เศรษฐกิจไทยฟื้น !! ไตรมาส 2 ปี 65 ขยายตัว 2.5 %

สำนักงานเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2/2565 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่ 1/2565 ปัจจัยสำคัญมาจากการเร่งตัวของภาคบริการที่ส่วนหนึ่งเป็นผลของแรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับการดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวสูง

ด้านการผลิต ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.4 ภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยไตรมาสนี้ ภาคบริการเร่งตัวขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมลดลง ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนเร่งตัวขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลชะลอลง ขณะที่การลงทุนรวมลดลง ส าหรับภาคต่างประเทศ ขยายตัวดีทั้งการส่งออกและการน าเข้าสินค้าและบริการ

การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.4 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่ 1/2565 โดยผลผลิตพืชสำคัญ

ที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าวเปลือก ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และผลไม้ การผลิตในหมวดปศุสัตว์ลดลง โดยเฉพาะ โค กระบือ สุกร สำหรับผลผลิตประมงยังขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า

การผลิตภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 1/2565 โดยภาคบริการขยายตัวร้อยละ 4.6 จากการขยายตัวในสาขาการผลิตที่ส าคัญ เช่น สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และสาขาที่พักแรมและบริการด้าสำหรับภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.8 จากการขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 1/2565 ปัจจัยสำคัญมาจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า

GDP ที่ปรับปัจจัยฤดูกาล ในไตรมาสที่ 2/2565 ขยายตัวร้อยละ 0.7 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 1/2565

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปี มีมูลค่า 4,228.0 พันล้านบาท เมื่อหักรายได้ปฐมภูมิสุทธิจ่ายไปต่างประเทศ

206.8 พันล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้มวลรวมประชาชาติ (Gross National Income: GNI) เท่ากับ 4,021.2 พันล้านบาทนอาหาร

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 – 3.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.4 และ ร้อยละ 3.1 ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 6.3 – 6.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 1.6 ของ GDP

ร่วมแสดงความคิดเห็น