภอเมืองแพร่ กล่าวต้อนรับ นายวีรกานต์ บุญตัน พัฒนาการจังหวัดแพร่ กล่าวรายงาน ภาพรวมการบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อพัฒนาตำบลทุ่งโฮ้ง ซึ่งนางณัฐธยาน์ โปธิมา ผอ.กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นักวิชาการกลุ่มงานสารสนเทศฯ นางนัยนันท์ ชูสกุลนิติสินธ์ พัฒนาการอำเภอเมืองแพร่ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองแพร่ เข้าร่วมสนับสนุนด้านต่างๆ พร้อมให้กำลังใจในการประกวด

ในโอกาสนี้ พระครูมุนินท์ ประชามานิตย์ เจ้าคณะตำบลทุ่งโฮ้ง/ เจ้าอาวาสวัดทุ่งโฮ้งใต้ พระครูสมุห์ทรงพล กตปุญโญ เจ้าอาวาสวัดทุ่งโฮ้งเหนือ และหัวหน้าส่วนราชการอำเภอเมืองแพร่ และคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง ได้เข้าร่วมในเวทีการประกวด ให้กำลังใจและให้ข้อมูลสนับสนุน

นายวชิรพงศ์ โกสิน นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งโฮ้ง ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนสารสนเทศฯตำบลทุ่งโฮ้ง พร้อมด้วยกำนันตำบลทุ่งโฮ้งและผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มสตรี ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตและจำหน่ายผ้าหม้อห้อมในตำบลทุ่งโฮ้ง ร่วมกันนำเสนอผลการขับเคลื่อนงานสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในตำบลทุ่งโฮ้ง และตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง

นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวทางของโครงการฯ และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ ในระดับอำเภอและระดับตำบล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้นำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) หรือข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน(กชช.2ค) และข้อมูลอื่นๆ มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน พร้อมทั้งลำดับความสำคัญ เพื่อรองรับการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รูปแบบ “โคก หนอง นา” การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพให้คนในตำบล ให้มีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น