อินเดียชี้โควิดเดลตา จับเซลล์มนุษย์ได้อย่างแน่นหนา หลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 64 สำนักข่าวชินหัวรายงานว่า เมื่อวันจันทร์ (19 ก.ค.) ดร. เอ็น เค อโรรา ประธานคณะที่ปรึกษาทางเทคนิคแห่งชาติ ว่าด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (NTAGI) ด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของอินเดีย และประธานร่วมของกลุ่มศึกษาจีโนมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แห่งอินเดีย (INSACOG) กล่าวว่า เชื้อไวรัสฯ โอกาสการแพร่เชื้อของชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์บี.1.617.2 หรือเดลตา (Delta) จะมากกว่าเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ราวร้อยละ 40-60

กระทรวงสาธารณสุขอ้างอโรราระบุว่า การกลายพันธุ์ส่วนโปตีนหนาม (สไปก์โปรตีน) ของเดลตา ซึ่งช่วยให้มันจับกับพื้นผิวของตัวรับเอซีอี 2 (ACE2) ของเซลล์ได้อย่างแน่นหนา ทำให้มันสามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้นและหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ โดยมีอัตราความสามารถแพร่เชื้อสูงกว่าเชื้อกลายพันธุ์ฯ รุ่นก่อน (อัลฟา) ราวร้อยละ 40-60 ทั้งยังแพร่ระบาดไปแล้วในกว่า 80 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ สิงคโปร์ และอื่นๆ”

อนึ่ง กลุ่มศึกษาจีโนมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แห่งอินเดีย เป็นกลุ่มการทำงานร่วมกันของห้องปฏิบัติการ 28 แห่ง ที่จัดตั้งโดยกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลกลางอินเดียเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน โดยนับตั้งแต่นั้นมากลุ่มดังกล่าวดำเนินการจัดลำดับพันธุกรรมและวิเคราะห์เชื้อไวรัสฯ ที่ปรากฎในอินเดีย รวมถึงแนวโน้มทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น