สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคมาลาเรีย

กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชุมถอดบทเรียนงานมาลาเรียชายแดน และการใช้ชุดดรวจหาเชื้อมาลาเรียแบบรวดเร็ว(Malaria rapid diagnostic test: RDT)


วันนี้ (22 เม.ย. 67) นายแพทย์ธนวัฒน์ คงธรรม รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมถอดบทเรียนงานมาลาเรียชายแดน และการใช้ชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย แบบรวดเร็ว (Malaria rapid diagnostic test: RDT) โดยมี นายแพทย์บัณฑิต ดวงดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สะเรียง นายกฤต วงศ์น้อย สาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 337 อุทยานแห่งชาติสาละวิน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 พี่เลี้ยงใน รพ.สต. พนักงานสุขภาพชุมชน และอาสาสมัครมาลาเรียชายแดน จำนวน 80 คน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 4 โรงพยาบาลแม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดประชุมจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

จากสถานการณ์โรคมาลาเรียของจังหวัดแม่ฮ่องสอนพบว่า อำเภอแม่สะเรียง มีประชาชนป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียเป็นอันดับ 2 รองจากอำเภอสบเมย โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามชายแดนและผู้ที่อาศัยอาศัยอยู่ ในพื้นที่ชายแดน ทั้งทหาร ตำรวจ ป่าไม้นักเรียน และประชาชนทั่วไป ปัจจัยหลัก เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน ยังมีการระบาดอย่างหนักของเชื้อไข้มาลาเรีย มาสู่ประชาชนในพื้นที่ชายแดนเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย จึงได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคมาลาเรีย และให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนสามารถตรวจหาเชื้อมาลาเรียแบบรวดเร็วได้ และพัฒนาเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยมาลาเรียมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคมาลาเรีย รวมทั้งสามารถใช้ชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรียแบบรวดเร็วได้และพัฒนาเครือข่ายในการส่งต่อผู้ป่วย

สำหรับ โรคมาลาเรีย (Malaria) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวแพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงก้นปล่องเพศเมีย (Anopheles Spp.) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงและหนาวสั่น โดยมักพบโรคนี้ในเขตที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นและมีแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติมาก ซึ่งเป็นที่อาศัยของยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2555 พบว่ามีผู้ติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า 34,000 คน และในปี พ.ศ. 2556 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม มีผู้ป่วยทั้งประเทศจำนวน 12,000 คน และเสียชีวิต 12 คน ทั้งนี้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลปี 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยสะสมรวม 544 ราย พบเชื้อ PV ร้อยละ 86 หรือ 469 ราย เชื้อ PF ร้อยละ 12 หรือ 67 ราย ผู้ป่วยสูงสุดอยู่ในพื้นที่ อ.สบเมย 278 ราย อ.แม่สะเรียง 157 ราย อ.ขุนยวม 42 ราย อ.แม่ลาน้อย 38 ราย และ อ.เมือง 29 ราย ผู้ป่วยเป็นคนไทยร้อยละ 36 (198 ราย) ต่างชาติถาวร ร้อยละ 6 (35 ราย) ต่างชาติจร ร้อยละ 17 (90 ราย) ผู้ป่วยใน Camp จำนวน 221 ราย ร้อยละ 41 ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายแดน

ร่วมแสดงความคิดเห็น