67437

“รายการสุขภาพดีกับหมอสวนดอก” ตอน ธาลัสซีเมีย โรคเลือดจางที่ไม่ควรมองข้าม

📍ขอเชิญติดตามรับชม “รายการสุขภาพดีกับหมอสวนดอก”ตอน .. ธาลัสซีเมีย 🩸 โรคเลือดจางที่ไม่ควรมองข้าม 🩺 โดย รศ.พญ.พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญรองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์และหัวหน้าศูนย์ธาลัสซีเมีย และโลหิตวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มช. ติดตามรับชมได้ที่ ..Facebook สุขภาพดีกับหมอสวนดอก: https://www.facebook.com/share/v/6yoQRvEgQXBQTTEu/?mibextid=w8EBqMYoutube Suandok Channel: https://cmu.to/z0oAf #ธาลัสซีเมีย #โรคเลือดจาง #ไม่ควรมองข้าม #สุขภาพดีกับหมอสวนดอก #คุยกับหมอสวนดอก #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การปฐมพยาบาลเมื่อเป็น “ฮีทสโตรก”

☀️โรคฮีทสโตรกมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งที่ร้อนเป็นเวลานาน จะสูญเสียเกลือแร่ ร่างกายอ่อนเพลีย อาเจียน ซึมลง ชักเกร็ง วัดอุณหภูมิร่างกายจะมีไข้ขึ้นสูง ร่างกายไม่สามารถระบายเหงื่อ ส่งผลให้ระบบร่างกายส่วนอื่นๆ ผิดปกติ และทำให้เสียชีวิตได้ 🔹การปฐมพยาบาล ข้อมูลโดย อ.นพ.อุดมศักดิ์ ตั้งชัยสุริยา อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดตามผ่านทาง Facebook : https://cmu.to/mczj5 #65ปี #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #MedCMU #MedCMUในมือคุณ #สื่อสารองค์กรMedCMU

MED CMU ฟัง for health EP. 152 โรคลมแดดหรือ Heatstroke อากาศร้อนต้องระวัง!

MED CMU ฟัง for health EP. 152 โรคลมแดดหรือ Heatstroke อากาศร้อนต้องระวัง! วิทยากรโดย ผศ.นพ.กิตติ เทียนขาว อาจารย์ประจำหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับฟังผ่านช่องทางYoutube : https://cmu.to/dgaLeSpotify : https://cmu.to/7xXaoApple Podcasts : https://cmu.to/yA9CWFacebook : https://cmu.to/mQwM2 #โรคลมแดด #Heatstroke #MedCMU #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สื่อสารองค์กรMedCMU

ดูแล ป้องกัน รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง

จากข้อมูลในปี 2566 ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ 12 ล้านคน หรือใน 3 วินาที จะพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 1 คน ขณะที่ประเทศไทย โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์ พบผู้ป่วยจำนวน 3 แสนราย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 70 ปี และเสียชีวิตมากถึง 3 หมื่นคน ในประเทศไทยยังพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ โดยในช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นช่วงที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมาด้วยอาการที่ค่อนข้างรุนแรง จากหลักฐานการศึกษาปัจจุบันพบว่า อาจเกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยน ทำให้กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด ประกอบกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 จึงกระตุ้นให้อาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน, โรคหลอดเลือดสมองแตก และกลุ่มภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดเลือดชั่วคราวแล้วหายไป ทั้ง 3 กลุ่มล้วนส่งผลให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองลดลง ส่งผลให้เกิดอาการหลายอย่าง ทั้งนี้อาการแสดงขึ้นอยู่กับว่า เกิดอาการขาดเลือดของเนื้อเยื่อสมองส่วนไหน จึงทำให้อาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละราย ที่แสดงออกมาไม่เหมือนกัน 🔹อาการและสัญญาณเตือนอาการและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง จำง่าย ๆ เป็นภาษาอังกฤษคือคำว่า “BEFAST” ประกอบด้วยB (Balancing) คือการทรงตัวที่ผิดปกติE […]

รู้จักโรคลิ้นหัวใจรั่ว หนึ่งในสาเหตุเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก

โรคลิ้นหัวใจรั่วเป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้เลือดไหลย้อนกลับสู่ห้องหัวใจ ส่งผลต่อการสูบฉีดเลือดของหัวใจ เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ภาวะนี้หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่  ลิ้นหัวใจคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร ลิ้นหัวใจเป็นแผ่นกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดทางเดินของกระแสเลือดระหว่างห้องหัวใจและเส้นเลือดแดง ลิ้นหัวใจทำงานสลับกันเพื่อควบคุมการไหลเวียนของเลือด โดยมีทั้งหมด 4 ลิ้น ได้แก่ ลิ้นไมตรอล ลิ้นไตรคุสปิด ลิ้นพัลมอนิก และลิ้นแปร์พวลมอนิก เมื่อลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ เลือดจะไหลย้อนกลับทำให้เกิดภาวะแรงดันเพิ่มขึ้นในหัวใจและเส้นเลือด ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจรั่ว สาเหตุหลักของโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้แก่ โรคไข้รูมาติก การติดเชื้อแบคทีเรียที่หัวใจ และความผิดปกติแต่กำเนิดของลิ้นหัวใจ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การมีประวัติครอบครัวเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหืดหอบ ยากดภูมิต้านทาน และยาแก้ปวดกลุ่มปาราเซตามอล อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว   อาการทั่วไปของโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้แก่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก บวมตามขา อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วย เช่น ใจสั่น หน้ามืด เวียนหัว หมดสติ อาการเหล่านี้อาจคล้ายกับอาการของโรคอื่นๆ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัย […]

แนะนำ 7 ข้อควรปฏิบัติ ในการจอด และขึ้น-ลงรถ ภายในห้างสรรพสินค้า

สำนักงานตำรวจแห่งชาติแนะนำ 7 ข้อควรปฏิบัติ ในการจอด และขึ้น-ลงรถ ภายในที่จอดรถห้างสรรพสินค้า วันนี้ (9 พฤษภาคม 2567) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.รรท.ผบ.ตร.) ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ และจากกรณีเหตุคนร้ายใช้อาวุธมีดพยายามชิงทรัพย์หญิงรายหนึ่งบริเวณที่จอดรถห้างสรรพสินค้า เป็นเหตุให้ผู้เสียหายบาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยายาล ซึ่งต่อมาในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ขณะกำลังหลบซ่อนตัวภายในที่จอดรถของห้างสรรพสินค้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงขอแนะข้อควรปฏิบัติ เพื่อป้องกันและลดโอกาสที่พี่น้องประชาชนจะถูกคนร้ายก่อเหตุในลักษณะดังกล่าว ดังนี้ ทั้งนี้ หากท่านต้องการความช่วยเหลือ หรือพบเห็นการก่ออาชญากรรม สามารถแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 191 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปภ.แนะวิธีป้องกันฟ้าผ่า อันตรายที่มากับพายุฝนฟ้าคะนอง

ช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน จะมีสถิติการเกิดฟ้าผ่าสูง เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และฟ้าผ่า เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ดังนี้ กรณีอยู่กลางแจ้ง กรณีอยู่ในอาคาร กรณีขับรถ ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าและเพิ่มความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

8 พฤษภาคม วันธาลัสซีเมียโลก (World Thalassemia Day)

วันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันธาลัสซีเมียโลก (World Thalassemia Day)” เพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของโรคธาลัสซีเมียและผลกระทบของโรค และแสดงถึงความร่วมมือของชุมชนผู้ป่วยธาลัสซีเมียทั่วโลก สำหรับปี พ.ศ.2567 นี้ องค์กรธาลัสซีเมียนานาชาติ (Thalassaemia International Federation) ได้กำหนดหัวข้อของงานเป็น “Empowering Lives, Embracing Progress: Equitable and Accessible Thalassaemia Treatment for All.” เสริมคุณภาพชีวิต พัฒนาการเข้าถึงการรักษาแก่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียทุกรายอย่างเท่าเทียม ❓โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติคืออะไรโรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์บนยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนโกลบินที่เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้สร้างโปรตีนโกลบินทำได้ลดลงหรือไม่ได้เลย เกิดความไม่สมดุลของสายโกลบิน ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงไม่มีประสิทธิภาพ เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ภาวะฮีโมโกลบินผิดปกติเกิดจากการกลายพันธุ์บนยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนโกลบินเช่นเดียวกัน แต่ทำให้สายโกลบินที่สร้างได้มีโครงสร้างที่ผิดปกติไป และส่งผลต่อหน้าที่ของโกลบิน เช่น ทำให้เกิดฮีโมโกลบินที่สลายตัวง่ายทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้ความสามารถในการจับออกซิเจนเปลี่ยนแปลง หรือทำให้โครงสร้างโกลบินผิดปกติร่วมกับมีปริมาณลดลง 🔹เหตุใดโรคธาลัสซีเมียจึงสำคัญสำหรับประชากรไทยโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติเป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้พบในประชากรแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ด้วย ประชากรไทยมียีนแฝงธาลัสซีเมียหรือที่เรียกว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียประมาณหนึ่งในสามของประชากร และมีผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 1 […]

รายการสุขภาพดี กับหมอสวนดอก ตอน ปวดท้องแบบไหน เป็นไส้ติ่งอักเสบ

ปวดท้องแบบไหน.. เป็นไส้ติ่งอักเสบ 🤢 📍ขอเชิญติดตามรับชม “รายการสุขภาพดีกับหมอสวนดอก”วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. โดย อ.นพ.เอกรินทร์ ศุภตระกูล อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ ลำไส้ใหญ่และทวารหนักภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. ติดตามรับชมได้ที่ ..Facebook สุขภาพดีกับหมอสวนดอก: https://cmu.to/39tjiYoutube Suandok Channel: https://cmu.to/y1TCV #ปวดท้อง #ไส้ติ่งอักเสบ #สุขภาพดีกับหมอสวนดอก #คุยกับหมอสวนดอก #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“8 พฤษภาคม”1886 เปิดที่มา โคคา-โคล่า ขายครั้งแรก ไม่ใช่น้ำอัดลม

ย้อนกลับไปวันนี้ในอดีต คือ ที่ 8 พฤษภาคม 1886 คือวันที่ โคคา-โคล่า เครื่องดื่มโคล่าชื่อดัง ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก เรื่องราวเริ่มมาจาก สงครามกลางเมืองอเมริกา ภายหลังสงครามจบ ทหารผ่านศึกมากมายกลายเป็นคนที่ติดมอร์ฟีน (ซึ่งเป็นยาแก้ปวดอันสกัดมาจากฝิ่น โดยมันถูกคิดค้นขึ้นโดยเภสัชกรในรัฐจอร์เจียชื่อ “จอห์น เพมเบอร์ตัน” ซึ่งทำมันขึ้นเพื่อบรรเทาอาการติดมอร์ฟีนของตัวเอง ก่อนจะพบว่ารสชาติมันถูกปาก ก็เลยเอาไปวางขายมันในฐานะยาแก้ปวดหัวและแก้อาการหมดแรงอ่อนล้า ซึ่งแม้ในปีแรกๆ การขายจะเข้าขั้นขาดทุน แต่ต่อมาชื่อเสียงของเครื่องดื่มตัวนี้ โด่งดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นของขึ้นชื่อของเมืองในที่สุด และค่อยๆ แพร่กระจายไปทั่วโลกในที่สุด น่าเสียดายที่แม้ โคคา-โคล่าจะโด่งดังมากก็ตาม มันก็ไม่ได้ช่วยให้จอห์นเลิกมอร์ฟีนได้อย่างที่เขาหวัง และ จอห์น เพมเบอร์ตัน เองก็จากโลกนี้ไป โดยแทบไม่ทันได้เห็นความโด่งดังของ โคคา-โคล่า ด้วยซ้ำ แต่แม้ผู้คิดค้นจะจากโลกนี้ไปแล้วก็ตาม โคคา-โคล่า ก็ยังคงอยู่ไปอีกแสนนาน ในฐานะของหนึ่งในเครื่องดื่มที่โด่งดัง และขายดีที่สุดอันดับต้นๆ ของโลกไปนั่นเอง และ.ถ้าจะเจาะลึกถึงเครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก โค้กรุ่นแรกสุดนั้นไม่ใช่น้ำอัดลมนะครับ แต่มันเป็นยาและมันมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์อยู่ในนั้น เท่านี้ยังไม่พอ มันยังมีโคเคนผสมอยู่ด้วย และก็นำมันออกขายสู่สาธารณะครั้งแรกในปี 1880 (ตามขวดในรูป) ในฐานะที่มันเป็นยา ซึ่งวิธีกินก็ต้องเอาไปผสมกับโซดา ซึ่งในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่กินแล้วสุขภาพดีเช่นกัน […]

งานเก็บเกี่ยว ‘เห็ด’ ในอินโดนีเซีย

ยอกยาการ์ตา, 5 พ.ค. (ซินหัว) — เกษตรกรอินโดนีเซียลุยเก็บเกี่ยว คัดแยก และบรรจุเห็ดสดใหม่หลากชนิดลงถุงที่ฐานเพาะปลูกเห็ดในเขตสเลมาน เมืองยอกยาการ์ตาของอินโดนีเซีย(บันทึกภาพวันที่ 4 พ.ค. 2024)

MED CMU ฟัง for health EP. 151 “ศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดฯ”

MED CMU ฟัง for health EP. 151 “ศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดครบวงจรแห่งเดียวในภูมิภาคด้วยสเต็มเซลล์ จากผู้อื่นที่ไม่ใช่พี่น้องในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ” วิทยากรโดย ผศ.นพ.ปกป้อง พิริยคุณธร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับฟังผ่านช่องทางYoutube : https://cmu.to/MyDGUSpotify : https://cmu.to/Y4BgoApple Podcasts : https://cmu.to/viCLvFacebook : https://cmu.to/MDEz4 #ศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด #MedCMU #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สื่อสารองค์กรMedCMU

แคลเซียม กินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์?

🔸แคลเซียม กินอย่างไร…ให้ได้ประโยชน์ ทำไมต้องทานแคลเซียม❓ เนื่องจากร่างกายเราไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้ แต่เราจะได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารที่เราทานเข้าไป โดยจะมีประโยชน์ต่อหัวใจ กระดูก ระบบกล้ามเนื้อ และระบบเส้นประสาท หากได้รับแคลเซียมได้ไม่เพียงพอจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นปัญหาของการขาดแคลเซียม ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายไม่สูง เมื่อโตขึ้นเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน สำหรับผู้ใหญ่ในวัยทำงานที่กลัวเป็นโรคกระดูกพรุน จึงควรที่จะต้องรับประทานแคลเซียมเสริม เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีแคลเซียมในร่างกายเพื่อเสริมกระดูกให้แข็งแรงยิ่งขึ้น •ปริมาณมวลกระดูกสะสมในแต่ละช่วงอายุช่วงปริมาณกระดูกที่แข็งแรงที่สุดคือช่วงประมาณอายุ 20 ตอนปลาย หรือช่วงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นมวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลง แต่จะขึ้นอยู่กับเพศ หากเป็นเพศหญิงจะมีอายุระหว่าง 40-50 ปี ซึ่งจะเป็นวัยเข้าสู่การหมดประจำเดือน เมื่อไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ระดับความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นจากโครงสร้างตาข่ายของกระดูก ที่เป็นลักษณะของท่อนกระดูกที่แข็งแรง หากไม่ได้รับการเสริมแคลเซียมจะเกิดภาวะกระดูกพรุน ทำให้แตกหักได้ง่าย ดังนั้นเพศหญิงจะมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า •ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน 👦🏻ผู้ชายช่วงอายุ 19-50 ปี 1,000 มิลลิกรัมช่วงอายุ 51-70 ปี 1,000 มิลลิกรัมอายุมากกว่า 71 ปี 1,200 มิลลิกรัม 👩🏻ผู้หญิงช่วงอายุ 19-50 […]

เปิดแอร์ 27 องศา คู่กับพัดลม ประหยัดไฟจริงไหม?

หลายคนสงสัยว่า การเปิดแอร์ 27 องศา คู่กับพัดลม จะประหยัดไฟจริงหรือไม่? รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำไมวิธีนี้ถึงช่วยประหยัดไฟได้จริง หลักการคือ แอร์ที่ตั้งอุณหภูมิสูง เช่น 27 องศาเซลเซียส จะกินไฟน้อยกว่าการตั้งที่ 23-24 องศา เพราะคอมเพรซเซอร์จะทำงานน้อยลง แม้แอร์จะทำความเย็นห้องที่ 27 องศา แต่การเปิดพัดลมเป่าตัว จะช่วยให้เรารู้สึกเย็นสบายขึ้น เพราะกระแสลมช่วยพาความร้อนจากร่างกายออกไป พัดลมตั้งพื้น กินไฟน้อยกว่าแอร์มาก ใช้ไฟเพียงไม่กี่วัตต์ แม้จะเปิดเบอร์แรง หรือเปิดหลายตัวพร้อมกันก็ตาม สรุปคือ การปรับอุณหภูมิแอร์เป็น 27 องศา คู่กับเปิดพัดลมตั้งพื้น ช่วยประหยัดไฟได้จริง นอกจากนี้ ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองแอร์ ล้างแอร์เป็นประจำ เพื่อช่วยให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดไฟยิ่งขึ้น ที่มา:

“รายการสุขภาพดีกับหมอสวนดอก” ตอน อากาศร้อนระวัง! วูบ

📍ขอเชิญติดตามรับชม “รายการสุขภาพดีกับหมอสวนดอก”ตอน .. อากาศร้อน🥵 ระวัง! วูบ 😵 โดย อ.พญ.อังคณา นัดสาสารอาจารย์ประจำศูนย์โรคสมองภาคเหนือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดตามรับชมได้ที่ ..Facebook สุขภาพดีกับหมอสวนดอก: https://www.facebook.com/share/v/CnvoUC1ntaXLJQm9/?mibextid=w8EBqMYoutube Suandok Channel: https://cmu.to/XS8oa #อากาศร้อน #ระวัง #วูบ #สุขภาพดีกับหมอสวนดอก #คุยกับหมอสวนดอก #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปภ.แนะหลักปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ – อพยพหนีไฟปลอดภัย

ฤดูร้อนเป็นช่วงที่เกิดเพลิงไหม้บ่อยครั้ง การเรียนรู้หลักปฏิบัติในการอพยพหนีไฟอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการสำลักควันไฟและความร้อนจากเปลวไฟที่เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากเพลิงไหม้ได้ เพื่อความปลอดภัย กรมป้องและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ขอแนะข้อควรรู้และวิธีปฏิบัติในการอพยพหนีไฟ ดังนี้การปฏิบัติตนกรณีเกิดเพลิงไหม้ ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก ประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้น ทั้งนี้ ฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดเพลิงไหม้สูง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงขอฝากให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังกิจกรรมที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ อาทิ เช่น ไม่จุดไฟเผาขยะบริเวณพงหญ้าแห้งหรือใกล้บ้านเรือน ดับไฟบุหรี่ให้สนิทก่อนทิ้ง อีกทั้งตรวจสอบและใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันการเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรได้

สธ.เตือน! ดื่มแอลกอฮอล์หน้าร้อน ระวังช็อก

นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ โฆษกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สภาพอากาศในประเทศร้อนอบอ้าวมาก โดยเฉพาะช่วงกลางวัน บางแห่งอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เกินอุณหภูมิปกติของร่างกายซึ่งอยู่ที่ระดับ 37 องศาเซลเซียส สภาพอากาศเช่นนี้ อาจส่งผลให้ประชาชนเจ็บป่วย เนื่องจากความร้อนทำให้หลอดเลือดขยายตัว จะมีผลต่อการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย เกิดการสูญเสียน้ำผ่านทางผิวหนังและต่อมเหงื่อมากขึ้น จึงขอให้ประชาชนดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งหรือออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน ส่วนผู้ทำงานในที่ร่ม ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว วิธีสังเกตว่าร่างกายได้รับน้ำเหมาะสมเพียงพอหรือไม่นั้น สังเกตง่ายๆ จากสีของน้ำปัสสาวะ หากมีสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้ามีสีเหลืองเข้มคล้ายน้ำชาและปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอจะต้องดื่มน้ำให้มากๆ สำหรับเครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่มในช่วงที่ร้อนอบอ้าว คือ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ผสมทุกชนิด เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ สาโทอุ กระแช่ น้ำตาลเมา ไม่ว่าจะดื่มโดยใส่น้ำแข็งหรือไม่ใส่ก็ตาม เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยที่อยู่ใต้ผิวหนังขยายตัวมากขึ้น จะมีผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงขึ้น และแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้นจะมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจทำงานต้องหนักเพื่อสูบฉีดเลือด อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้ ยิ่งหากมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น […]

ปภ.เตือนเลี่ยง 6 พฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ – ผิดกฎหมายจราจร

บ่อยครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ ทั้งความประมาท และการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอเตือน ผู้ขับขี่เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้1. กลับรถในที่ห้าม อาทิ บริเวณที่มีป้ายห้ามกลับรถ ถนนที่มีเส้นทึบสีเหลืองหรือสีขาว ที่คับขันบนสะพานระยะ 100 เมตร จากเชิงสะพาน เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ควรกลับรถบริเวณที่มีป้ายให้กลับรถหรือจุดกลับรถที่กำหนด พร้อมให้สัญญาณไฟทุกครั้งก่อนเข้าช่องทางกลับรถ หยุดรอในจุดกลับรถโดยไม่จอดล้ำช่องจราจรของรถทางตรง และกลับรถเมื่อรถในทางตรงอยู่ในระยะห่างที่ปลอดภัย 2.ขับรถย้อนศร ผู้ขับขี่ในเส้นทางปกติอาจมองไม่เห็นหรือเห็นรถที่ขับสวนทางในระยะกระชั้นชิดทำให้เกิดอุบัติเหตุชนประสานงาหรือเฉี่ยวชน เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ขับควรใช้ช่องทางเดินรถในทิศทางตามที่เครื่องหมายจราจรกำกับไว้ 3.ไม่เปิดสัญญาณไฟเมื่อเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องทาง ทำให้ผู้ที่ขับรถตามหลังมาไม่ทราบทิศทางการเดินรถ จึงไม่ชะลอความเร็วหรือให้ทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ควรเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าในระยะไม่ต่ำกว่า 60 เมตร ก่อนเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องทาง รวมถึงมองเส้นทางให้รอบด้าน เมื่อรถอยู่ในระยะห่างที่ปลอดภัย ค่อยเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องทาง 4.ขับรถแทรกบริเวณทางแยกหรือทางขึ้นสะพาน ในช่วงการจราจรติดขัด ผู้ขับขี่มักขับรถแทรกรถคันอื่นในช่วงก่อนถึงทางแยกหรือทางขึ้นสะพาน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ควรขับรถไปตามช่องทางเดินรถ โดยไม่ขับแทรกรถคันอื่นในเขตห้ามแซง โดยเฉพาะในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางแยกและทางร่วม บริเวณทางขึ้นสะพานหรือทางชัน 5.ขับรถช้าในช่องทางขวา ทำให้ผู้ที่ขับรถเร็วต้องแซงในช่องทางซ้าย ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วต่ำในช่องขวาหรือขับรถในช่องทางขวาตลอดเวลาโดยให้ใช้ช่องทางขวาเมื่อต้องขับแซง […]

1 155 156 157 158 159 160