72382

กัมพูชาเนรเทศแล้ว !! ชายไนจีเรียติดฝีดาษลิงรายแรกในไทย

สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ส.ค. กัมพูชาเตรียมส่งตัวออสมอนด์ ชิซาชิริม อึนเชเรม ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงที่หายดีแล้ว กลับไนจีเรีย ประเทศบ้านเกิด และห้ามเขาเดินทางเข้ากัมพูชาอีกเป็นเวลา 3 ปีชายชาวไนจีเรีย วัย 27 ปี รายดังกล่าว ซึ่งถูกตรวจพบป่วยโรคฝีดาษลิงและเดินทางหลบหนีจากไทยมายังกัมพูชาก่อนหน้านี้ ถูกทางการกัมพูชาควบคุมตัวได้ในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของประเทศ เมื่อวันที่ 23 ก.ค. และส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมิตรภาพเขมร-โซเวียต โดยเขาหายดีและออกจากโรงพยาบาลแล้วเมื่อวันเสาร์ (6 ส.ค.) ที่ผ่านมา แก้ว วันธาน รองอธิบดีและโฆษกสำนักงานฯ กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่าสำนักงาน ฯ มีมติเนรเทศชายชาวไนจีเรียรายนี้ ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงจากต่างประเทศรายแรกและรายเดียวในกัมพูชา พร้อมห้ามเขากลับเข้ากัมพูชาอีกเป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WH0) ประกาศว่าการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นนอกถิ่นระบาดดั้งเดิมในแอฟริกา ได้กลายเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) เมื่อวันที่ 23 ก.ค.

พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร รายที่ 4

กรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร รายที่ 4 ของประเทศไทย เป็นหญิงไทย มีประวัติเสี่ยงใกล้ชิดกับชายชาวต่างชาติ ที่สถานบันเทิง เบื้องต้นคาดว่าติดเชื้อจากการที่มีสัมผัสใกล้ชิด กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องค้นหาติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อไป วันนี้ (5 สิงหาคม 2565) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้รับรายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร รายที่ 4 ของประเทศไทย เป็นหญิงไทย อายุ 22 ปี มีประวัติเสี่ยงไปเที่ยวสถานบันเทิง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ย่านที่ชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยว เป็นประจำประมาณสัปดาห์ละครั้ง และมีการสัมผัสใกล้ชิดกับชายชาวต่างชาติ โดยผู้ป่วยเริ่มมีไข้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2565 แต่ยังไปเที่ยวสถานบันเทิงพร้อมเพื่อนชาวไทย และชาวต่างชาติ วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 เริ่มมีตุ่มขึ้นที่แขนขา แล้วลามไปทั่วร่างกาย ร่วมถึงอวัยะเพศ วันที่ 3 สิงหาคม 2565 จึงเดินทางเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันพบเชื้อฝีดาษวานร (Monkeypox […]

เฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานร

แพทย์ทหารแนะ “เฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานร ย้ำอาการไม่รุนแรง โอกาสแพร่เชื้อต่ำ” จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสฝีดาษวานร (Monkeypox) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแนวทางและดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์ทั้งด้านการเฝ้าระวังโรค การป้องกันและการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์โรคฝีดาษวานร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2565) พบผู้ป่วยยืนยัน ทั่วโลก 22,816 ราย (เพิ่มขึ้น 6,502 ราย) ใน 76 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 5,189 ราย, สเปน 4,386 ราย, เยอรมัน 2,595 ราย, อังกฤษ 2,469 ราย […]

ด่วน! ไทยพบฝีดาษลิงรายที่ 3 ในประเทศ

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ว่า ขณะนี้พบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง เป็นรายที่ 3 โดยเป็นชายชาวเยอรมัน อายุ 25 ปี เดินทางเข้าไทยเมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่จังหวัดภูเก็ต แจ้งว่าเดินทางมาท่องเที่ยว พบมีอาการไม่นานเมื่อเข้าไทย คาดว่า เป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากระยะฟักเชื้อของโรคคือ 21 วัน ขณะนี้กำลังติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด ซึ่งชายคนดังกล่าวว่า พบมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ขึ้นตามตัว ก็สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่า มักพบตุ่มผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ 98% และมักพบในกลุ่มชายรักชาย สถานการณ์ล่าสุด ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง รวม 3 คน โดย 2 คนแรกเป็นชายต่างประเทศ อีก 1 คนเป็นคนไทย โดยทั้ง 2 รายแรก อาการดีขึ้นโดยไม่ต้องกินยาต้านไวรัส ส่วนรายละเอียดของชายติดเชื้อรายที่ 3 ทางภูเก็ตจะมีการแถลงรายละเอียด สำหรับเรื่องของวัคซีน มีการประสานกับ อภ.สั่งซื้อเข้ามาไทย […]

ไขข้อสงสัยนั่งส้วมสาธารณะ จะติดฝีดาษลิง ?

ศูนย์จีโนมฯ มหิดล แจงนั่งส้วมสาธารณะ “ยากมาก” ติดฝีดาษลิง ยกเว้นมีแผลสดที่ก้น เราสามารถติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วมในห้องน้ำได้หรือไม่?? ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก อธิบายว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการแพร่เชื้อของไวรัสฝีดาษลิงระหว่างคนสู่คน ผิวหนังปกติของคน เป็นปราการด่านแรกและด่านสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากบรรดาจุลชีพรวมทั้งไวรัสฝีดาษลิงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ สังเกตจากการปลูกฝีในอดีตที่ใช้เชื้อไวรัสฝีดาษม้า “ vaccinia virus” มาปลูกฝี ต้องใช้วัตถุมีคม เช่น มีดปลายแหลม หรือ เข็ม มากรีด หรือขีดข่วนผิวหนังบริเวณต้นแขนให้เกิดแผล(เลือดไหลซิบ) ก่อนหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไป เพื่อช่วยให้ไวรัสเชื้อเป็นในหนองฝีเข้าสู่ผิวหนังและเพิ่มจำนวนกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ จากประสบการณ์ตรง (อดีตที่เคยถูกปลูกฝี) เพื่อนหลายคนปลูกฝีไม่ขึ้น (ไม่เกิดแผลเป็น) ต้องมาปลูกฝีซ้ำ แสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อไวรัสฝีดาษผ่านทางผิวหนังไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย เว้นแต่ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยถลอกหรือเป็นแผลสด (ขนาดผิวหนังมีรอยถลอกหรือแผลไม่ลึกมากพอ เชื้อไวรัสก็ไม่สามารถมาติดเราได้) จึงอาจพอตอบคำถามได้ว่า เป็นการ “ยากมาก” ที่เราจะติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วม เว้นแต่เรามีแผลสดที่ก้น โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือบาดแผลสด รวมทั้งสามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุต่างๆ เช่นเยื่อบุในปาก เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุดวงตา เยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุทวารหนัก ฯลฯ โดยผ่านทางนิ้วมือ อวัยวะเพศ หรือ วัตถุที่เป็นพาหะนำโรค(fomite) […]

โรคฝีดาษลิง ไม่กระทบท่องเที่ยวภาคเหนือ

รองประธานสมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย(ภาคเหนือ) เผยโรคฝีดาษลิงไม่กระทบการท่องเที่ยวภาคเหนือ เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2565 นายสีหเดช เจียเจษฎา รองประธานสมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (ภาคเหนือ) และนายกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ ในห้วงวันหยุด 2 ช่วงที่ผ่านมาบรรยากาศการท่องเที่ยวในภาคเหนือดีขึ้นต่อเนื่องช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของหลายจังหวัดของภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมาช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางด้วยรถส่วนตัว เช่ารถนำเที่ยว เข้ามาในพื้นที่ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติทางยุโรปและอเมริกาเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น แหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง อ.ปาย จ.แม่ฮองสอน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางไปต่อเนื่องทุกวัน อย่างไรก็ตามทิศทางการท่องเที่ยวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยต่อลมหายใจภาคบริการด้านการท่องเที่ยวที่ค่อยเริ่มกลับมา ผู้ประกอบที่ตัดสินใจจะกลับมาประกอบธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ หรือ 100 % ในการกลับมาลงทุนอีกครั้ง สิ่งที่ยังรอคือนักท่องเที่ยวจีน รอทางรัฐบาลจีนได้เปิดประเทศให้ชาวจีนได้ออกมาท่องเที่ยว จะช่วยเติมเต็มการท่องเที่ยวที่ขาดหายไปนานเกือบ 3 ปีให้ฟื้นกลับมา เหมือนช่วงก่อนเกิดแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนการแพร่ระบาดของเชื้อฝีดาษลิง จากการสอบถามนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามา ไม่กังวลเพราะการติดเชื้อต้องสัมผัสใกล้ชิด ไม่เหมือนการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ติดเชื้อง่าย จนเกิดผลกระทบไปทั่วโลก

กรมควบคุมโรคแนะลดมี SEX คนแปลกหน้าเลี่ยงฝีดาษลิง

วันนี้ (30 กรกฎาคม 2565) นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคฝีดาษวานรพบการระบาดในยุโรปส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มชายรักชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีคู่นอนหลายคน ซึ่งหากมีการป้องกันที่ถูกต้องและปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงโดยการไม่สัมผัสใกล้ชิดและมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า จะสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรได้  สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ก.ค. 65) มีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 22,485 ราย พบเพิ่มขึ้นเป็น 79 ประเทศ โดยพื้นที่การแพร่ระบาดส่วนใหญ่พบอยู่ในแถบทวีปยุโรป ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 4,906 ราย สเปน 4,298 ราย เยอรมัน 2,595 ราย สหราชอาณาจักร 2,546 ราย ฝรั่งเศส 1955 ราย และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย อยู่ในแอฟริกาทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ที่มีโรคร่วม ​          สำหรับสถานการณ์ฝีดาษวานรในประเทศไทย ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี เริ่มป่วย […]

นายกฯ เตือนประชาชนอย่ากังวล ฝีดาษวานร ไม่ติดต่อง่าย

นายกฯ เตือนประชาชนอย่ากังวล ฝีดาษวานร ไม่ติดต่อง่าย ต้องสัมผัสกันใกล้ชิดประชาชนทั่วไปสามารถดำเนินชีวิตตามปกติ แต่ขอให้งด/หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง กำชับสธ. ติดตามกลุ่มเสี่ยง หลังพบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายที่ 2 ในไทย วันนี้ (29 กรกฎาคม 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานจากทางสาธารณสุขยืนยันไทยพบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายที่ 2 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทีมเจ้าหน้าที่ติดตามและคัดกรองผู้มีความเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยในพื้นที่ พร้อมเตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนกเกินไปประชาชนทั่วไป สามารถดำเนินชีวิตตามปกติ แต่ขอให้งดหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง ทั้งนี้ โรคโควิด-19 และโรคฝีดาษวานร สามารถป้องกันการติดเชื้อ ด้วยการดูแลตนเองด้วยมาตรการสุขอนามัย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยืนยันโรคฝีดาษวานรมีโอกาสติดเชื้อยาก ซึ่งสามารถติดได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย และผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายป่วยได้เอง กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ข้อมูลว่า ผีดาษวานร เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae พบได้ในสัตว์หลายชนิดตระกูลฟันแทะ เช่น กระต่าย กระรอก หนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ไม่ใช่แค่ลิง โดยการติดต่อสามารถติดต่อได้จาก “สัตว์สู่คน” ผ่านทางการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน […]

ระวังโรคไข้เลือดออกและโรคฝีดาษวานร

รองผู้ว่าฯ เน้นย้ำให้ประชาชนระมัดระวังโรคไข้เลือดออกและโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เน้นย้ำให้ประชาชนระมัดระวังโรคไข้เลือดออกและโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) วันนี้ ( 25 ก.ค. 65 ) ที่ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกว่า จังหวัดเชียงใหม่พบผู้ป่วยติดเชื้อ 768 ราย อำเภอที่มีผู้ติดเชื้อสูง 3 อันดับ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 126 ราย อำเภอเวียงแหง 113 ราย อำเภอเชียงดาว 78 ราย ด้านนายแพทย์กิตติพันธุ์ ฉลอม ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ว่า ขณะนี้จังหวัดเชียงใหม่ มีแผนปฏิบัติการควบคุมโรคและเฝ้าระวังกำจัดยุงลาย ตามระดับของการระบาด […]

“อนุทิน” ประชุมด่วน ยกระดับเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง

วันนี้(24 ก.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เป็นประธานประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมแนวทางรองรับโรคฝีดาษวานร โดยเป็นการประชุมด่วนเนื่องมาจากองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern :PHEIC) เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา และก่อนหน้าการประกาศของ WHO ประเทศไทยก็พบผู้ป่วยยืนยันเป็นรายแรกเป็นชาวไนจีเรีย ที่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 และอยู่ในประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศทั่วประเทศ ประสานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ระมัดระวังผู้เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ แต่ยังไม่มีความจำเป็นในการประกาศห้ามผู้เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงแต่อย่างใด และการจะประกาศให้ฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อระดับใดนั้นในวันพรุ่งนี้(25 ก.ค.) กรมควบคุมโรคจะมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์ และประกาศระดับการเฝ้าระวังต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ในทางการแพทย์ขณะนี้จะได้ระบุถึงลักษณะของโรคไม่มีความรุนแรง แต่สภาพที่ปรากฏต่อคนทั่วไปแล้ว ดูน่าตระหนกโดยเฉพาะบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการมีมีตุ่มน้ำ หนอง ผื่นตามลำตัวดูแล้วไม่ใช่โรคผิวหนังธรรมดา และหากมีการสัมผัสก็แพร่เชื้อได้ จึงควรจะต้องยกระดับการเฝ้าระวัง มีระบบในการดูแลกรณีที่ผู้ป่วยเข้ามาในโรงพยาบาล ให้พิจารณาว่ากรณีมีผู้ป่วยเข้าข่ายจะมีขอควบคุมรักษาก่อนได้หรือไม่ รวมถึงดูแลเรื่องความพร้อมของเวชภัณฑ์ วัคซีน มีมาตรการในสาธารณสุขในการป้องกันแพร่เชื้อคัดกรองอให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบสาธารณสุขให้ได้ต่อเนื่อง

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง คองโก กาบอง ไลบีเรีย ไนจีเรีย และเซียร์ราลีโอน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae ติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นจะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้าย ตุ่มหนองจะตกสะเก็ดอาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคได้เอง การป้องกันควบคุมโรค1) หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า2) หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ3) หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า4) ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค  5) กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน  หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักตัว […]

วัคซีนฝีดาษที่เก็บไว้ 40 ปี ยังมีมาตรฐาน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย วัคซีนฝีดาษคนที่เก็บไว้ 40 ปี ยังมีมาตรฐาน อาจเป็นทางเลือกรับมือฝีดาษลิงได้.นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าว ภายหลังการพบการติดเชื้อฝีดาษวานรรายแรกในไทย จึงมีการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษคน (smallpox) ขององค์การเภสัช ที่เก็บรักษาไว้นานกว่า 40 ปี เพื่อตรวจดูคุณภาพว่ายังนำกลับมาใช้ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนฝีดาษวานร แต่จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า วัคซีนฝีดาษคนสามารถนำมาป้องกันฝีดาษวานรได้ราว 85% โดยทำการตรวจถึง 13 ครั้ง พบว่ายังคงมีคุณภาพตามมาตรฐานวัคซีนไวรัสทั่วไป ทั้งนี้วัคซีนดังกล่าว เป็นวัคซีนรุ่นแรกที่ผลิตจากน้ำเหลืองของสัตว์ รูปแบบการนำมาใช้โดยการหยดลงผิวหนัง และใช้เข็มสะกิดผิวให้ถลอกเพื่อให้วัคซีนซึมผ่าน จนเกิดเป็นแผลเป็นหรือฝี หากเกิดการระบาดของฝีดาษวานรขึ้นในประเทศไทย และไม่สามารถจัดหาวัคซีนมาใช้ได้ หรือมีน้อยเกินไป วัคซีนฝีดาษรุ่นเก่านี้น่าจะนำมาใช้ป้องกันฝีดาษวานรได้ เพื่อเป็นทางเลือก แต่การจะนำมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน จะต้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับ เพื่อความปลอดภัยของผู้รับวัคซีน และจำเป็นต้องไปหาวัคซีนรุ่นใหม่ ๆ มาใช้ด้วยหากเกิดการระบาดขึ้นมาในประเทศ

1 2