ปภ.แนะประชาชนรับมือหมอกควันและฝุ่น PM 2.5

ปภ.แนะประชาชนรับมือและลดผลกระทบจากหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 อย่างปลอดภัย


หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นปัญหาที่มักเกิดในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องช่วงฤดูร้อน เนื่องจากสภาพอกาศหนาวเย็น แห้งแล้ง สภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ การเผาวัชพืชและตอซังข้าว รวมถึงมลพิษจากแหล่งกำเนิด เช่น รถยนต์ควันดำ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ทำให้สถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละออง PM2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง ดังนี้
6 วิธีการลดผลหมอกควันและฝุ่น PM2.5

  • ไม่เพิ่มปริมาณหมอกควัน อาทิ เผาขยะหรือวัชพืช จุดธูปเทียน สูบบุหรี่ ประกอบอาหารโดยใช้เตาถ่าน
  • เลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดไฟป่า โดยไม่เผาขยะ วัชพืช วัสดุทางการเกษตร ตอซังข้าว และไม่จุดไฟหาของป่าหรือล่าสัตว์ รวมถึงไม่ทิ้งกันบุหรี่บริเวณที่มีวัสดุติดไฟง่าย
  • ใช้การฝั่งหรือไถกลบในการเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร หากจำเป็นต้องใช้วิธีเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ให้จัดทำแนวกันไฟล้อมรอบพื้นที่การเกษตร และใช้น้ำราดดับไฟให้สนิททุกครั้ง
  • เพิ่มความชื้นในอากาศ อาทิ รดน้ำต้นไม้ ฉีดพ่นละอองน้ำ ปลูกพืชคลุมหน้าดิน จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ
  • กำจัดขยะอย่างถูกวิธี โดยฝังกลบหรือเผาในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่เผาในที่โล่งแจ้ง เพราะจะเพิ่มปริมาณหมอกควันในอากาศ
  • ลดการใช้ยานพาหนะ โดยใช้บริการขนส่งสาธารณะ ขี่รถจักรยาน หากขับรถให้เลือกใช้เชื้อเพลิงที่มี
    ค่าออกเทนสูงหรือใช้พลังงานทางเลือกวิธีง่าย ๆ ในการลดผลกระทบจากหมอกควันและฝุ่น PM 2.5
  • ลดหรืองดการประกอบกิจกรรมนอกบ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่มีฝุ่นละอองปกคลุมหนาแน่น หากจำเป็น
    ให้สวมหน้ากากอนามัยชนิดกรอง หรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดปาก และจมูก เพื่อลดการสูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย และสวมแว่นตา เพื่อป้องกันการระคายเคืองตา
  • ปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด พร้อมใช้ผ้าชุบน้ำอุดตามช่องระบายอากาศ เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้ามาในบ้าน
  • เพิ่มความระมัดระวังในการขับรถผ่านเส้นทางที่มีหมอกควันปกคลุม โดยเปิดไฟหน้ารถ ไฟตัดหมอก ไม่ขับรถเร็ว ไม่แซงหรือเปลี่ยนเส้นทางกะทันหัน
    ดูแลตนเองอย่างไร เมื่ออยู่ในพื้นที่มีหมอกควัน และฝุ่น PM 2.5
  • ไม่ออกกำลังกายและทำงานหนักในที่โล่งแจ้ง เพราะร่างกายจะสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปในปริมาณมาก
  • ดูแลกลุ่มเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบพาไปพบแพทย์
  • สังเกตอาการผิดปกติของร่ายกาย หากมีอาการเคืองตา แสบจมูก แน่นหน้าอก หรือหายใจลำบากให้รีบไปพบแพทย์
  • เปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน เพื่อช่วยซับกรองและป้องกันการสูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย
  • จัดเตรียมยาที่จำเป็นไว้ให้พร้อม โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและพกติดตัวไว้ หากอาการกำเริบ จะช่วยรักษาอาการในเบื้องต้น
  • ติดตั้งระบบกรองอากาศในที่อยู่อาศัย โดยเลือกใช้แบบถอดล้างได้ เพื่อลดผลกระทบจากการสูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น