83590

อบรมการเป็น Facilitator ในการเรียนการสอนรูปแบบ Problem – based learning

รศ.ดร.ธัญญลักษ์ พิทักษ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานในพิธีเปิดและวิทยากรบรรยายในงานอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเป็น Facilitator ในการเรียนการสอนรูปแบบ Problem – based learning สำหรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตปรับปรุง พ.ศ.2566 ครั้งที่ 3 วิทยากรโดย รศ.ดร.อริยพงษ์ วงษ์นพวิชญ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี และ ผศ.นพ.มาโนช โชคแจ่มใส อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้กับคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มช. เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนในรูปแบบ Problem-based learning ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาและยกระดับการจัดการเรียนการสอนตามพันธกิจของคณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดโดยหน่วยบริหารหลักสูตร งานบริการการศึกษา ร่วมกับหน่วยแพทยศาสตรศึกษา งานประกันคุณภาพการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มช. ในวันที่ 12 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารเรียนและปฏิบัติการ 50 ปี คณะแพทยศาสตร์ มช. ติดตามผ่าน Facebook : https://cmu.to/B8KRn ภาพ / […]

คณะแพทย์ มช. เผย ผลการวิจัย พบค่าฝุ่น PM 2.5 มีผลทำให้เลือดกำเดาไหล

ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. เผยผลการวิจัย ชี้ชัด ค่าฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยเลือดกำเดาไหลอย่างมีนัยสำคัญ รศ.พญ.กรรณิการ์ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนก.พ. – เม.ย. ของทุกปี ภาคเหนือตอนบนจะเจอกับปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาการที่มักจะพบบ่อยคือ ตาแดง ผื่นขึ้นตามส่วนต่างๆของร่างกาย เยื่อบุจมูกอักเสบ และเลือดกำเดาไหล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการที่ผู้ปกครองมักพาบุตรหลานมาพบแพทย์บ่อยที่สุด ส่วนสาเหตุที่เด็กมีเลือดกำเดาไหลในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงนั้น ทางภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้ทำการศึกษาร่วมกับนักศึกษาแพทย์ หาความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ของการเกิดเลือดกำเดาไหลในผู้ป่วยนอกเเละห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กับค่าฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน ในช่วงที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก […]

ประชาสัมพันธ์พิธีทำบุญอาคารบ้านพักญาติผู้ป่วยสวนดอก

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. ให้สัมภาษณ์สดในรายการ เช้านี้ที่ภาคเหนือ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ (NBT North) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 12 มีนาคม 2567 เพื่อประชาสัมพันธ์ พิธีทำบุญอาคารบ้านพักญาติผู้ป่วยสวนดอก ครบรอบ 2 ปี เฉลิมฉลอง 65 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2567 ณ ชั้น 1 อาคารบ้านพักญาติผู้ป่วยสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มช. ติดตามผ่าน Facebook : https://cmu.to/delPz ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กรงานประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พิธีเปิดกิจกรรม MEDCHIC Health Hackathon 2024

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม MEDCHIC Health Hackathon 2024 ภายใต้หัวข้อ InnoHealth JumpStart โดยมี รศ.ดร.พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในกระบวนการสร้างนวัตกรรม (Innovation Process) และรวมตัวกันของนักพัฒนานวัตกรรมหรือผู้ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และแปลกใหม่รวมไปถึงผู้มีประสบการณ์ที่สามารถใช้ประกอบสร้างเป็นองค์กรความรู้ใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการแพทย์ที่ใช้ได้จริงในการช่วยเหลือผู้ป่วย ภายใต้ระบบนิเวศนวัตกรรมและการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนกระบวนการการสร้างนวัตกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพเพื่อสร้างสรรค์ไอเดีย และคิดค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือโจทย์คำถามที่ถูกต้องในด้านสุขภาพและการแพทย์ ให้แก่บุคลากรด้านการแพทย์ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจเข้าร่วม ในวันที่ 9 มีนาคม 2567 ณ โรมแรมแบมบูรี บูติค รีสอร์ท เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ติดตามผ่านทาง Facebook : https://cmu.to/qhm1a ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กรงานประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สัมมนา เรื่อง เกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรการสัมมนา เรื่อง เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ผ่านระบบ Zoom โดยบรรยายในหัวข้อ การแบ่งปันประสบการณ์ : กลยุทธ์ (ระดับคณะ) เพื่อให้คณะผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะนำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ พร้อมทั้งได้รับความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถประเมินตนเองได้อย่างรอบด้าน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความยั่งยืนขององค์กร จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ติดตามผ่าน Facebook : https://cmu.to/Z0cFu ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กรงานประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อบรมการเป็น Facilitator ในการเรียนการสอนรูปแบบ Problem – based learning

รศ.ดร.ธัญญลักษ์ พิทักษ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานในพิธีเปิดและวิทยากรบรรยายในงานอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเป็น Facilitator ในการเรียนการสอนรูปแบบ Problem – based learning สำหรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตปรับปรุง พ.ศ.2566 ครั้งที่ 2 วิทยากรโดย รศ.ดร.อริยพงษ์ วงษ์นพวิชญ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี , ผศ.นพ.มาโนช โชคแจ่มใส อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ และ อ.ดร.สงบ สนิท อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา เป็นวิทยากรบรรยายให้กับคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มช. เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนในรูปแบบ Problem-based learning ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาและยกระดับการจัดการเรียนการสอนตามพันธกิจของคณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดโดยหน่วยบริหารหลักสูตร งานบริการการศึกษา ร่วมกับหน่วยแพทยศาสตรศึกษา งานประกันคุณภาพการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มช. ในวันที่ 8 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม 403 ชั้น 4 อาคารราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. ติดตามผ่าน Facebook […]

พิธีเปิดนิทรรศการบริการวิชาการสู่ชุมชน เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการบริการวิชาการสู่ชุมชน เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี คณะแพทยศาสตร์ มช. เรื่อง “WORLD SLEEP DAY 2024” โดยมี รศ.พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มช. กล่าวต้อนรับ และ รศ.นพ.ธีรกร ธีรกิตติกุล อาจารย์ประจำภาควิชาระบบการหายใจเวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. และหัวหน้าศูนย์วิเคราะห์สุขภาพการนอนหลับ กล่าวรายงาน โดยภายในงานได้มีการถ่ายทอดสด รายการสุขภาพดีกับหมอสวนดอก ตอน เด็ก ผู้ใหญ่ นอนหลับอย่างไร ให้มีคุณภาพ วิทยากรโดย รศ.นพ.ธีรกร ธีรกิตติกุล อาจารย์ประจำภาควิชาระบบการหายใจเวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ และหัวหน้าศูนย์วิเคราะห์สุขภาพการนอนหลับ และ ผศ.พญ.กนกกาญจน์ สันกลกิจ อาจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ และแพทย์ประจำศูนย์วิเคราะห์สุขภาพการนอนหลับ พร้อมทั้งตรวจเช็คสภาพเครื่อง CPAP , นิทรรศการให้ความรู้ และการใช้เครื่อง CPAP ให้แก่บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ […]

ลูกแฝด เลือกเพศ อุ้มบุญ LGBTมีลูกปังไหม?

ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบได้ร้อยละ 10-20 ของกลุ่มประชากร มีหลายสาเหตุโดยมักเป็นปัญหาจากฝ่ายชายครึ่งหนึ่งและฝ่ายหญิงอีกครึ่งหนึ่ง และพบมากขึ้นในคู่สมรสอายุมากขึ้น คู่สมรสที่แต่งงานอยู่ร่วมกันโดยไม่คุมกำเนิดนานเกิน 1 ปีและยังไม่มีบุตรจะถือว่ามีภาวะมีบุตรยาก ประเทศไทยมีอัตราเกิดของประชากรลดลงมาโดยตลอด ทำให้ขณะนี้เรากำลังอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ โดยมีจำนวนเด็กที่เกิดในครอบครัวที่พร้อมเลี้ยงดูน้อย กระทบต่อโครงสร้างประชากร เศรษฐกิจและสังคม แม้การมีบุตรยากจะไม่มีผลกระทบโดยตรงทางกายแต่มีผลต่อสภาพจิตใจและสังคมของคู่สมรสที่ต้องการมีบุตรแต่ไม่สมหวัง 🔹การดูแลเบื้องต้นได้แก่ การทำร่างกายให้แข็งแรง น้ำหนักตัวเหมาะสม รับประทานผักและธัญพืชสะอาด ออกกำลังกาย นอนหลับให้เพียงพอ จะช่วยให้ไข่และอสุจิมีสุขภาพดีขึ้น แต่การกระทำที่มากเกินไป เช่น ออกกำลังกายหรือลดน้ำหนักอย่างหนักก็อาจมีผลต่อทั้งไข่และอสุจิ ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญมากต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์คืออายุ คู่สมรสที่มีอายุมากกว่า 30 ปี จะมีโอกาสตั้งครรภ์สมบูรณ์น้อยกว่าคู่อายุน้อยกว่า 30 ปี 🔹การตรวจหาสาเหตุ ถ้าถ้าจะเริ่มจากการรับการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยการซักถามและตรวจร่างกาย บางครั้งอาจไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง เป็นเพียงตรวจสุขภาพทั่วไป และตรวจเตรียมความพร้อมก่อนการมีบุตร เช่น เตรียมฉีดวัคซีนหรือตรวจมะเร็งปากมดลูกก่อนที่จะวางแผนการตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่ต้องตรวจน้ำเชื้อของฝ่ายชาย ตรวจท่อนำไข่ ตรวจอัลตราซาวด์ฝ่ายหญิง รวมถึงความผิดปกติที่อาจเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมน ซึ่งแพทย์จะอธิบายขั้นตอนและความจำเป็นการตรวจแต่ละอย่าง และผู้รับบริการสามารถวางแผนและตัดสินใจร่วมด้วย 🔹การใช้เทคโนโลยีช่วยการมีบุตร ขึ้นกับปัญหาของผู้รับบริการแต่ละคู่ว่ามีความผิดปกติด้านใดและมีโอกาสในการตั้งครรภ์แต่ละวิธีอย่างไร อาจเริ่มต้นจากการตรวจหาวันที่ไข่ตกด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ที่มีความแม่นยำสูง หรือการให้รับประทานเพื่อกระตุ้นไข่ ในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่มีไข่ที่สมบูรณ์ โดยอาจร่วมกับการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก 🔸การฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก หรือการฉีดน้ำเชื้อ (intrauterine insemination; IUI) […]

หารือการปรับปรุงอาคารและการดูแลรักษาพยาบาลชาวต่างประเทศ

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. พร้อมคณะ ปรึกษาหารือกับคุณ Marc H. Dumur Honorary Consul Consulate of Switzerland in Thailand / Chairman The Foundation for the Education of Rural Children และคุณจิตรา กลั่นประยูร ผู้บริหารบ้านสบายวิลเลจ ดูแลผู้สูงอายุเชียงใหม่ ด้านการปรับปรุงอาคารสุจิณฺโณ ,อาคารผู้ป่วยอื่นที่เกี่ยวข้อง และการดูแลรักษาพยาบาลชาวต่างประเทศ ในวันที่ 7 มีนาคม 2567 ณ บ้านสบาย วิลเลจ รีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ติดตามผ่าน Facebook : https://cmu.to/iM1gE ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กรงานประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้งานระบบ Mango canvas เบื้องต้น ครั้งที่ 2

หน่วยแพทยศาสตรศึกษา งานประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมกับ หน่วยบริหารหลักสูตร งานบริการการศึกษา และศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีแพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้งานระบบ Mango canvas เบื้องต้น ครั้งที่ 2 โดยมี คุณอมฤต ดวงเมือง และคุณเบญจ ขันธราช จากศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีแพทยศาสตรศึกษา เป็นวิทยากรบรรยาย ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยบริหารหลักสูตร งานบริการการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ ร่วมกันฝึกอบรมให้กับคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ดูแลระบบบริหารการเรียนการสอนออนไลน์ของภาควิชาฯ คณะแพทยศาสตร์ มช. เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบ Mango Canvas เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ณ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 อาคารราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. ติดตามผ่าน Facebook : https://cmu.to/wWN7Q ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กรงานประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณสุกัญญา เหมรัตนากร พร้อมครอบครัว มอบเงินบริจาค 1 แสนบาท ให้ รพ.สวนดอก

ผศ.นพ.อัคร อมันตกุล อาจารย์​ประจำ​หน่วยศัลยศาสตร์​ระบบปัสสาวะ​ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะ​แพทยศาสตร์​ มช. รับมอบเงินบริจาค จำนวน 100,000 บาท จากคุณสุกัญญา เหมรัตนากร พร้อมครอบครัว สมทบทุน​มูลนิธิ​โรงพยาบาล​สวนดอก​ เพื่อ​อุปกรณ์​การแพทย์​ศัลยศาสตร์​ระบบทางเดินปัสสาวะ​ ในวันที่ 5 มีนาคม 2567 ณ ห้อง​รับรอง ​ชั้น 1 อาคาร​ศรีพัฒน์​ คณะ​แพทยศาสตร์​ มช. ติดตามผ่าน Facebook : https://cmu.to/URNyn ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กรงานประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต้อนรับคณะนักวิจัย ร่วมปรึกษาหารือ การดำเนินโครงการวิจัย

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. พร้อมด้วย รศ.ดร.นพ.ดำเนินสันต์ พฤกษากร ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช., ผศ.นพ.ฉลอง ชีวเกรียงไกร ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช., รศ.ดร.นพ.ชัยสิริ อังกุระวรานนท์ ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. และนักวิจัยจากศูนย์ CMUTEAM ร่วมให้การต้อนรับคณะนักวิจัยจาก London School of Hygiene and Tropical Medicine, Queen Mary University of London และ University of Dundee สหราชอาณาจักร นำโดย Prof. Dorothea Nitsch, Professor of Clinical Epidemiology, London School of Hygiene and Tropical Medicine และ Prof. Rohini […]

1 2 3 9