ลุยสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ ปากน้ำโพ-เด่นชัย-เชียงใหม่

ลุยสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย-เชียงใหม่ คาดเสร็จปี 70

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่านายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท.และกระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้การรถไฟฯ มุ่งพัฒนาการให้บริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้โดยสารให้ได้รับความสะดวก สะอาด ปลอดภัยสูงสุด พร้อมเปิดรับฟังความเห็นจากผู้โดยสารทุกช่องทาง นำมาปรับปรุงการให้บริการแก่พี่น้องประชาชน

ทั้งนี้ผู้บริหาร รฟท.ระบุว่า การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางเดี่ยวให้เป็นทางคู่ ถือเป็นนโยบาย สำคัญของรัฐบาล เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะระบบรางที่มีต้นทุนต่ำกว่ารูปแบบอื่นๆ สำหรับการผลักดันรถไฟทางคู่ทั่วประเทศนั้น ปัจจุบันมีข้อมูลระยะทางในระบบทั้งหมด
4,044 กม. จะเป็นทางคู่น้อย แต่มีเส้นทางเดี่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 โครงการ รวมระยะทาง 700 กม.อาทิ สาย.ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม.นครปฐม-หัวหิน 169 กม. ส่วนทางคู่ในระยะที่ 2 7 โครงการ มีแผนก่อสร้างต่อ รวม 1,483 กม. เช่น ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 308 กม.ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285 กม. ,เด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม. และยังมีแผนพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง รวมระยะทาง 678 กิโลเมตร คือสาย เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 323 กม.และสายบ้านไผ่
-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม.

“เมื่อเส้นทางรถไฟทางคู่สร้างครบถ้วน จะทำให้ประเทศไทยมีรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นเป็น 1,111กม.ระยะที่ 1
5 เส้นทาง จะเปิดให้บริการปี 2566 ระยะที่ 2 อีก 7 โครงการ เริ่มก่อสร้างงานโยธาปี 2566 เปิดให้บริการช่วงขอนแก่น-หนองคาย ในปี 2569 เป็นต้น ส่วนรถไฟทางคู่สายเหนือ 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัยและช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ จะเปิดให้บริการพร้อมกันในปี 2570 สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เปิดให้บริการปี 2571 สำหรับรถไฟความเร็วสูงช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดว่าภายในต้นปี 2569 จะเปิดให้บริการ ส่วนรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและสายใต้ อาจต้องรออีกนาน เพราะกระทรวงคมนาคมยังไม่กำหนดวันเปิดให้บริการ และยังไม่มีการก่อสร้างใดๆ ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงคมนาคม กล่าวในระหว่างมาร่วมงานเกษียณข้าราชการในสังกัดที่เชียงใหม่วานนี้ว่า แนวนโยบายการพัฒนาระบบพื้นฐานด้านคมนาคม

ทั้งมิติ ทางน้ำ ทางอากาศ ทางบก โดยเฉพาะในส่วนระบบราง จะเห็นได้ว่า มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ผลงานที่ปรากฎในปัจจุบันในสายทางอแสาณ มีการดำเนินการก่อสร้างทางลอดอุโมงค์ ของรถไฟที่ช่วงมาบกะเบา-ผาเสด็จ-หินลับ ซึ่งถือเป็นอุโมงค์รถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศสายแรก หลังจากที่เคยมีที่ช่วงขุนตาล ซึ่งยุคสมัยเปลี่ยนไปการพัฒนาระบบรางที่ถือเป็นการคมนาคม ขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนไม่มาก จะเป็นทางเลือกที่สร้างเสริมด้านการค้า การลงทุนในอนาคตกระทรวงคมนาคมมีแนวนโยบายที่จะพัฒนาระบบราง ให้รองรับการขนส่ง ระบบหลักๆ อีกทางเลือก เพื่อเพิ่มปริมาณการรับ ส่งสินค้าจากเหนือจรดใต้ ไปทุกภูมิภาค เชื่อมโยงเครือข่ายเส้นทางกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมแนวคิดที่จะเปิดทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ในการเข้ามาบริการร่วมกับรฟท.ตามรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป ให้เกิดรายได้ และให้พี่น้องประชาชนได้รับความพึงพอใจสูงสุด

“ในขณะที่ระบบรางรูปแบบความเร็วสูงยังมีข้อจำกัดด้านการลงทุน ในหลายๆ เส้นทาง ซึ่ง เป็นการลงทุน รองรับอนาคต ดังนั้นการเลือกที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของ รฟท. ในการสร้างรถไฟรางคู่ จึงเป็นการตอบโจทย์ที่ลงตัว ซึ่ง ในอนาคต หากมีความพร้อม มีการลงทุน รูปแบบความเร็วสูงได้ ก็อาจดำเนินการ ในสายทางที่มีการศึกษาไว้แล้ว เช่น สายเหนือ จาก กทม.มาเชียงใหม่ ทุกการลงทุน และแนวนโยบาย มีช่วงจังหวะเวลา เงื่อนไขแตกต่างกัน แต่การลงทุนรถไฟความเร็วสูงก็ยังเป็นภาพในอนาคตที่หลายฝ่าย พยายามจะดำเนินการ ใน 4เส้นทาง สู่ทุกภูมิภาคให้ได้ ซึ่งเบื้องต้นนั้นช่วง กทม.นครราชสีมา จะ
เป็นโครงการนำร่อง”

ร่วมแสดงความคิดเห็น