ชาววังหงส์ สืบสานประเพณีสงกรานต์ และดำหัวหงส์ ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 เวลา 17.00 น ณ อนุสรณ์สถานตำนานหงส์ หมู่ที่ 7 ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธาน เปิดงานประเพณีสงกรานต์และดำหัวหงส์โดยมี นายเอกชัย หงส์อ้าย นายกเทศมนตรีตำบลวังหงส์ กล่าวรายงานว่า งานประเพณีสงกรานต์และประเพณีดำหัวหงส์ เป็นอัตลักษณ์ของชาวตำบลวังหงส์ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีของท้องถิ่น ตลอดจนการมีส่วนร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์จังหวัดแพร่ “ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์หม้อห้อมแพร่” โดยเทศบาลตำบลวังหงส์ได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยการประสานงานของ ส.ส.ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ซึ่งตำบลวังหงส์ หรือ “บ้านวังหงส์” มีอายุนับถึงปัจจุบันกว่า 200 ปี

บรรพบุรุษของชาววังหงส์เป็นผู้อพยพมาจาก บ้านเชตวันและบ้านประตูมาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ อพยพมาดั้งถิ่นฐานบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยม โดยที่มาของชื่อ,มาจากทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดจากการเปลี่ยนเส้นทางน้ำ ของแม่น้ำยม มีน้ำใสสะอาดและระดับน้ำลึกมาก ชาวบ้าน จึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า “วังน้ำลึก” ต่อมาได้มีหงส์สีขาวบริสุทธิ์รูปร่างสวยงามมาคู่หนึ่ง บินลงมาเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน แล้วบินกลับไป, เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ชาวบ้านไม่เคยพบเห็นมาก่อน จึงตั้งชื่อหนองน้ำ” “หนองหงส์” และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า , “บ้านหนองหงส์”

ประเพณี (ป่าเวณี) ดำหัวหงส์ ของตำบลวังหงส์ เป็นประเพณีมีความสำคัญและมีความหมายต่อชาวตำบลวังหงส์ เพราะมีความเชื่อว่าพญาหงส์จะช่วยปกป้องบ้านนวังหงส์ ให้คลาดแคล้วจากภยันตรายต่าง ๆ ทั้งยังเป็นการสักการะบูชาและร้องต่อหงส์ ซึ่งก่อกำเนิดเป็นชื่อหมู่บ้าน และนามสกุลของชาวตำบลวังหงส์ จนได้ซื่อว่าเป็น “หมู่บ้านตระกูลหงส์”การประกอบพิธีกรรม “ดำหัวหงส์” ได้กำหนดให้วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี เป็นวันประกอบพิธีในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง หรือช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบพิธีหลังจากที่ดำหัวพ่อแม่และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในวันพญาวัน (15 เมษายน) เรียบร้อยแล้ว แต่ละครอบครัวจะเครียมเครื่องสักการะและนำไปถวายที่รูปปั้นหงส์สองตัวซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง “หนองหงส์” ณ อนุสรณ์สถานตำนานหงส์ เมื่อทำพิธีถวายเครื่องสักการะพญาหงส์เสร็จแล้ว ก็จะนำน้ำส้มปอยไปรดที่รูปปั้นหงส์ พร้อมทั้งอธิษฐาน,แล้วใช้มือรองน้ำส้มปอยที่ไหลลงจากตัวหงส์ไปลูบศีรษะของตนเอง ประเพณีดำหัวหงส์ (ป๋าเวณีดำหัวหงส์ ชาวตำบลวังหงส์ได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมา

ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ อาจถือได้ว่าเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ผูกเรื่องราวความรักของหงส์สองตัวที่มีความรักมั่นคง เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความรัก ความผูกพัน สามัคคีปรองดอง โดยนำคุณค่าของประเพณีรดน้ำดำหัว พ่อแม่ ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเนื่องในเทศกาลปี๋ใหม่เมืองที่มีสาระสำคัญ คือ การให้อภัยทุกเรื่องที่มีความขุ่นเคืองต่อกัน และการอวยพรให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาในทางที่ถูกต้อง ตามหลักพระพุทธศาสนา นำมาสร้างคุณค่าให้กับสังคม สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน

ร่วมแสดงความคิดเห็น