ลอยกระทง เทศกาลต้นฤดูท่องเที่ยวและความหวังทางเศรฐกิจของเชียงใหม่

เทศกาลลอยกระทง จังหวัดเชียงใหม่จะช่วยกระตุ้นภาวการณ์ท่องเที่ยวช่วงต้นฤดูท่องเที่ยวให้คึกคักได้ แต่ว่าจะคึกคักมากขนาดไหน กับการกระตุ้นเศรฐกิจในระดับภูมิภาค ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะเริ่มในเดือน พฤศจิกายนนี้ และถือว่าเป็นช่วงต้นฤดูท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเริ่มหลั่งไหลมาเยือนเพื่อสัมผัสลมหนาวตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและถือโอกาสชมงานประเพณีเดือนยี่เป็งของชาวล้านนา ธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่และสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวคาดหวังว่าเทศกาลยี่เป็ง หรือลอยกระทง จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวของเชียงใหม่คึกคักหลังอยู่ในภาวะซบเซามานาน  

บวกกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว การสนับสนุนจากภารัฐ และชุมชนท้องถิ่น ที่มีช่างฟ้อนจำนวนหลายร้อยคนในจังหวัดเชียงใหม่พร้อมใจกันเดินทางไปร่วมฟ้อนใหญ่ เป็นฟ้อนเทียนหรือว่าฟ้อนบูชาเมืองเพื่อเตรียมความพร้อมแสดงในงานยี่เป็งเชียงใหม่ปี 2566 การฟ้อนเทียนที่หรือฟ้อนบูชาเมือง ที่มีความอ่อนช้อย สวยงาม ของช่างฟ้อนหลายร้อยคนก็มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ไปจนถึง 80 ปี มีการนัดกันไปฝึกซ้อมบริเวณลานอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ กลางเมืองเชียงใหม่ ทุกคนต่างพร้อมใจกันสวมชุดพื้นเมืองสวยงาม ตั้งแถวเป็นแนวยาวบนลานอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้เกิดความสวยงามและพร้อมเพรียงกันได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเที่ยวบริเวณดังกล่าวจำนวนมาก

ฟ้อนบูชาเมือง ที่มีความอ่อนช้อย สวยงาม

กิจกรรมนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้าร่วมสืบทอดประเพณีที่ดีงาม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีการส่งเสริมทางด้านวัฒนธรรม เวลาไปเข้าวัดตามเทศกาลต่างๆ ในเขตเชียงใหม่ก็จะเห็นการฟ้อนโดยเฉพาะในช่วงงานเทศกาลต่างๆ เป็นการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์

ด้านผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ บอกว่าการฟ้อนเทียนหรือว่าฟ้อนบูชาเมืองถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการดำเนินกิจกรรม ต๋ามประทีปส่องฟ้าฮักษาเมือง ที่จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเริ่มต้นเทศกาลที่เป็นหรือว่าลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่สืบทอดต่อๆกันมาหลายชั่วอายุคน

เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่และหลายภาคส่วนจึงร่วมกันจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีล้านนาที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มันคือการสืบทอดสืบทอดศิลปวัฒนธรรม การส่งต่อทางวัฒธรรมจากรุ่นสู่รุ่น สังเกตว่าการจัดกิจกรรมนี้จะมีผู้เข้าร่วมงานตั้งแต่ 5 ขวบ ไปจนถึง 80 ปี ซึ่งไม่สามารถหาความหลากหลายทางอายุได้จากกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งแตกต่างจากกิจกรรมครั้งนี้ บางกิจกรรมจะตัดขาดออกจากกัน

แต่กิจกรรมนี้จะมีตั้งแต่รุ่นหลานไปจนถึงรุ่นใหญ่ที่เป็นคุณยาย ก็ถือว่าเป็นความร่วมมือร่วมใจกันเพื่อที่จะสืบทอดวัฒนธรรมแห่งรากเง้า รู้ถึงวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน การฟ้องพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์เป็นของของตัวเอง 

โดยการซ้อมฟ้อนครั้งนี้ ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน เมื่อถึงเดือนยี่เหนือหรือเดือน 12 ภาคกลางชาวล้านนาจะประกอบพิธีกรรมบูชาพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือคืนเดือนเพ็ญหรือเดือนเป็ง จึงเรียกประเพณีบูชาในเดือนยี่ว่ายี่เป็ง ยี่เป็งคือประเพณีสำคัญของชาวล้านนา จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่เหนือ ประกอบด้วยประเพณีชักครมและลอยโคมหรือลอยขโมยหรือลอยกระทง เดิมชื่อว่าเป็นการบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมในเกษียณสมุทร บ้างชื่อว่าบูชาพระอุปคุต พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ ซึ่งบำเพ็ญเพียรใต้สะดือทะเลลึก

ในวันขึ้น 13 ค่ำ หรือวันดา ชาวบ้านจะช่วยกันเตรียมสิ่งของสำหรับทำบุญ จัดทำประตูปลาไว้ตามบ้านหรือคุมวัด เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ จะร่วมกันทำบุญตักบาตรฟังเทศน์ นิยมทำกระทงขนาดใหญ่ใส่ของกินของใช้ไว้ที่วัดเพื่อเป็นฐาน ในบางพื้นที่ชาวบ้านจะทำสะเปาหรือกระทงรูปทรงคล้ายเรือ บรรจุเครื่องสักการะเมธูปเทียนพร้อมทั้งเครื่องอุปโภค ปล่อยลงในแม่น้ำ เพื่อสักการะพระแม่คงคา เรียกว่าลองสะเภา 

คืนวันขึ้น 15 ค่ำ ชาวบ้านจะร่วมกันจุดถ้วยประทีปไว้ตามสถูปเจดีย์และพุทธสถาน เรียกว่าจุดผางปะติ๊บ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย นอกจากนี้ยังจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เชื่อว่าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และปัดเป่าโชคร้ายทั้งหลายให้ลอยไปกับโคม ประเพณียี่เป็งสะท้อนความกตัญญูของชาวล้านนาที่มีต่อพระพุทธศาสนา บรรพบุรุษ เทพยดาอารักษ์ ความเคารพในธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ แบบฉบับดีงามของสังคมไทยที่สืบมาจนถึงทุกวันนี้ 

สำหรับประเพณีลอยกระทงหรือยี่เป็งเชียงใหม่ในปีนี้จะจัดขึ้นช่วงวันที่ 25 ถึง 28 พฤศจิกายนนี้ ปีนี้ก็จะมีช่างฟ้อนจากทั่วจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 727 คนหรือเท่าอายุเมืองเชียงใหม่ที่ไปร่วมฟ้อนบูชาเมืองเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธคุณ แล้วก็สืบสานประเพณีล้านนาต่อไป…

เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น