ฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามแผนเผชิญเหตุไฟป่าฯ

ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอนหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามแผนเผชิญเหตุไฟป่าและเสริมสร้างศักยภาพการ รูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ (Function Exercise : FEX)และรูปแบบการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise: TTX)

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วย นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปภ.จังหวัด และส่วนราชการปกครอง ท้อถิ่น ตามแผนเผชิญเหตุไฟป่า และเสริมสร้างศักยภาพ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื่องจากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี จังหวัแม่ฮ่องสอนจะเกิดไฟป่าในพื้นที่เป็นจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาหมอกควันส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของราษฎรและนักท่องเที่ยว และยังส่งผลกระทบต่อการคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวโดยรวมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นไฟป่ายังส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก ไฟป่ายังก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างของป่าและระบบนิเวศ ทั้งทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า พืชพันธุ์หายากถูกทำลาย เสียสมดุลทางธรรมชาติและทำให้หน้าดินเสื่อมโทรม เนื่องจากสูญเสียธาตุอาหารดังนั้นจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งการเฝ้าระวังการป้องกัน การเผชิญเหตุและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อลดผลกระทบจากเหตุสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น

การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามแผนเผชิญเหตุไฟป่าเป็นการฝึกในรูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ (Function Exercise : FEX)และรูปแบบการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise: TTX) การฝึกในสถานการณ์สมมติ แบ่งออก เป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมความพร้อมระยะเมื่อเกิดภัย ระยะเมื่อภัยยุติและการฟื้นฟู บูรณะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณภัย พร้อมทั้ง หน่วยงานในกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 250 คน

นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า เครื่องมือในการบริหารจัดการ สาธารณภัยที่เหมาะสม ต่อการจัดการในภาวะวิกฤตหรือภาวะฉุกเฉิน คือระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) และการนำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินของแต่ละภาคส่วนที่ได้จัดทำไว้มาปฏิบัติโดยกระบวนการในการฝึกแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะต้องมี การประสานการปฏิบัติ การประสานแผนของหน่วยงาน จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในแผนของหน่วยอย่างชัดเจนเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ มิติด้านตัวบุคคล เกิดการเรียนรู้และการฝึกแต่ละบุคคล Individual Training ฝึกฝนบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบ มิติด้านระบบเกิดการพัฒนาเชิงระบบ System Improvement เกิดการพัฒนากระบวนการในการประสานงาน กลไก หน่วยงานในการจัดการภัยพิบัติ

สำหรับสถานการณ์ไฟป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-16 เม.ย.67 มีจุดความร้อนสะสม จำนวน 12,580 จุด คิดเป็นร้อยละ 109.1 ของจุดความร้อนสะสมปี 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ 218.36 ของค่าเป้าหมายปี 2567 ซึ่งจังหวัดตั้งเปาหมายปี 2567 ไม่เกิน 5,761 จุด ค่า PM 2.5 เช้าวันนี้ อยู่ที่ 56.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น