73242

ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมใน 3 จังหวัด ประสานเร่งระบายน้ำ

ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมใน 3 จังหวัด ประสานเร่งระบายน้ำท่วมขัง และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย (23 พ.ย. 65) เวลา 10.00 น. ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวม 7 อำเภอ 27 ตำบล 126 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,402 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัดเร่งระบายน้ำท่วมขังและดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วให้เร่งฟื้นฟูเพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมาและการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้ มีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 65 เป็นต้นมา มีพื้นที่ประสบน้ำท่วมรวม 59 จังหวัด รวม 353 อำเภอ 1,879 […]

ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด

ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ประสานจังหวัด เร่งระบายน้ำท่วมขัง และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย วันนี้ (22 พ.ย. 65) เวลา 09.30 น. ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวม 7 อำเภอ 29 ตำบล 153 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,435 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำท่วมขัง ส่วนพื้นที่คลี่คลายแล้วให้เร่งฟื้นฟูเพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมาและการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้มีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 65 เป็นต้นมา มีพื้นที่ประสบน้ำท่วมรวม 59 จังหวัด รวม 353 อำเภอ […]

ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วม 4 จังหวัด เร่งระบายน้ำและฟื้นฟู

ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด ประสานจังหวัดเร่งระบายน้ำท่วมขัง และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย วันนี้ (21 พ.ย. 65) เวลา 10.00 น. ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม รวม 12 อำเภอ 83 ตำบล 452 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,550 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำท่วมขัง ส่วนพื้นที่คลี่คลายแล้วให้เร่งฟื้นฟูเพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมาและการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้มีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 65 เป็นต้นมา มีพื้นที่ประสบน้ำท่วมรวม 59 จังหวัด รวม 353 […]

ปภ.ระดมเครื่องจักรกลสาธารณภัยช่วยน้ำท่วม

วันที่ 11 ต.ค.65 จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) นำเครื่องจักรกลสาธารณภัยของ ปภ. จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 13 อุบลราชธานี และศูนย์ ปภ. เขต ใกล้เคียง รวม 88 รายการ อาทิ เครื่องสูบน้ำ 5 เครื่อง เรือท้องแบน 9 ลำ เรือพายพลาสติก 51 ลำ เรือยนต์กู้ภัย 4 ลำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 14 คัน รถบรรทุกขนาดใหญ่ 1 คัน สะพานเบลีย์ 1 ชุด รวมถึงรถบรรทุกรถประกอบอาหาร รถผลิตน้ำดื่ม ฯลฯ เข้าสนับสนุนการคลี่คลายสถานการณ์น้ำท่วมของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย ทั้งการดูแลด้านการดำรงชีพ การแจกจ่ายอาหารและน้ำดื่มสะอาด การขนย้ายสิ่งของ การขนส่งลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือ และการอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน […]

ปภ.ชี้แจงการทำงานของหอเตือนภัย

(9 ต.ค. 65) ตามที่มีผู้ให้ความเห็นทางสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการทำงานของหอเตือนภัยในพื้นที่ชุมชนกุดแสนตอ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ว่าหอเตือนภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เพิ่งก่อสร้าง หลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2562 แต่ปรากฏว่าในน้ำท่วมครั้งนี้ไม่มีการแจ้งเตือนจากหอเตือนภัยแต่อย่างใด มีแต่เปิดเพลงชาติทุกวันพุธ ทำให้คนในชุมชนเตรียมการไม่ทัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบและวิธีการปฏิบัติงานแจ้งเตือนภัย เพื่อทราบดังนี้ กลไก วิธีการและเครื่องมือในการแจ้งข้อมูลข่าวสารและการแจ้งเตือนภัยในปัจจุบันเป็นการใช้วิธีการและช่องทางเครื่องมือที่หลากหลาย ประกอบด้วย การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสารมวลชน สื่อออนไลน์ แอบพลิเคชั่น การแจ้งเตือนเมื่อคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มจะเกิดสาธารณภัยผ่านหน่วยงานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปยังหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อแจ้งผ่านหอกระจายข่าว/หอกระจายเสียงประจำหมู่บ้าน/ชุมชน การแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่น Thai Disaster Alertผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ และหอเตือนภัยที่ติดตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงภัยสำหรับกรณีอาจจะเกิดสาธารณภัยฉับพลัน ฉุกเฉินหรือเร่งด่วน การแจ้งเตือนภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์สาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง โดยได้บูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหากพบสัญญาณบ่งชี้ว่าเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ใด ศภช.จะทำการแจ้งเตือนภัยไปยังพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับการแจ้งข้อมูลเตือนสถานการณ์ภัยและแนวทางการปฏิบัติในพื้นที่แก่หน่วยปฏิบัติและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น โดยแจ้งเตือนภัยและสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับรูปแบบการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่ในปัจจุบัน ที่ผ่านมาในรอบปี พ.ศ.2565 ได้มีการแจ้งเตือนภัยผ่านหอเตือนภัยที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีฝนตกหนักอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ อาทิเช่น วันที่ 26 กันยายน […]

ปภ. ตั้งกองอำนวยการฯ ส่วนหน้า ณ ศูนย์ ปภ. เขต 13 อุบลราชธานี

ปภ. ตั้งกองอำนวยการฯ ส่วนหน้า ณ ศูนย์ ปภ. เขต 13 อุบลราชธานี เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบพายุโนรู ระดมกำลังเครื่องจักรกลสาธารณภัย – เจ้าหน้าที่เข้าสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ 28 ก.ย.65 เวลา 16.00 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ตั้งกองอำนวยการป้องกันฯ ส่วนหน้า ณ ศูนย์ ปภ.เขต 13 อุบลราชธานี เตรียมพร้อมรับมือพายุโนรูเพื่ออำนวยการ สั่งการ และเชื่อมโยงข้อมูลการบริหารจัดการสาธารณภัยร่วมกับศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ชุดปฏิบัติการสนับสนุนการจัดการเหตุการณ์ (IMAT) สนันสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ ระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำจุดระดมสรรพกำลัง (Staging Area) ณ ศูนย์ ปภ. เขต 13 อุบลราชธานี เตรียมพร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชน นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะผู้อำนวยการกลาง เปิดเผยว่า […]

1 ปีมีครั้งเดียว “ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน”

1 ปีมีครั้งเดียว… เตรียมชมมหัศจรรย์ของธรรมชาติ “ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน” 1-30 กันยายนนี้ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า จ.อุบลราชธานี “แก่งลำดวน” ตั้งอยู่ที่บ้านหนองขอน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะของแก่งลำดวนเป็นแก่งหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีสายน้ำลำโดมใหญ่ไหลผ่าน แก่งหินที่กระจายไปทั่วอย่างสวยงามเหล่านี้เหมาะแก่การเที่ยวชมและพักผ่อนหย่อนใจยิ่งนัก โดยแก่งลำดวนเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 16.00 น. ของทุกวัน นอกจากนี้บริเวณแก่งลำดวนยังมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ของสัตว์น้ำตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ “ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน” ซึ่งปราฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นให้ได้ชมกันปีละ 1 ครั้งเท่านั้น อยู่ในช่วงเดือน กันยายนของทุกปี เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีสัตว์น้ำตัวเล็กๆ อย่าง “กุ้ง” จำนวนมากมายมหาศาลพร้อมใจกันขึ้นมาเดินบนพลาญหินบริเวณแก่งลำดวน กุ้งตัวเล็กๆ เหล่านี้จะพากันเดินทวนกระแสน้ำของสายน้ำลำโดมใหญ่ที่ไหลเชี่ยวกรากในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี โดยกุ้งเหล่านี้จำเป็นต้องขึ้นมาเดินบนบกเพื่อหลบหลีกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว จึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ และสวยงามตระการตาน่าชมยิ่งนัก ซึ่งจะพบปรากฏการณ์นี้ได้ในช่วงเวลากลางคืน จากการวิจัยพบว่ากุ้งที่มาเดินขบวนที่แก่งลำดวนนั้นเป็นชนิดของ “กุ้งก้ามขน” การเดินทวนกระแสน้ำของกุ้งเพื่อมุ่งหน้าสู่พื้นที่แหล่งต้นของสายน้ำลำโดมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และต้องฟันฝ่ากับอุปสรรคระหว่างทางมากมายเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ สำหรับภารกิจนี้ยังคงเป็นความลับของธรรมชาติที่รอให้เราเข้าไปค้นหา ส่วนคืนไหนที่กุ้งเหล่านี้จะมาเดินมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติ ฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณต้นน้ำลำโดมใหญ่ ถ้าปริมาณน้ำฝนมากกระแสน้ำแรง ก็จะพบกุ้งเดินขบวนเป็นจำนวนมาก หากปริมาณน้ำฝนน้อยกระแสน้ำไม่ค่อยแรง กุ้งก็จะขึ้นมาเดินน้อยหรือไม่ขึ้นมาเดินเลย ดังนั้นจึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบเห็นได้ยาก […]

มาตรการป้องกันการก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงกันในสถานบริการ

ผบช.ภ.5 ประชุมเข้มมาตรการป้องกันการก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงกันในสถานบริการและเหตุเพลิงไหม้ในสถานบริการตามนโยบาย ตร.

ม.ราชภัฎอุบล พร้อมจัด กีฬา ม.อาเซียน ครั้งที่ 20

ม.ราชภัฎอุบล พร้อมจัด กีฬา ม.อาเซียน ครั้งที่ 20 ให้ทุกคนประทับใจที่สุด ความเคลื่อนไหวของทัพนักกีฬาไทย ชุดลุยศึกกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ 20 ซึ่งจะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี เจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม 2565 ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ทัพนักกีฬาไทยชุดใหญ่ จำนวน 119 คน ได้เดินทางออกจากหน้าอาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ด้วยรถบัส 3 คัน ถึง จ.อุบลราชธานี โดยสวัสดิภาพแล้วก่อนหน้านี้มีนักกีฬาที่เดินทางไปถึงล่วงหน้าแล้วจำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือจะทยอยเดินทางไปตามโปรแกรมการแข่งขัน รศ.ธรรมรักษ์ ละอองนวล รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวว่า หลังจากที่นักกีฬาต่างชาติทยอยเดินทางมาถึงอุบลราชธานีแล้ว มีปัญหาเรื่องรถและการเดินทางนิดหน่อย ซึ่งก็จัดการแก้ไขไปแล้ว เชื่อว่าอีก 2-3 วันทุกอย่างจะลงตัวทั้งระบบ สิ่งเดียวที่ห่วงตอนนี้ คือ อยากให้ทุกคนที่มาร่วมการแข่งขันประทับใจกลับไป จะพยายามทำหน้าที่เจ้าภาพให้ดีที่สุดและได้มาตรฐานที่สุด

1 2