แข่งขันจุดบอกไฟดอกกลางแม่น้ำน่าน ในประเพณีเจ็ดเป็งสรงน้ำพระธาตุวัดท่าล้อ

น่าน ประเพณีเจ็ดเป็ง หนึ่งเดียวในประเทศไทยแข่งขันจุดบอกไฟดอกกลางแม่น้ำน่าน ในประเพณีเจ็ดเป็งสรงน้ำพระธาตุวัดท่าล้อ

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ที่บริเวณกลางแม่น้ำน่าน วัดท่าล้อ บ้านท่าล้อ ตำบลฝายแก้ว จังหวัดน่าน ได้มีการจุดบอกไฟดอก หรือไฟพะเนียง กลางลำน้ำน่าน ซึ่งได้ ฟื้นฟูประเพณีนี้ให้กลับมาอีกครั้ง โดยในสมัยก่อนนั้น การจุดบอกไฟดอก กลางแม่น้ำน่าน ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆปี ในช่วงน้ำแล้ง ใกล้ประเพณีสงกรานต์ โดนคนในสมัยก่อนนั้น จะนำบอกไฟดอกมาจุด เพื่อถวายพระพุทธเจ้า และ บูชาพญานาค ให้มีฝนตกน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ในฤดูฝนที่จะมาถึง มีการสืบสานการจุดบอกไฟดอก เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับปีนี้ จุดบั้งไฟดอกบูชาพระธาตุ จำนวน 5 วาน (ดอก) และมีการประกวดจุดบั้งไฟของชุมชนที่ส่งเข้าร่วมประกวด รวม 45 วาน (ดอก)

แต่ด้วยเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ประเพณีดังกล่าวได้เลือนหายไป และเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ และ ชาวบ้านชุมชนวัดท่าล้อ ได้จัดประเพณีจุดบอกไฟดอกกลางแม่น้ำน่าน ให้กลับมาอีกครั้ง และจุดเป็นประจำทุกปี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยจะใช้วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เป็นวันสงน้ำพระธาตุวัดท่าล้อ และจุดบอกไฟดอกกลางแม่น้ำโดยในปีนี้ ตรงกับวัน ที่ 23 เมษายน 2567 ได้ จัดการจุดบอกไฟดอก ถวายพระพุทธเจ้า บูชาพญานาคและแข่งขัน มีคนนำเข้ามาจุดทั้งสิ้น 45 วาน(กระบอก) ถึงแม้ว่าเงินรางวันนั้นจะน้อยนิดแต่ทุกคนที่ทำบอกไฟดอกมาร่วมงานนั้น ทำมาด้วยใจทำให้ มีความสนุกสนานและมีบอกไฟดอกที่มาจุดมากขึ้นทุกปี และผู้เข้ามาชมนั้นก็มากขึ้นทุกปีด้วย โดยปีนี้ มีผู้ชมตลอด 2 ฝั่งลำน้ำน่านกว่า 1,000 คน ความสนุกสนานของการจุดบอกไฟดอกนั้น สล่า(ช่าง)ที่ทำบอกไฟดอกจะต้องมาลุ้นว่า บอกไฟดอกที่ตัวเองทำมานั้น จะขึ้นสวยงามหรือว่า แตก และจะมีเสียงกองเชียร์โห่ร้องเชียร์อย่างสนุกสนาน

กติกาในการจุดแข่งขันบอกไฟดอกนั้น จะขึ้นอยู่กับแต่ละสนามว่า มีข้อกำหนดอย่างไร เช่น บางสนามกำหนดว่า ความยาวกระบอกไม่เกิน 90 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางวงในกระบอกไม้ไผ่ไม่เกิน10เซนติเมตร หรือบางสนาม เปิดการแข่งขันแบบโอเพ่น ไม่จำกัดความยาวและเส้นผ่าศูนย์กลาง เป็นต้น ความสนุกขอกการจุดบอกไฟดอกนั้น ผู้ชม คนดูที่มาดูมาเชียร์ สามารถมองเห็นและรู้ด้วยสายตาตัวเองเลยได้ว่า บอกไฟดอกไหนขึ้นสวย ยังไง และมีการเชียร์ อย่างสนุกสนาน บอกไฟดอกเป็นวิถีการเล่นที่เล่นกันมาตั้งแต่โบราญ โดยความสวยงามนั้น อยู่ที่ บอกไฟดอกขึ้นสวย พุ่มใหญ่ อยู่นาน ลงช้า

สำหรับการแข่งขันจุดบั้งไฟดอก เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของชุมชน ความสมัครสมานและสามัคคี
การจุดบอกไฟดอก หรือไฟพะเนียง ถวายเป็นพุทธบูชา เป็นประเพณีของทุกปี จัดขึ้น ณ บริเวณกลางแม่น้ำน่าน ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ชาวน่าน ได้ฟื้นฟูประเพณีนี้ให้กลับมาอีกครั้ง และจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 สมัยก่อนการจุดบอกไฟดอก กลางแม่น้ำน่าน จะจัดขึ้นในช่วงน้ำแล้ง ในวัน 7เป็ง ใกล้ประเพณีสงกรานต์ โดยคนในสมัยก่อนจะนำบอกไฟดอกมาจุด เพื่อถวายพระพุทธเจ้า และ บูชาพญานาค และบูชาพระธาตุวัดท่าล้อ เพื่อจะได้ให้มีฝนตกน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ในฤดูฝนที่จะมาถึง “ประเพณีเจ็ดเป็งนมัสการพระมหาธาตุท่าล้อ” เป็นวันสรงน้ำพระธาตุวัดท่าล้อ และจุดบอกไฟดอกกลางแม่น้ำ หรือเรียกกันติดปากว่า วันเจ็ดเป็ง หรือ ประเพณีเจ็ดเป็งสรงน้ำพระธาตุวัดท่าล้อ มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ องค์เจดีย์ที่มีลักษณะเป็นทรงระฆังคว่ำ ฐานเป็นเขียง 3 ชั้น ขนาดใหญ่รองรับฐานบัว ลูกแก้วอกไก่และมาลัยเถาที่ยึดให้แต่ละชั้นห่างกันมากขึ้น องค์ระฆังขนาดเล็ก ผอมและเพรียว ต่อยอดขึ้นไปเป็นส่วนบัลลังข์ ปลียอดและฉัตร

วัดท่าล้อ เป็นปูชนียสถานสำคัญประจำเมืองน่านมาแต่โบราณกาล ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า พญาการเมือง เจ้าเมืองวรนครเมืองปัว ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจากกรุงสุโขทัยไว้บนดอยภูเพียง อีกทั้งสร้างพระบรมธาตุแช่แห้งไว้เมื่อ พุทธศักราช 1987 หลังจากนั้นพระองค์จึงได้ย้ายเมืองวรนคร ด้วยการผูกแพขนาดใหญ่หลายลำ ล่องลงมาตามน้ำน่าน เพื่อสร้างเวียงใหม่ที่ดอยภูเพียงแช่แห้งล้อมรอบองค์พระธาตุที่ได้ประดิษฐานไว้เป็นปฐม จึงได้สร้างพระธาตุท่าล้อแห่งนี้ขึ้น บริเวณท่าน้า ที่ยกพลขึ้นในคราวย้ายเมืองครั้งนั้น เป็นอนุสรณ์ องค์พระธาตุท่าล้อ นี้ เป็นเจดีย์สำคัญองค์หนึ่ง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน ตำบลฝายแก้ว เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบเจดีย์ดังกล่าวเป็นแบบแผนของพื้นเมืองน่าน ที่น่าศึกษา

ร่วมแสดงความคิดเห็น