กองทัพภาคที่ 3 ร่วมฝึกผสมด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ครั้งที่ 2

กองทัพภาคที่ 3 ร่วมฝึกผสมด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ครั้งที่ 2 Garuda Canti Dharma (GCD) II

กองทัพบกไทย ร่วมกับ ร่วมกับมิตรประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ศรีลังกา, เนปาล, บังคลาเทศ, ฟิจิ และมองโกเลีย รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 ประเทศ จัดการฝึกผสมด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ Garuda Canti Dharma (GCD) II ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 65 ณ เมือง Sentul สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (The Pusat Misi Pemeliharaan Perdamaian (PMPP) Peacekeeping Center มีวัตถุประสงค์การฝึก เพื่อพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถ และเพิ่มพูนความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพร่วมกันของนานาชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือทางด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพนานาชาติ (GLOBAL PEACE OPERATIONS INTLATIVE หรือ GPOI)

ในการนี้ กองทัพบก ได้มอบหมายให้ กองทัพภาคที่ 3 จัดกำลังพลในส่วนของการฝึกฯ ในครั้งนี้ โดยจัดจากให้ กองพลทหารราบที่ 7 ร่วมกับ กองพลทหารราบที่ 4 และกองพลทหารม้าที่ 1 จัดกำลัง 1 หมวดปืนเล็ก จำนวน 25 นาย เข้าร่วมการฝึกฯ รายละเอียดดังนี้
1.) กองอำนวยการฝึก จำนวน 4 นาย
2.) กำลังพลเข้ารับการฝึก 1 หมวดปืนเล็ก จำนวน 21 นาย

  1. การฝึกเตรียมการ : กรมทหารราบที่ 17 กองพลทหารราบที่ 7 จัดตั้งกองอำนวยการฝึกเตรียมการ ณ หมวดต่อสู้รถถัง กรมทหารราบที่ 17 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีการฝึกเตรียมการที่สำคัญ ได้แก่
    1.1 การเตรียมความรู้
    1.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหประชาชาติ (UN)
    1.1.2 สิทธิมนุษยชน
    1.1.3 กฎการปะทะ/กฎการใช้กำลัง
    1.2 การฝึกในสนาม (จำนวน 6 สถานี)
    1.2.1 การตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ (Check Point Operation)
    1.2.2 การลาดตระเวน (Patrolling)
    1.2.3 การระวังป้องกันตำบลจ่ายอุปกรณ์บรรเทาทุกข์ (Distribution Site)
    1.2.4 การระวังป้องกันขบวนยานยนต์ (Escort Convoy)
    1.2.5 การปิดล้อม/ตรวจค้น (Cordon and Search)
    1.2.6 การระวังป้องกัน ตำบลปลดอาวุธ (Disarmament, Demobilization and Reintegration)

    รวมทั้งมีการเพิ่มเพิ่มพูนความรู้ภาษาอังกฤษโดยวิทยากรภายนอก การเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย และการซักซ้อมแลกเปลี่ยนการแสดงทางวัฒนธรรม การฝึกศิลปะแม่ไม้มวยไทย โดยวิทยากรจาก Lanna Fighting Muay-Thai Gym และการดำเนินการด้านธุรการ ได้แก่การจัดทำหนังสือเดินทางราชการ และเครื่องแต่งกาย

    โดยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา แม่ทัพภาคที่ 3 ได้มอบหมายให้ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 เป็นผู้แทน ทำพิธีส่งกำลังพลเข้ารับการฝึก พร้อมทั้งให้โอวาทและแนวทางการปฏิบัติในห้วงการฝึกผสม ณ กรมทหารราบที่ 17 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  2. การเคลื่อนย้ายกำลังพล : การเคลื่อนย้ายกำลังพลขาไป เดินทางในวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 โดยสายการบินพานิชย์ ไปยังท่าอากาศยานจาร์กาตา (Jakarta) หลังจากนั้นเดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศ ไปยัง Pusat Misi Perdamaian (PMPP) Peacekeeping Center เมือง Sentul สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และการเคลื่อนย้ายกำลังพลขากลับ ในวันที่ 1 สิงหาคม 2565
  3. ขั้นดำเนินการฝึกฯ : แบ่งออกเป็น 2 ขั้น ได้แก่
    ขั้นที่ 1 เข้ารับการฝึกทฤษฎี : ประกอบด้วย
    – ROE (กฎการใช้กำลัง) และ POC (กฎการคุ้มครองประชาชน พลเรือน)
    – Medical and TCCC การดูแลบาดเจ็บทางยุทธวิธี
    – IED ระเบิดแสวงเครื่อง
    ขั้นที่ 2 การฝึกปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Lane Training) ประกอบด้วย 6 สถานี
    – สถานีที่ 1 การระวังป้องกันตำบลจ่ายอุปกรณ์บรรเทาทุกข์ (Distribution Site)
    – สถานีที่ 2 การลาดตระเวนด้วยเท้า (Patrol)
    – สถานีที่ 3 การระวังป้องกัน ตำบลปลดอาวุธ (Disarmament, Demobilization and Reintegration)
    – สถานีที่ 4 การปิดล้อม/ตรวจค้น (Cordon and Search)
    – สถานีที่ 5 การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด (Check Point)
    – สถานีที่ 6 การระวังป้องกัน ขบวนยานยนต์ (Escort Convoy)

นอกจากนี้ในห้วงระหว่างการฝึกมีการทัศนศึกษาในพื้นที่ และร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แก่ การแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย เป็นต้น

การฝึกผสมฯ ในครั้งนี้กองทัพบกไทย ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างมากจากทางชุดครูฝึก และชาติพันธมิตรทั้ง 8 ประเทศ ที่ได้แสดงออกถึงความเป็นทหารอาชีพ, มีความตั้งใจเข้ารับการฝึก, การปฏิบัติตามกฎ วินัย และ ข้อบังคับ ตลอดจนความเป็นมิตรภาพอันดี ที่กำลังพลทุกนายได้แสดงออกมา ซึ่งหน่วยสามารถนำไปประยุกต์สำหรับการปฏิบัติภารกิจทุกภารกิจที่หน่วยจะได้รับมอบ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ และความผาสุกให้กับพี่น้องประชาชนสืบไป

คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 3
11 สิงหาคม 2565

ร่วมแสดงความคิดเห็น