(มีคลิป) บ้านช่อแฮ จัดป๋าเวณีไหว้ครู มีร่างทรงฯ ทุกสารทิศมาร่วมพิธี

ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของชาวล้านนาหลายท้องที่ ที่ได้สืบทอดกันมา เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมาที่บ้านช่อแฮ ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่ นายณัฐวุฒิ ยอดเวียงไชย เจ้าของตำหนักพระแม่อุมาเทวี (หมอดูดวง, พยากรณ์) ได้จัดงานป๋าเวณีไหว้ครูประจำปี 2565 (3 ปีหน) ชัยยะรัตนมงคลอันประเสริฐ จุลศักราชได้ 1383 ตั๋ว ปีล้วงเป้า (ล้านนา) พ.ศ.2565 มีการอัญเชิญองค์เทพเจ้าทุกองค์ เจ้านายฝ่ายเหนือ-ใต้ มาร่วมงาน

ซึ่งในพิธีมีบรมครูท้าวมหาพรหมชินะปันจะระ, พระมหาพรหมอุตตระ(ขุนฝาง), เจ้าฟ้าเมืองครอง, เจ้าแม่เหมี่ยวซา, เจ้าฟ้าเวียงแก้ว, เจ้าน้อยขุนโสยศ, แม่เจ้าผกากรอง, เจ้าพ่อเสือภูหลวง, เจ้าพ่อขุนลั้วะอ้ายก้อม, เจ้าปู่ดงฮักผาผึ้ง

ช่วงเช้ามีการทำพิธีพราหมณ์ มีเครื่องเซ่นไหว้ ต่างๆ ครบ ตามพิธีบวงสรวงทั่วไป ในเต็นท์มีชั้นวางมีดดาบ หมวกแบบโบราณ ข้าวตอกดอกไม้ หมากพลูไว้บนหิ้ง (ทางเหนือว่า ฮ้าน) มีม้าขี่ของแต่ละสำนักได้มาร่วมพิธีมากมายลายจังหวัดหลายอำเภอทั่วภาคเหนือ (ล้านนา) มาร่วมงาน ที่มาไกลสุดมาจาก แม่ฮ่องสอนและ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

มีวงปี่พาทย์คณะมาลัยบรรเทิงศิลป์จาก จ.ลำปาง มาบรรเลงให้สาวกม้าขี่แต่ละตำหนักได้รำ แต่ละองค์จะแต่งองค์ ทรงเครื่อง ไม่เหมือนกัน และคนที่จะมารำนั้น ไม่ใช่ว่าใครก็มารำได้ นอกจากสาวกที่ได้ทำพิธีเท่านั้น แต่ละองค์ต้องเตรียมมาเอง ก่อนที่จะลงมารำนั้น ทุกคนจะต้องมาจับผ้าสีแดงที่ผูกไว้ติดราวเต็นท์มีสวยดอก ธูปเทียนผูกไว้กับผ้าสีแดง ให้ผู้ที่รำมาจับผาสีแดง กำเอาไว้ให้แน่นแล้วยืนนิ่งซักวินาทีหนึ่งก็จะมีอาการต่างๆแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีอาการเหมือนผีเข้า แต่ก็ยังมีความรู้สึกตัวอยู่ ทางเหนือเรียกว่า “ผีตือ”

จากนั้นก็จะมารับขัน รับเครื่องแต่งองค์เข้ารำ (ไม่ใช่ร่ายรำและไม่ใช่รำวง) เป็นการรำธรรมดา มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

ช่วงพักเที่ยงมีการแสดงซอล่องน่าน มาเล่าขานถึงงาน เป็นวัฒนธรรมของพื้นบ้านเมืองเหนือล้านนา ที่ควรอนุรักษ์เอาไว้ หาดูได้ไม่บ่อยนัก

ได้ร่ายคำซอว่ามีเจ้าพ่อเมืองด้ง อ.วังชิ้น จ.แพร่ มาร่วมงานด้วย ได้เล่าให้ฟังว่าเป็นคนบ้านสลก ต.แม่เกิ๋ง อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีครอบครัวอยู่ที่ ต.แม่ต๋ำ อ.เมืองพะเยา มีอาชีพทำแถบ เครื่องหมายของราชการ บอกว่าได้เป็นม้าขี่ของขุนศึกเจ้าพ่อเมืองด้ง ไม่ใช่เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร ในอดีตเมื่อก่อนโน้นเคยได้รบจับศึกไปกับเจ้าหมื่นด้งนคร เป็นแม่ทัพใหญ่ช่วยกันรบเคียงบ่าเคียงไหล่มาตลอด จนสิ้นอายุขัย เมื่อ 10 กว่าปีมานี้ มีร่างประทับเข้าทรง จึงได้ปฎิบัติมา 10 กว่าปีแล้ว

มีตำหนักอยู่ที่แม่ต๋ำจึงใช้ชื่อว่าเจ้าพ่อเมืองด้ง เป็นการบอกเล่าของม้าขี่ เท็จจริงแค่ไหน ยังพิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งการมีสำนักหรือ ตำหนัก ต่างๆ นั้นมีมานานแล้ว เป็นความเชื่อ และเป็นที่พึ่งของคนที่มีปัญหาต่างๆที่คิดไม่ออก ต้องไปลงเจ้าเข้าทรงเพื่อถามความกระจ่าง แนวทางแก้ไข

มีชาวบ้านได้ไปปรึกษาที่หมู่บ้านเป็นประจำเป็นสิ่งลี้ลับ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ สิ่งที่มองไม่เห็น เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล

ร่วมแสดงความคิดเห็น