28

เกษตรเชียงใหม่ ยกระดับการผลิตอะโวคาโดแบบครบวงจร

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 11.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ยกระดับการผลิตอะโวคาโดโดยใช้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม สร้างรายได้พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน เกษตรจังหวัดร่วมบูรณางานกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ (เกษตรที่สูง) ดำเนินโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2567 กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอโวคาโดและกิจกรรมปรับปรุงและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อะโวคาโด ได้แก่ การสกัดน้ำมันอะโวคาโด สบู่อะโวคาโด ครีมทาผิวอะโวคาโด สครับผิวอะโวคาโด แฮร์โค้ทอะโวคาโด รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดอะโวคาโด ระหว่างวันที่ 1-9 พฤษภาคม 2567 ณ ที่ทำการแปลงใหญ่อะโวคาโดบ้านโป่งแยงนอก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เข้าร่วมโครงการหมด 60 ราย โดยอบรมรุ่นที่ 1วันที่ 1-5 พฤษภาคม 2567 เรื่องการแปรรูป รุ่นที่ 2 วันที่ 8-9พฤษภาคม 2567 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต นางรัชนีวรรณ์ เป็งพรม เกษตรอำเภอแม่ริม กล่าวว่าสำหรับตำบลโป่งแยง พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ […]

แม่ออนแล้งหนัก! กระทบนาข้าว-ลำไย ขาดน้ำยืนต้นตาย

วันนี้ (8 พ.ค.67) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่, เกษตรจังหวัดเชียงใหม่, ชลประทานเชียงใหม่, ปภ.เชียงใหม่, นายอำเภอแม่ออน ลงพื้นที่ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง และช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไย ในแปลงที่ไม่มีสระน้ำในสวนของตนเอง และปีนี้ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง และสภาพอากาศร้อนจัดที่ยาวนาน ส่งผลให้ต้นลำใยมีอาการแห้ง ขาดน้ำ และถ้าไม่มีน้ำมาหล่อเลี้ยงจะทำให้ต้นลำไยที่มีอายุมากกว่า 20 ปีแห้งตายได้ เมื่อวันจันทร์ที่ 6 พ.ค.67 ปฏิบัติการในวันนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงรักษาต้นลำไย ไว้ไม่ให้ยืนต้นตาย เพื่อที่เกษตรกรจะได้ไม่ต้องตัดทิ้ง และต้องปลูกใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเก็บผลผลิตได้ สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้สั่งการให้นายอำเภอแม่ออน ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุภัยพิบัติเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง เพื่อรับแจ้งเหตุจากผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยแจ้งได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ออน และให้เดินสำรวจสระน้ำใกล้เคียง ที่ใช้การไม่ได้ ว่าจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ในเบื้องต้นทราบว่า มีสภาพที่ตื้นเขิน ทางจังหวัดเชียงใหม่ จะได้บูรณาการทุกหน่วยงาน ที่มีรถขุด มาขุดลอกให้อย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะได้เก็บน้ำฝนในช่วงฤดูฝนนี้ ให้มีน้ำมากเพียงพอที่จะให้เกษตรกรได้ใช้ในฤดูแล้งต่อไปได้ในทุกปี . ทั้งนี้ อำเภอแม่ออน มีพื้นที่ได้รับผลกระทบประมาณ 1,800 ไร่ […]

สวพส. ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2567

สวพส. ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ปีงบประมาณ 2567 เป็นเครื่องหมายรับรอง การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เผา และไม่บุกรุกป่า สู่การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน การทำเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องท้าทายความรู้ของพี่น้องชาวเกษตร ในการที่จะต้องบริหารจัดการความรู้และทรัพยากรที่มีเนื่องด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ไม่สามารถใช้สารเคมีเกษตรหรือสารสังเคราะห์ใด ๆ ได้ ล่าสุด สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ปีงบประมาณ 2567 เป็นเครื่องหมายรับรอง การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เผา และไม่บุกรุกป่า สู่การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน สวพส. ได้ดำเนินงานวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพบนพื้นที่สูง โดยการปรับระบบเกษตรจากการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามหลักวิชาการ การเลือกพืชทางเลือกที่สร้างมูลค่าได้มากกว่าพืชเดิม ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ผลไม้ กาแฟ พืชไร่ เป็นต้น ตลอดจนการเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP และเกษตรอินทรีย์) เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันรวมทั้ง การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วย ECO BRAND เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงสินค้าที่มีกระบวนการปลูกที่ไม่เผาเศษวัสดุเกษตร ไม่บุกรุกป่า รวมทั้งมีมาตรฐานรองรับ และยังสามารถต่อยอดไปสู่การเป็นสินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ECO BRAND ยังใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการ ด้วยเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มจากวิธีการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการบุกรุกป่า รวมถึงการนำไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social […]

ประชุมแก้ไขปัญหา การค้าขายหมากสด ในพื้นที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก

เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2567 เวลา 09.00 น. นายมาโนช โพธิเนียม นายอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มอบหมายให้ นายรัตนกุล สังขศิลา ปลัดอำเภอกลุ่มงานความมั่นคง เป็นประธานการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา การขนย้ายหมากสด โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายเทอดพันธ์ ธรรมรัตนพงษ์ หัวหน้าด่านตรวจพืชแม่สอด พ.ต.อ. ศุภกร พิพัฒน์พิมพา ผกก.สภ.อุ้มผาง ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 347 ผู้บังคับกองร้อยทหารราบที่ 1433 หัวหน้าชุดเฉพาะกิจนาคราช เจ้าหน้าที่เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตาก เกษตรอำเภออุ้มผาง ผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกหมาก และผู้ประกอบการชื้อหมากร่วมประชุม ผลการประชุม นายด่านตรวจพืชแจ้งกฎระเบียบ เกี่ยวกับการนำเข้าหมากที่เกี่ยวกับกฎหมายกักพืช หมากสด เป็นสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ.2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่สามารถนำเข้าและนำผ่านราชอาณาจักร ได้ขอความร่วมมือฝ่ายปกครอง ในการออกหนังสือรับรองการขนย้ายหมาก เพื่อความสะดวกในการตรวจ ทั้งนี้นายด่านได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ใบขนย้ายนี้ ตามกฎหมายไม่มีการกำหนดไว้ว่าการขนย้ายต้องมีการขอนุญาต แต่เป็นการขอความร่วมมือเพื่อความสะดวกในการตรวจ และที่ประชุมมอบหมายให้นายด่านตรวจพืช นำเรื่องหารือผู้บังคับบัญชาในระดับจังหวัดเพื่อกำหนดมาตรการ ในการอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการ ในการขนย้ายหมากหรือนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมศูนย์สั่งการชายแดนฯ ในที่ประชุมยังมอบหมายให้เกษตรอำเภออุ้มผาง […]

ชป.1 ระดมรถบรรทุกน้ำช่วยชาวสวนลำไยแม่ออน

ชป.1 ระดมรถบรรทุกน้ำช่วยชาวสวนลำไยแม่ออน บูรณาการหน่วยงานเกษตรลงพื้นที่ออนกลาง ใช้น้ำ 72,000 ลิตร ช่วยเหลือพื้นที่ปลูกลำไย 11 ไร่ นอกเขตชลประทาน ซึ่งเสียหายกว่า 82 ต้น วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 นายชนม์ฐพัฒน์ เครือศรี หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายนวพล อาชญาทา หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 โครงการชลประทานเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เกษตรอำเภอแม่ออน ฝ่ายปกครองในพื้นที่ ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์สวนลำใย ในพื้นที่ตำบลหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 10 ต.ออนกลาง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และร้องขอให้เจ้าหน้าที่นำรถน้ำเข้าช่วยเหลือ สำหรับการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น เจ้าหน้าที่นำรถบรรทุกน้ำ จาก สำนักงานชลประทานที่ 1 จำนวน 2 คัน โครงการชลประทานเชียงใหม่ จำนวน 1 คัน โครงการชลประทานลำพูน จำนวน 1 […]

ทางออกลดหมอกควันภาคเหนือ เอกชนควรมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ เกษตรกรชี้ซีพีเป็นรายเดียวที่เข้มนโยบาย

ทางออกลดหมอกควันภาคเหนือ เอกชนทุกรายควรมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ เกษตรกรชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ หวังรัฐขับเคลื่อนกฎหมายเป็นรูปธรรม นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ซีพีมีนโยบายให้ความสำคัญกับการสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารที่ยั่งยืนบังคับใช้กับทุกกลุ่มธุรกิจ โดยในกลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์มุ่งมั่นในการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าจากแหล่งปลูกที่ถูกกฎหมาย ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และไม่เผา สนับสนุนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามนโยบายเครือฯ “นโยบายไม่รับซื้อ และไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา” พร้อมทั้งได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Corn Traceability) ขึ้นมาใช้ในการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกิจการประเทศไทยตั้งแต่ปี 2559เป็นต้นมา เชื่อมั่นว่าระบบตรวจสอบย้อนกลับคือทางออกในการแก้ปัญหาการบุกรุกป่าและการเผาแปลง ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนือ โดยซีพีพร้อมเป็นต้นแบบนำเทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับ หยุดฝุ่นควันภาคเหนือ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ในระบบตรวจสอบย้อนกลับของเรา สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาได้ 100% ทำให้มั่นใจได้ว่า ข้าวโพดที่จัดซื้อไม่ได้มาจากการเผาและบุกรุกป่า นอกจากนี้ คู่ค้าและเกษตรกร ได้ปรับตัวลงทะเบียนเข้าสู่ระบบตรวจสอบย้อนกลับ หลังจากได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรอย่างถูกวิธี และตระหนักถึงปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ในพื้นที่ที่มากขึ้น เพราะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ที่สำคัญคือการปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลกในประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันมีเกษตรกรในระบบตรวจสอบย้อนกลับของซีพีมากกว่า 40,000 ราย” นายไพศาล กล่าว นายชนาธิป กองทอง กรรมการ บริษัททวีทองการเกษตร […]

เกษตรพร้าว เยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ต.ป่าไหน่

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.67 นางสาวสุกัญญา มนูแสง เกษตรอำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ มอบหมายให้ นางสาวฐิติมา กาบบัว และนางสาวพนิดา หนันไชย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เยี่ยมเยียนและติดตามสถานการณ์การผลิตมะม่วง หมู่ที่ 5 บ้านสันกลาง ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โดยนายชาตรี สุวรรณพันธ์ เจ้าของสวนมะม่วง ได้วางแผนการทำมะม่วงก่อนฤดูเพื่อเสี่ยงปัญหาผลผลิตลันตลาด โดยทดลองใช้สารแพคโคบิวทราโซลกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกก่อนฤดู ซึ่งได้ผลเป็นที่พึ่งพอใจ มะม่วงรุ่นแรก ห่อผลไว้ จำนวน 10,000 ผล คาดการณ์ว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงต้นเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ คาดการณัผลผลิตกว่า 4 ตัน นอกจากนี้ได้ทดลองทำสารเพื่อให้มะม่วงออกล่าฤดูอีก 1 แปลง สนใจสั่งซื้อมะม่วงสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายชาตรี สุววรณพันธ์ 087-1791632 เกษตรกรชื่อดังของ อ.พร้าว ยินดีต้อนรับทุกวัน

แหล่งปลูก ‘ฝ้าย’ แห่งสำคัญในจีน เริ่มงานหว่านเมล็ดฝ้ายฤดูใบไม้ผลิ

อาหว่าถี, 29 มี.ค. (ซินหัว) — เครื่องจักรหว่านเมล็ดฝ้ายแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ออกวิ่งทำงานกลางแปลงปลูกในอำเภออาหว่าถี เมืองอาเค่อซู เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ศูนย์กลางการผลิตฝ้ายที่สำคัญในจีน ซึ่งเริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาหว่านเมล็ดฝ้ายประจำฤดูใบไม้ผลิ เทคโนโลยี การเกษตรที่ก้าวหน้าค่อยๆ กลายเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับเกษตรกรในซินเจียง ตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัจฉริยะ ในกระบวนการปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว(บันทึกภาพวันที่ 26-27 มี.ค. 2024)

“เกณิกา”เผย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง”

“เกณิกา”เผย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง”เข้า นบข.-ครม.ช่วยเกษตรกรกว่า 4.68 ล้าน ครอบครัว ใช้ปุ๋ยคุณภาพ ราคาถูกลดต้นทุน วันที่ 27 มี.ค. 67 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตระหนักดีว่า ข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญของประเทศ ซึ่งสามารถส่งออกได้กว่าแสนล้านบาทต่อปี โดยในประเทศมีเกษตรกรที่ปลูกข้าวกว่า 4.68 ล้าน ครอบครัวหรือประมาณ 16 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน เนื่องจากราคาผลผลิตแปรปรวน ต้นทุนการผลิตมีการปรับราคาสูงขึ้น เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และการสร้างความเข้มแข็งจากการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้ดำรงชีพอยู่ได้  น.ส.เกณิกา กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีมติเห็นชอบโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในปีการผลิต 2567/68 โดยสนับสนุนปุ๋ยที่เหมาะสมตามความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในรูปแบบ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” […]

เกษตรเชียงใหม่ ร่วม ม.แม่โจ้ นำโดรนยกระดับการผลิตลำไยแปลงใหญ่

วันที่ 25 มีนาคม2567 เวลา 09.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้กล่าวต้อนรับคณะผู้เข้ารับการอบรม อาจารย์นน ปิ่นเงิน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ ณ ห้อง VAM 201 อาคารหมู่บ้านนักพัฒนาการเกษตรดิจิทัล(VAM) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยะดา ชัยเวช คณบดีคณะบริหารธุรกิจ และเกษตรกรแปลงใหญ่เกษตรอำเภอเป้าหมายร่วมพิธีปิดโครงการดังกล่าวในครั้งนี้ โครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มุ่งเน้นต่อยอดการผลิตให้กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นด้านการใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ การใช้โดรน รวมถึงระเบียบข้อบังคับในการใช้รวมถึงกฎหมาย และฝึกปฏิบัติให้เกษตรกรได้ใช้งานจริงในสวนลำไย โดยใช้กลุ่มแปลงใหญ่เป็นพื้นที่นำร่องใน3อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอสารภี อำเภอพร้าว แบ่งการอบรม 3 รุ่น ๆละสำหรับในวันนี้เป็นการอบรมรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม2567 เกษตรกรแปลงใหญ่ลำไยสารภี สำหรับเกษตรกรที่สำเร็จการอบรมไปแล้วจะสามารถนำความรู้เทคโนโลยีที่ได้ไปลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆได้ต่อไป

งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567

สำนักงานเกษตรอำเภอปาย ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567 จัดขึ้นให้เกษตรกรในพื้นที่ ได้เรียนรู้แนวการเกษตรผสมผสานโดยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลัก และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การจัดงานวันเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 สำนักงานเกษตรอำเภอปาย ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567 ณ ศพก. เครือข่ายสวนเม่นหมอก หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมี นายเอนก ปันทะยม นายอำเภอปาย เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีส่วนราชการทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรมในวันนี้ จัดขึ้นให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้แนวการเกษตรผสมผสาน โดยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลัก และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การจัดงานวันเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ จึงนับเป็นการทำงานที่สำคัญให้ทุกหน่วยงาน ได้บูรณาการทำงานร่วมกัน มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง […]

รมช.พาณิชย์ พาผู้ประกอบการทำ MOU รับซื้อมะม่วงจากเกษตรกร

รมช.พาณิชย์ พาผู้ประกอบการทำ MOU รับซื้อมะม่วงจากเกษตรกรพญาเม็งราย ตั้งเป้าช่วยกระจายผลผลิต 3,500 ตัน เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 18 มี.ค. 67 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในกิจกรรม “กรมการค้าภายในเชื่อมโยงการซื้อมะม่วง@เชียงราย” โดยมี นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล) นางณัฐพร มหาไพบูลย์ พาณิชย์ จ.เชียงราย นายชูสวัสดิ์ สวัสดี นอภ.พญาเม็งราย นายชโลธร พัฒน์ทวีกิจ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงพญาเม็งราย และผู้แทนเกษตรกรจาก 5 อำเภอ ใน จ.เชียงราย ห้างค้าส่ง-ค้าปลีก ผู้รวบรวม ผู้ส่งออก โรงงานแปรรูป และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง เข้าร่วมลงนาม MOU เพื่อรับซื้อผลผลิตมะม่วงจากเกษตรกร อ.พญาเม็งราย ณ กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงพญาเม็งราย บ้านกระแล […]

(มีคลิป) มทบ.38 ร่วมฝ่าวิกฤติเคียงข้างพี่น้องเกษตรกรน่าน

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 พล.ต.คณิศร อาสมะ ผบ.มทบ.38 พร้อม เสธ.มทบ.38 ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยประกอบเลี้ยง มทบ.38 จัดชุดเคลื่อนที่เข้ารับซื้อผลผลิตทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกร ได้เข้ารับซื้อ กระหล่ำปลี จำนวน 80 กก.จากสวนของ นางนิชณี วงศ์ชัย และสวนของนายวิชิต จินะใจ จำนวน 40 กก. พื้นที่บ้านหมู่ 2 ต.ท่าน้าว อ.ภูเพียง จ.น่าน เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ที่ราคาผลผลิตตกต่ำโดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่รับซื้อมาปรุงอาหารให้กับพลทหารกองประจำการของหน่วยได้รับประทานในครึ้งนี้

รวมพลังขับเคลื่อน ลำไยคุณภาพ สู่ตลาดโลก

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ผศ.พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สภาวิชาชีพเกษตร (สอก.)และสมาชิกผู้นำ 8 จังหวัดภาคเหนือ 115 คน ร่วมประชุมเพื่อเสนอแนวทางเพื่อวางแนวทางการบริหารผลผลิตลำไย คุณภาพส่งออก ปี 2567 เพื่อให้สมาชิกและเกษตรกรที่ปลูกลำไย จะมีผลผลิตจำหน่ายอีก 4 เดือน ให้ได้ราคาดี ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอบคุณท่าน ส.ส.นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ที่ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม และรับข้อเสนอจาก นายมานพ จินะนา ประธานสภาวิชาชีพเกษตร ให้รัฐบาลช่วยผลักดันงบประมาณลงสู่เกษตรกรปลูกลำไย ในครั้งนี้

(มีคลิป)”น่าน” ในมุมที่ต่างไป

จะเป็นอย่างไร ? เมื่อชาวบ้านมีที่ดินทำกินที่ถูกกฎหมาย เเละได้รับเเรงสนับสนุนอย่างเต็มที่ #สคทช. #สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ #บริหารจัดการที่ดินประชาชนอยู่กินยั่งยืน ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติหรือติดต่อมาที่ “ศูนย์บริหารจัดการและแก้ปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่ดินและทรัพยากรดิน” โทร 02-265-5445สคทช. “บริหารจัดการที่ดิน ประชาชนอยู่กินยั่งยืน”

งานเพาะปลูก ‘ข้าวสาลี’ ผสานเทคโนโลยีในกานซู่

หล่งหนาน, 10 มี.ค. (ซินหัว) — เหล่าเกษตรกรง่วนกับงานเพาะปลูกช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยมีช่างเทคนิคบังคับโดรนช่วยใส่ปุ๋ยในทุ่งข้าวสาลีในเขตอู่ตู เมืองหล่งหนาน มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนการเกษตรฤดูใบไม้ผลิในเมืองแห่งนี้มุ่งรับรองการชลประทาน การใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืชในทุ่งข้าวสาลีฤดูหนาวบนพื้นที่ 1.22 ล้านหมู่ (ราว 508,300 ไร่)(บันทึกภาพวันที่ 9 มี.ค. 2024)

(มีคลิป)ต้องการเครื่องสูบน้ำเพื่อนำไปช่วยเหลือชาวนา

น้ำไม่เพียงพอกับชาวนา ข้าวตั้งท้องยืนต้นตาย 50% ในพื้นที่ ต.ออนเหนือ ต.ออนกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ต้องการเครื่องสูบน้ำเพิ่ม เพื่อนำไปสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน เพื่อช่วยเหลือชาวนาเร่งด่วนวันนี้ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านกำลังช่วยกันนำเครื่องสูบน้ำจากน้ำในอ่างเก็บน้ำเข้านาของชาวนา จากที่พบว่า 50% ของพื้นที่ทำนาเสียหาย ต้นข้าวที่กำลังตั้งท้องกำลังแห้งตายเพราะขาดน้ำ เนื่องจากท่ออุโมงค์ส่งน้ำในอ่างเก็บน้ำชำรุดไม่สามารถส่งน้ำไปให้ชาวนาในพื้นที่ ต.ออนเหนือ และ ต.ออนกลางได้ นายวรพันธุ์ กันติสิงห์สกุล หัวหน้าเหมืองฝาย (คลองเบอร์ 8) ต.ออนเหนือ ต.ออนกลาง อ.สันกำแพง กล่าวว่า ปัญหาที่เกษตรกรทำนาประสบปัญหาขาดน้ำอยู่ขณะนี้ เนื่องจากท่อส่งน้ำที่อุโมงค์ส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน เกิดชำรุด เพราะอายุการใช้งานมานานกว่า 20 ปีแล้ว ได้หยุดส่งน้ำมานานหลายวัน จากที่กำหนดส่งน้ำให้เกษตรกร ในส่วนที่ตนดูแล (เบอร์ 8) ต้องส่งน้ำวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถส่งน้ำให้เกษตรกรผู้ทำนาได้ ทางชลประทานแจ้งว่า จะเปิดน้ำให้ได้เพียง 15% ชาวบ้านเห็นว่า […]

คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย”

คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ […]

เกษตรกรรุ่นใหม่ ปลูกกะหล่ำปลีหวาน บุกตลาดสุขภาพเชียงใหม่

วันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 11.00 น.นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการแปลงใหญ่พืชผัก บ้านแม่โถ ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางณัฐธยาน์ ศรีสุวรรณ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอฮอดให้ข้อมูลการดำเนินงานพร้อมทั้งเกษตรกรแปลงใหญ่ร่วมกิจกรรมดังกล่าวในครั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งผลิตพืชผักที่มีคุณภาพแหล่งใหญ่ มีพื้นที่การผลิตประมาณ 100,000ไร่ ที่ผ่านมาเกษตรกรผลิตเน้นด้านปริมาณทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ส่งผลต่อสุขภาวะ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนไม่สามารถต่อรองด้านราคาได้ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงด้านรายได้และการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอฮอดที่เป็นแหล่งผลิตพืชผักขนาดใหญ่ สำนักงานเกษตรจังหวัดตระหนักถึงความเสี่ยงของเกษตรกรดังนั้น จึงส่งเสริมการผลิตพืชผักครบวงจรภายใต้ BCG Model ตามระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในกิจกรรม 5 ด้าน รวมกลุ่มวางแผนการผลิต การตลาด ส่งเสริมการผลิตให้ได้ทั้งปริมาณ คุณภาพได้มาตรฐานGAPนำนวัตกรรมความรู้เทคโนโลยีมาปรับใช้กับการเกษตร ดังกลุ่มแปลงใหญ่พืชผักตำบลบ่อหลวง-บ่อสลี ที่รวมกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ประสบความสำเร็จในการสืบทอดอาชีพการปลูกพืชผักจากรุ่นบรรพบุรุษ มาปรับแนวคิดโดยใช้เทคโนโลยี และเน้นคุณภาพมาตรฐานครบวงจรตั้งแต่เพาะต้นกล้า พร้อมลดต้นทุนการผลิตพืชผักในโรงเรือนใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในแปลงปลูก การวางระบบน้ำ การทำปุ๋ยจากไส้เดือน จำหน่ายแบบออนไลน์การผลิต จนสามารถเชื่อมโยงตลาด Modern trade ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเป็นระบบและยังนำพันธุ์พืชผักกะหล่ำพันธุ์หวานจากประเทศญี่ปุ่นทดสอบพันธุ์ ภายใต้ระบบอินทรีย์เตรียมขยายผลสร้างรายได้แก่เกษตรกรในชุมชนต่อไปอย่างยั่งยืน

1 6 7 8 9 10 140