หมอกควันพิษรุนแรงเมืองลำพูนหายไปทั้งเมือง พบอันตรายทุกจุด

หมอกควันพิษรุนแรงเมืองลำพูนหายไปทั้งเมือง พบอันตรายทุกจุด ค่าพีเอ็ม 2.5 แดงเถือกทั้งเชียงใหม่ลำพูน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 มี.ค. 67 สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่และ ลำพูน หมอกควันพิษังคงปกคลุมเมืองอย่าหนาแน่นไม่สามารถมองเห็นบ้านเมืองในระยะไกลได้เลยมีแต่หมอกควันพิษปกคลุมเต็มไปหมด หากผู้ที่ออกนอกบ้านไม่สวมแมสก์ก็จะรู้สึกได้แสบจมูกและตาจะมีอาการคันทันที ทั้งนี้ยังคงพบว่ามีการเผากันอยู่ สำหรับหมอกควันพิษ ผู้สื่อข่าวได้ขึ้นไปที่วัดดอยติ อ.เมือง จ.ลำพูนพบว่า มีหมอกควันพิษปกคลุมขาวโพลนเต็มไปหมด เหมือนกับว่าเมืองหายไปเลย

ทางด้าน สำนักงาน ทสจ.ลำพูน ขอรายงานคุณภาพอากาศจังหวัดลำพูนประจำวันที่ 16 มีนาคม 2567 คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สถานีตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน ค่า PM 2.5 = 136.2 มคก./ลบ.ม. อยู่ในเกณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) สถานีตำบลลี้ อำเภอลี้ ค่า PM 2.5 = 144.8 มคก./ลบ.ม. อยู่ในเกณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) อัตราการระบายอากาศในพื้นที่จังหวัดเฉลี่ย = 2,588 ตร.ม./วินาที อยู่ในเกณฑ์อ่อน (สีเหลือง) การเผาในที่โล่งก่อน 11.00 น. และหลัง 16.00 น. มีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศมาก

ทางด้านนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในนามของกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้รายงานต่อ นายเศรษฐา ทวีสิน นยายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมาปฎิบัติราชการที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ว่า รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ในพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ ดังนี้ 1. สถานการณ์ไฟป่าในปัจจุบัน 1.1 สถานการณ์ไฟป่าในปี 2567 ประเทศไทยมีจุดความร้อนสะสม 72,191 จุด อยู่ในพื้นที่ป่า 41,970 จุด (ป่าอนุรักษ์ 23,141 จุด และป่าสงวนแห่งชาติ 18,829 จุด) และนอกพื้นที่ป่า 30,221 จุด โดยจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คิดเป็น 32.82 เปอร์เซ็นต์ของจุดความร้อนใน ปี 2566 1.2 สถานการณ์ปัจจุบัน วันที่ 16 มีนาคม 2567 เวลาพบจุดความร้อนในประเทศไทย 394 จุด ส่วนใหญ่พบใน 17 จังหวัดภาคเหนือ (215 จุด) มากที่สุดที่จังหวัดตาก (34 จุด) นครสวรรค์ (26 จุด) และ กำแพงเพชร (25 จดุ) โดยพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสถานการณ์ไฟป่ารุนแรงในปัจจุบัน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.กำแพงเพชร อุทยานแห่งชาติไทรโยค จ.กาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน และอุทยานแห่งชาติแม่ปิง โซน จ.ตากและ จ.ลำพูน 1.3 พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 11 พื้นที่ป่าอนุรักษ์มุ่งเป้า ประกอบด้วย ๑. อุทยานแห่งชาติ สาละวิน ๒. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน ๓. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย ๔. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ๕. อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ๖. อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ๗. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม ๘. อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรี นครินทร์ ๙. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ๑๐. เตรียมการอุทยานแห่งซาติถ้ำผาไท และ ๑๑. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าอมก๋อย โดยจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 11 แห่ง ในปัจจุบัน คิดเป็น 47.08 เปอร์เซ็นต์ ของจุดความร้อนใน ปี 2566

2. อัตรากำลังพลในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กำลังพลเพื่อดับไฟป่าโดยการให้ทุกหน่วยงานในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บูรณา การกำลังพลร่วมกันดับไฟป่า ดังนี้ – อุทยานแห่งชาติ 156 แห่ง – เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 60 แห่ง – เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 121 แห่ง วนอุทยาน 91 แห่ง – สวนรุกขชาติ 51 แหง่ – สวนพฤกษศาสตร์ 17 แห่ง – สถานีควบคุมไฟป่า 148 สถานี หมู่ดับไฟ 438 หมู่ พนักงานดับไฟป่า 5,256 คน – ชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า (เสือไฟ) 15 ชุด จำนวน 225 คน – อาสาสมัครพิทักษ์อุทยานฯ (อส.อส.) 1,690 หมู่บ้าน – เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/จุดสกัด จำนวน 3,933 คน – ประชาชนประจำจุดเฝ้าระวัง 1,000 จุด งบประมาณกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 3,000 คน – ประชาชนประจำจุดเฝ้าระวัง 1,582 จุด โครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่น ละออง PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 4,746 คน

การตรึงพื้นที่กำหนดจดุเฝ้าระวัง โดยได้ทำการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด และจดุเฝ้าระวังไฟป่า ทั้งประเทศ จำนวน 3,893 จุด แบ่งเป็น 3.1 จุดตรวจ/จุดสกัด (ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่) จำนวน 1,311 จุด 3.2 จุดเฝ้าระวังไฟป่า (ดำเนินการจัดจ้างราษฎรเฝ้าระวังพื้นที่) จำนวน 2,582 จุด – จำนวน 1,000 จุด (งบประมาณกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) – จำนวน 1,582 จุด (งบกลาง) โดยเป็นการหนุนเสริมจุดเฝ้าระวังเดิม เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ มากยิ่งขึ้น โดยจุดเฝ้าระวังทั้งหมดจะมีจุดตรวจ/จุดสกัด ประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น 272.6553 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดยการมีส่วน ร่วมของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเป็นส่วนของกรมป่าไม้ 109.94665 ล้านบาท และของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 162.7087 ล้านบาท สำหรับดำเนินการตั้งจุดเฝ้าระวังในพื้นที่ป่า อนุรักษ์ 17 จังหวัดภาคเหนือ และท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 – พฤษภาคม 2567 (โดยอยู่ใน 11 พื้นที่อนุรักษ์มุ่งเป้า จำนวน 360 จุด)
งบประมาณของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 162.7087 ล้านบาท ใช้ตั้ง จุดเฝ้าระวัง จำนวน 1,582 จุด ใน 1 จุดเฝ้าระวัง งบประมาณ จำนวน 102,850 บาท ประกอบด้วย 1. ค่าจ้าง สำหรับจ้างประชาชนเป็นรายบุคคล ประจำจุดเฝ้าระวังไฟป่า จำนวน 3 คน คนละ 9,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 2 เดือนครึ่ง จำนวน 67,500 บาท

  1. ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องเป่าลม จำนวน
    7,500 บาท
  2. อุปกรณ์ดับไฟป่า ได้แก่ ถังฉีดน้ำดับไฟป่า ไม้ตบไฟ และไฟฉายคาดหัว และอุปกรณ์สนาม จำนวน 4,100 บาท
  3. วัสดุสำนักงาน กระดาษ หมึกพิมพ์ สำหรับลงทะเบียนการเข้า-ออก ของประชาชนที่ไปใช้ ประโยชน์ในพื้นที่ป่า/ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า จำนวน 810 บาท
  4. การจัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบและการแก้ไขปัญหาไฟป่าให้แก่ ประชาชนในพื้นที่ 1 ครั้ง จำนวน 7,500 บาท
  5. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 3 ครั้ง จำนวน 5,580 บาท
  6. การประสานงานและติดตามผลการดำเนินการของจุดเฝ้าระวังป้องกันไฟป่า จำนวน 4,060 บาท
  7. เครื่องเป่าลมดับไฟป่า จำนวน 5,800 บาท

ร่วมแสดงความคิดเห็น