73542

“ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” ค่ำ 24 มีนาคม 2566

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา และหอดูดาวเฉลิมพระ เกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ช่วงหัวค่ำ 24 มีนาคม 2566  ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ ช่วงหัวค่ำวันที่ 24 มีนาคม 2566 เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 18:37 – 19:45 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร หากสังเกตการณ์ในพื้นที่อื่นช่วงเวลาของการบัง จะเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน) สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันตก ช่วงเริ่มต้นปรากฏการณ์ ดวงจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น 3 ค่ำค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปบังดาวศุกร์ จนดาวศุกร์หายลับไป กินเวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง 8 […]

ชวนจับตา “ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” หัวค่ำ 24 มีนาคมนี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 24 มีนาคม 2566 “ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” ช่วงเวลาประมาณ 18:37 – 19:45 น.(ตามเวลากรุงเทพมหานคร) หากมองจากโลก บนท้องฟ้าทางทิศตะวันตก ในเวลาประมาณ 18:37 น. ดวงจันทร์จะค่อยๆ เคลื่อนที่ไปบังดาวศุกร์ และจะเคลื่อนที่ออกจากดาวศุกร์เวลาประมาณ 19:45 น. โดยประมาณ นับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในไทย เตรียมตั้งกล้องชวนส่องปรากฏการณ์ ณ 4 จุดสังเกตการณ์หลักเชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตั้งแต่เวลา 18:00 เป็นต้นไป นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ช่วงหัวค่ำวันที่ 24 มีนาคม 2566 จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ เริ่มสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก […]

21 มีนาคม 2566 นี้ “วันวสันตวิษุวัต” เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย วันที่ 21 มีนาคม 2566 นี้ “วันวสันตวิษุวัติ” ช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิและประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า วันที่ 21 มีนาคม 2566 เป็นวัน “วสันตวิษุวัต” (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) ช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน คำว่า “วิษุวัต” (Equinox) เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึง “จุดราตรีเสมอภาค” จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ส่งผลให้เป็นวันที่มีเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน วันดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 […]

“ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี” อวดโฉมรับเดือนมีนาคม 2566

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี” ช่วงหัวค่ำวันที่ 1 ถึง 3 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ใกล้กันที่สุดวันที่ 2 มีนาคม 2566 ห่างเพียง 0.6 องศา ปรากฏคู่กันสว่างเด่นบนฟ้าทางทิศตะวันตก มองเห็นด้วยตาเปล่าชัดเจน  ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดีในลักษณะนี้ เรียกว่าปรากฏการณ์ “ดาวเคราะห์ชุมนุม” เกิดจากดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุมไม่เกิน 5 องศา (การวัดระยะเชิงมุมบนท้องฟ้า ชูนิ้วก้อยเหยียดแขนให้สุดขึ้นบนท้องฟ้า ระยะ 1 องศา จะห่างกันประมาณ 1 นิ้วก้อย) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อย ๆ ตามแนวสุริยะวิถี ดังนั้น การที่ดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกันหรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ 

ภาพเปรียบเทียบขนาดปรากฏ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Ful Moonl) เช้ามืดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 01.30 น. ระยะห่างจากโลก 405,818 กิโลเมตร ช่วงเวลาดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย เมื่อนำภาพมาเปรียบเทียบกับขนาดปรากฏดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Super Full Moon) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 จะเห็นความแตกต่างของขนาดปรากฏได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลโลกที่สุด หรือใกล้โลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์เต็มดวง แต่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาเป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ในระยะทางที่ไกลโลกมากที่สุดและเป็นดวงจันทร์เต็มดวงพอดี หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดเล็กกว่าประมาณ 7% และความสว่างลดลงประมาณ 15% สำหรับปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” (Super Full Moon) ในปีนี้ จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 30 ถึง เช้าวันที่ […]

“ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” 6 กุมภาพันธ์ 2566

คืน 5 ถึง รุ่งเช้า 6 กุมภาพันธ์ 2566 “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่าคืน 5 ถึงรุ่งเช้า 6 กุมภาพันธ์ 2566 ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ “ไมโครฟูลมูน” ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กว่าปกติเล็กน้อย นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ กล่าวว่า วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 01:30 น. จะเกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” หรือ “ไมโครฟูลมูน” (Micro Full Moon) มีระยะห่างจากโลก 405,818 กิโลเมตร เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ คือช่วงเย็นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:02 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ […]

คืนวันที่ 1-2 ก.พ.66 รอชมดาวหาง C/2022 E3(ZTF) ใกล้โลกมากที่สุด!

#SPACE คืนนี้! 1 – 2 กุมภาฯ ชวนชม ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) ที่ไม่เคยเห็นในรอบ 50,000 ปี เข้าใกล้โลกมากที่สุด มองเห็นด้วยตาเปล่าบริเวณกลุ่มดาวยีราฟ ทางทิศเหนือ จะสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนกระทั่งรุ่งสางก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นของวันถัดไป คาดว่าจะมีความสว่างเพิ่มมากขึ้นอีกเล็กน้อย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเปิดเผยว่า ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) เป็นดาวหางที่นักดาราศาสตร์เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ โดยเครือข่ายกล้องตรวจท้องฟ้ามุมกว้าง Zwicky Transient Facility ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 ในช่วงแรกนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย ซึ่งขณะนั้นโคจรอยู่ภายในวงโคจรดาวพฤหัสบดี ก่อนจะสว่างขึ้นจนนักดาราศาสตร์ทราบว่าเป็นดาวหาง โดยดาวหาง เป็นวัตถุหนึ่งในระบบสุริยะ ประกอบด้วย น้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารประกอบระเหิดง่าย รวมถึงฝุ่นและหินปะปนกันอยู่ มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณนอกระบบสุริยะ และใช้เวลาหลายปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อโคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน จะปรากฏเป็นวัตถุสว่างที่มีหางพาดผ่านท้องฟ้าในยามค่ำคืน แต่ละหางคือสสารต่าง ๆ ที่ดาวหางปล่อยออกมาแล้วสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ . ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเครื่องยนต์ขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ขององค์การนาซา […]

(มีคลิป) เหนือหนาวสะท้าน ดอยอินทนนท์เหลือ 3 องศาฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 07.30 น. วันที่ 13 ม.ค. 66 บรรยากาศโดยทั่วไปของภาคเหนือ ยังคงหนาวเย็นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอำเภอรอบนอกนั้น หนาวเย็นลงและอากาศค่อนข้างแห้ง บางช่วงยังคงมีลมพัดโชยมากับความหนาวเย็นด้วย ยิ่งพาให้หนาวจนใจสั่นเข้าไปอีก โดยเฉพาะคืนที่ผ่านมาจนถึงเช้าวันนี้ อำเภอรอบนอกต้องพากันผิงไฟเพื่อผ่อนคลายความหนาวเย็น ช่วงที่รอพระอาทิตย์ขึ้นเพราะอากาศเย็นจัด คาดว่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 7 – 9 องศาฯ และจะค่อยอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ขณะที่ผู้ที่อาศัยอยู่บนดอยสูงก็จะหนาวจัดยิ่งกว่าพื้นราบ และเย็นตลอดทั้งวัน แม้ว่าพระอาทิตย์จะขึ้นแล้วก็ตาม ขณะที่ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ จุดสูงสุดของภาคเหนือ วันนี้ยังคงมีนักท่องเที่ยวจำนวนหลายพันคน เดินทางขึ้นดอยเพื่อสัมผัสอากาศหนาว และชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ต่างก็ไม่ผิดหวัง วันนี้อุณหภูมิหนาวสมใจ วัดได้ต่ำสุดเหลือ 3 องศาฯ ที่กิ่วแม่ปาน ส่วนยอดดอย 6 องศาฯ และที่ทำการอุทยาน 7 องศาฯ นับว่าหนาวสมใจ และสำคัญยิ่งไปกว่านั้น นักท่องเที่ยวโชคดีสามารถได้เห็นแม่คะนิ้ง หรือเหมยขาบโผล่ทั้งยอดดอยและกิ่วแม่ปาน ได้งดงามมาก เกล็ดน้ำแข็งเกาะตามยอดหญ้าใบไม้ กิ่งไม้ ทางเดินเต็มไปหมด […]

15 ส.ค. นี้ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี”

ปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 1,325 ล้านกิโลเมตร เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์สว่างจะปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้ฝนชมได้ทุกภูมิภาคทั่วไทย นอกจากนี้ หากดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจนโดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง อ่านข่าวเพิ่มเติม : คืน 15 สิงหาคมนี้ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี”

1 2