(มีคลิป) เปิดเทศกาลส้มโอ ของดีอำเภอเวียงแก่นคุณภาพส่งออก ปี 65

เมื่อช่วงเย็นวันที่ 2 ก.ย. 65 ชาวสวนส้มโอ หน่วยราชการ กาชาด องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปชช.ในพื้นที่ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย จัดแต่งริ้วขบวนด้วยผลผลิตส้มโอพร้อมการแสดงวัฒนธรรมสวยงาม เดินขบวนไปยังสถานที่จัดงาน ”เทศกาลส้มโอของดีอำเภอเวียงแก่น ประจำปี 2565” ณ สนามศูนย์ราชการอำเภอเวียงแก่น

นายกิ่งเพชร พันธ์ประยูร ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารการปกครอง (รักษาราชการแทนนายอำเภอเวียงแก่น) เผยว่ากิจกรรมดังกล่าวว่า “เทศกาลส้มโอของดีอำเภอเวียงแก่นคุณภาพส่งออก ปี 65” กลับมาจัดขึ้นอีกครั้งหลังหยุดจัดไป 2 ปีเหตุเพราะการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 หลังสถานการณ์ดีขึ้นได้มีมติของคณะกรรมการจัดงาน ได้ตกลงที่จะกลับมาจัดอีกครั้งตั้งแตวันที่ 29 ส.ค.-4 ก.ย. 65 โดยยึดมาตรการดูแล ปชช.และ นทท.ให้หลีกเลี่ยงจุดแออัดแนะสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พร้อมมี จนท.สาธารณะสุขอำเภอสุ่มตรวจวัดอุณภูมิ

นายกิ่งเพชร เผยว่างานเทศกาลส้มโอของดีอำเภอเวียงแก่นคุณภาพส่งออก เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี 2539 เป็นกิจกรรมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ส้มโอให้เป็นที่รู้จัก มีเวทีเสวนาการปรับปรุงคุณภาพส้มโอให้เป็นที่ต้องการของตลาด ประกวดส้มโอ ประกวดการนำส้มโอมาเป็นอาหารและแปรรูป และถือเป็นงานรื่นเริงพักผ่อนของเกษตรกรชาวสวนส้มโอหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตของปี ส้มโอเวียงแก่นเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้พื้นที่ปีละนับ 1,000 ล้านบาท ที่ผ่านมาส่วนมากส้มโอเวียงแก่นได้ผ่านกระบวนการผลิต GAP ส่งออกขายต่างประเทศทั้งยุโรปและเอเชีย

นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่า การผลิตส้มโอของอำเภอเวียงแก่น ชาวสวนเกษตรใส่ใจในขั้นตอนการผลิตทั้งลดใช้สารเคมีจนสามารถผ่านกระบวนการผลิต GAP สามาถส่งขายต่างประเทศได้ หลังมีการระบาดโรคไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ทำให้เกิดราคาตกต่ำการส่งออกชะงัก ทาง อบจ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยชาวสวนส่งขายออนไลน์ ซึ่งเป็นอีกช่องทางทำตลาด

นายภาณุศักดิ์ จิตแสง เกษตรอำเภอเวียงแก่น เผยว่า ชาวสวนเกษตรที่ปลูกส้มโอในพื้นี่อำเภอเวียงแก่นปี 65 รวมพื้นที่ปลูกทั้งหมดรวม 12,000 ไร่ มี 1,500 ครัวเรือน แยกเป็นส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ 6,120 ไร่ ส้มโอพันธุ์ทองดี 5,760 ไร่ ที่เหลือเป็นพัธุ์ทับทิมสยาม เซลเลอร์และอื่นๆ เก็บผลผลิตตั้งแต่เดือน พ.ค.-ต.ค.ของทุกปี สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวสวนได้ถึงปีละ 500-1,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นพืชเกษตรที่สร้างรายได้หลักของพื้นที่

ร่วมแสดงความคิดเห็น