ปภ.แนะเรียนรู้ป้องกัน-รับมือคลื่นพายุซัดฝั่ง

ปภ.แนะเรียนรู้ป้องกัน-รับมือคลื่นพายุซัดฝั่ง ลดเสี่ยงอันตรายริมชายฝั่งทะเล

คลื่นพายุซัดฝั่งเป็นปรากฏการณ์ที่พายุหมุนเขตร้อนพัดคลื่นน้ำขนาดใหญ่เข้าสู่ชายฝั่งอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรรู้เกี่ยวกับคลื่นพายุซัดฝั่ง การเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตนอย่าปลอดภัยเมื่อเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ดังนี้ ฤดูกาลเกิดพายุซัดฝั่ง ช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคม โดยพายุหมุนเขตร้อนอาจก่อตัวในทะเลจีนใต้เคลื่อนตัวผ่านปลาย แหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย หรือก่อตัวบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พื้นที่เสี่ยงคลื่นพายุซัดฝั่ง

  • ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
    เตรียมพร้อมรับมือ – ลดผลกระทบ
  • จัดเตรียมสิ่งของและเครื่องใช้ที่จำเป็น อาทิ อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค ไฟฉาย และวิทยุ
  • ติดตามข้อมูลสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุม อาทิ พยากรณ์อากาศ ประกาศเตือนภัย
  • กรณีมีประกาศเตือนภัยภาวะฝนหนักและคลื่นลมแรง ให้ปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด
  • จัดเก็บเอกสารสำคัญไว้ในจุดที่นำติดตัวไปได้ทันที โดยเฉพาะทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน และสมุดทะเบียนเกษตรกร
  • ร่วมฝึกซ้อมและศึกษาเส้นทางหนีภัย จะได้อพยพไปยังที่ปลอดภัยได้ทันต่อสถานการณ์
    ปฏิบัติตนปลอดภัย – ลดเสี่ยงอันตราย
  • ไม่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยอพยพไปยังจุดที่ปลอดภัย ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากคลื่นพายุซดฝั่ง
  • ห้ามกลับเข้ามาพื้นที่ชายฝั่งทะเล จนกว่าจะมีการยกเลิกประกาศเตือนภัย
  • ไม่ประกอบกิจกรรมทางทะเลทุกประเภทโดยเฉพาะลงเล่นน้ำ เพราะทะเลมีคลื่นลมแรง ทำให้เสี่ยงได้รับอันตราย
  • กรณีเรืออยู่กลางทะเล ให้เดินเรือหลบคลื่นในบริเวณที่อับลมหรือปลอดภัย ใช้วิทยุสื่อสารขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ โดยแจ้งพิกัดและลักษณะเรือ รวมถึงจำนวนผู้โดยสาร
  • ห้ามนำเรือขนาดเล็กออกจากฝั่ง เนื่องจากทะเลมีคลื่นสูงและพายุลมแรง อาจทำให้เรือล่ม

ทั้งนี้ ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลควรหมั่นติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างสม่ำเสมอจะได้เตรียมพร้อมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่งได้อย่างปลอดภัย รวมถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะลควรติดตามข้อมูลสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้เตรียมพร้อมดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

ร่วมแสดงความคิดเห็น