53

ภูมิปัญญาอันทรงค่า “กลองล้านนา” ร่วมปลุกพลังแห่งความศรัทธา ให้กลับมาดังขึ้นอีกครั้ง

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 21 กลองล้านนา (สล่ากลอง) “…กลองล้านนามาด้วยความศรัทธา ทำไมคนสมัยก่อนถึงศรัทธา ทำไมคนปัจจุบันถึงไม่เห็นค่าคุณค่าของกลองมีเยอะ อยู่ที่ว่าใครมองเห็น มองไม่เห็น พยายามช่วยกันฟื้นฟูตรงนี้แล้วมันก็จะไม่หายไปจากแผ่นดินล้านนาเหมือนกัน… ”— อานนท์ ไชยรัตน์ — กลองล้านนา เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่มาตั้งแต่โบราณกาล เมื่อก่อนเคยถูกตีอย่างอึกทึกครึกโครมตามตำราพิชัยสงคราม และเคยถูกวางเงียบสงบในยามบ้านเมืองมีความผาสุก มาในปัจจุบันบ้านเมืองไร้ซึ่งสงคราม กลองล้านนาได้มีความสำคัญที่เปลี่ยนไป ปรับเปลี่ยนบทบาทการใช้ต่างจากที่เคยเป็นมา แต่ถึงแม้ทุกวันนี้กลองล้านนาจะมีบทบาทที่เปลี่ยนไป แต่คุณค่าของกลองนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง ความเชื่อ และความศรัทธา ต้นกำเนิดภูมิปัญญาล้ำค่า “กลองล้านนา” “…กลองล้านนามาด้วยความศรัทธา เพราะฉะนั้นกลองจะถูกโยงกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเป็นส่วนนึงในการใช้ในประเพณี พิธีกรรม กลองปู่จามีไว้ทำอะไร ก็มีไว้บูชา ประกอบในประเพณีพิธีกรรม เมื่อเป็นการบูชา ถ้าไม่มีศรัทธา ก็จะไม่มีการสักการะบูชา เพราะฉะนั้นมันก็จะเริ่มมาจากศรัทธา ถ้ามีศรัทธา ก็จะเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างกลองแต่ละอย่าง กลองศึกใช้อะไร ใช้สำหรับในการปลุกขวัญกำลังใจให้กับนักรบ ให้มีความฮึกเหิม ในการรบทัพจับศึก…” — อานนท์ ไชยรัตน์ – เมื่อพูดถึงเครื่องดนตรีทางภาคเหนือ หลากหลายคนจะคิดถึงเครื่องดนตรีล้านนาที่เป็นอัตลักษณ์ อย่าง สะล้อ ซอ ซึง […]

สืบสานงานศิลป์ มนต์เสน่ห์แห่งดนตรีล้านนา ที่ไม่เคยสิ้นเสียง แม้กาลเวลาผันเปลี่ยน

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 20 เครื่องดนตรีล้านนา “…ทำเองทั้งหมดเลย ชอบด้วยใจ มาทำด้วยใจ ทำด้วยจิตวิญญาณที่อยากจะเป็น อยากจะสืบทอด เจตนารมณ์ คือ การสืบทอดศิลปะ… ”— กำจร เทโวขัติ์ – เสียงสะล้อ ซอ ซึง ดนตรีแห่งเอกลักษณ์ หวนคิดถึงดินแดนล้านนา ดังคำกล่าวที่ว่า ดนตรีที่ดี เกิดจากเครื่องดนตรีที่ดี เครื่องดนตรีที่ดี เกิดจากนักทำเครื่องดนตรีที่มีความสามารถ เครื่องดนตรีล้านนาเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่สวยงามของทางภาคเหนือ เสียงดนตรีล้านนาที่บรรเลงอย่างมีเอกลักษณ์ ใช้บรรเลงประกอบการแสดงต่าง ๆ หรือ ตามงานเทศกาลของชาวล้านนา อาทิ งานขันโตก และ งานประเพณีสำคัญต่าง ๆ หรือแม้แต่เพื่อความนันทนาการ เบื้องหลังของดนตรีที่ไพเราะนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ผู้เล่น ที่มีการสร้างสรรค์เพลงออกมา แต่สล่าผู้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีล้านนาก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการออกแบบงานเสียง ผลิตเครื่องดนตรีอันเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งผลิตด้วยวิธีดั้งเดิม ใช้มือทุกกระบวนการทำ ไร้ซึ่งเทคโนโลยี ทำให้เครื่องดนตรีล้านนา เป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีที่มีความโดดเด่น และ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเสียงอันไพเราะ และ มีเสน่ห์ไม่แพ้เครื่องดนตรีสมัยใหม่ ในอดีตที่ผ่านมา […]

วิถีแห่ง “เจิง” ศาสตร์ศิลป์การต่อสู้ นาฏกรรมสะท้อนความยิ่งใหญ่ของล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 19 การฟ้อนเจิง “…วิชาความรู้ ถ้าเราอม มันจะหาย ถ้าคาย มันจะอยู่ต่อไป คนรุ่นใหม่จะสามารถสื่อสารกับคนรุ่นเดียวกัน และ คนรุ่นถัดไปได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าเสมอ เพราะฉะนั้น ฝากทุกคนช่วยกัน… ”— ศรัณ สุวรรณโชติ – ฟ้อนเจิง ศิลปะการต่อสู้ เอกลักษณ์สำคัญของล้านนา เป็นนาฏกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตอย่างหนึ่งของชาวภาคเหนือ เรื่องราวของศิลปะการต่อสู้ และทักษะป้องกันตัว ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในอดีต เจิง มีความสำคัญ เป็นศิลปะโบราณที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับวิถีชีวิตชาวล้านนา เป็นการต่อสู้ การป้องกันตัวของบรรพบุรุษล้านนา ในยามสงครามสมัยก่อน แต่ปัจจุบันนี้ ไร้ซึ่งสงคราม ฟ้อนเจิงจึงถูกลดบทบาทลงไปมาก และมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เจิงจากเป็นทักษะการต่อสู้ ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาสุขภาพกาย และใจ  ฝึกเพื่อจัดระเบียบร่างกาย และฝึกสมาธิ จากยุทธการ ทำเพื่อการต่อสู้ กลายมาเป็น นาฏยกรรม ท่ารำที่สะท้อนอัตลักษณ์ของล้านนา “การฟ้อนเจิง” จากยุทธการสู่นาฏกรรมแห่งความภาคภูมิใจของชาวล้านนา “…ฟ้อนเจิงเป็นศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณ วิถีของเจิง นอกจากการฝึกในเรื่องของกระบวนท่าการต่อสู้ ยังฝึกในเรื่องของการประพฤติการครองตน ทำอย่างไรให้เรามีความปกติสุข […]

วิถีแห่ง “เจิง” ศาสตร์ศิลป์การต่อสู้ นาฏกรรมสะท้อนความยิ่งใหญ่ของล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 19 การฟ้อนเจิง “…วิชาความรู้ ถ้าเราอม มันจะหาย ถ้าคาย มันจะอยู่ต่อไป คนรุ่นใหม่จะสามารถสื่อสารกับคนรุ่นเดียวกัน และ คนรุ่นถัดไปได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าเสมอ เพราะฉะนั้น ฝากทุกคนช่วยกัน… ”— ศรัณ สุวรรณโชติ – ฟ้อนเจิง ศิลปะการต่อสู้ เอกลักษณ์สำคัญของล้านนา เป็นนาฏกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตอย่างหนึ่งของชาวภาคเหนือ เรื่องราวของศิลปะการต่อสู้ และทักษะป้องกันตัว ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในอดีต เจิง มีความสำคัญ เป็นศิลปะโบราณที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับวิถีชีวิตชาวล้านนา เป็นการต่อสู้ การป้องกันตัวของบรรพบุรุษล้านนา ในยามสงครามสมัยก่อน แต่ปัจจุบันนี้ ไร้ซึ่งสงคราม ฟ้อนเจิงจึงถูกลดบทบาทลงไปมาก และมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เจิงจากเป็นทักษะการต่อสู้ ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาสุขภาพกาย และใจ  ฝึกเพื่อจัดระเบียบร่างกาย และฝึกสมาธิ จากยุทธการ ทำเพื่อการต่อสู้ กลายมาเป็น นาฏยกรรม ท่ารำที่สะท้อนอัตลักษณ์ของล้านนา “การฟ้อนเจิง” จากยุทธการสู่นาฏกรรมแห่งความภาคภูมิใจของชาวล้านนา “…ฟ้อนเจิงเป็นศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณ วิถีของเจิง นอกจากการฝึกในเรื่องของกระบวนท่าการต่อสู้ ยังฝึกในเรื่องของการประพฤติการครองตน ทำอย่างไรให้เรามีความปกติสุข […]

“สืบ” และ “สาน” ความภาคภูมิใจ การฟ้อนเล็บ ศิลปะแห่งล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 18 การฟ้อนเล็บ “…การฟ้อนเล็บ อับดับ 1 ในเชียงใหม่ ความภาคภูมิใจมันลดไม่ได้ มันถูกส่งต่อ ๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น หากไม่มีช่างฟ้อนระดับบรมครูเป็นผู้ส่งต่อความงดงามนี้ไปยังลูกหลาน ก็อาจทำให้การฟ้อนเล็บสูญสลายไปตามกาลเวลา… ”— ศรีพรรณ์ เขียวทอง – ความอ่อนช้อย ความงดงาม ความสามัคคี เป็นเสน่ห์ที่ส่งออกมาจากสตรีล้านนาผ่านการฟ้อนเล็บ ศิลปะที่เป็นอัตลักษณ์แห่งล้านนา เหตุใดศิลปะการแสดงแขนงนี้ จึงอยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาอย่างเหนียวแน่น และยาวนาน ชมรมฟ้อนเล็บเชียงใหม่ คือส่วนหนึ่งที่เป็นพลังสำคัญในการอนุรักษ์ และสืบสานความภาคภูมิใจ การรวมตัวกันของเหล่าสตรีที่มีใจรักในการฟ้อนเล็บ มาด้วยใจ และกายที่ต้องการสืบสานวัฒนธรรมอันมีค่า ในวันนี้ฟ้อนเล็บยังคงอยู่คู่แผ่นดินล้านนา ไม่จางหายไปพร้อมกับกาลเวลาที่แปรผัน แต่ความน่ากังวลที่เกิดขึ้น คือ ผู้ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมนี้ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่ยังรอให้คนรุ่นใหม่ วัยหนุ่มสาวมาช่วยสานต่อความภาคภูมิใจนี้ “ฟ้อนเล็บ” วัฒนธรรมที่เคียงคู่กับชาวล้านนามาอย่างยาวนาน “…มันมีมาตั้งแต่เดิมจากในคุ้มในวัง มีงาน หรือมีการต้อนรับราชอาคันตุกะ เจ้าดาราก็เป็นคนจัด สมัยแต่ก่อน แม่ยังไม่เกิดเลย อันนี้เราก็มาต่อปลายเขา เพราะฟ้อนเล็บเป็นของพื้นบ้านเชียงใหม่เรา เรียกว่าฟ้อนตึ่งโนง…” — แม่ครู ศุภรัตน์ เกตุบุญเรือง […]

ปลุกไม้ที่ตายแล้ว ให้มีชีวิต “ร่มบ่อสร้าง” หัตถกรรมล้ำค่า ที่อยู่คู่ล้านนามากว่า 200 ปี

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 17 ร่มบ่อสร้าง ชีวิตและสีสัน “…ร่มบ่อสร้าง เราสืบมากจากหลายชั่วอายุกว่า 200 ปี ย้อนอดีตถึงปัจจุบัน ร่มบ่อสร้าง คือ ความสามัคคีของคน ไม่สามารถมีเครื่องจักรไหนมาแทนงานฝีมือคนได้… ”— กัณณิกา บัวจีน – “…ต้นเปาแดนดินถิ่นหัตถกรรม งามล้ำร่มบ่อสร้างกระดาษสา กราบสักการะพระนอนแม่ปูคา ทรงคุณค่าวัฒนธรรมประเพณี…” เส้นทางถนนสู่ ตำบล ต้นเปาอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีวิถีชีวิตของคนล้านนาเรียงร้อยต่อกันตลอดสาย ถนนเส้นนี้พาไปสู่แหล่งศิลปหัตถกรรมเลื่องชื่อ ที่อยู่คู่กับชาวเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน “ร่มบ่อสร้าง”  งานหัตถกรรมที่แสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของความเป็นพื้นเมือง แสดงออกถึงความคิด ความสร้างสรรค์ของเหล่านักปราชญ์ล้านนา ความสวยงามด้านศิลปะ สิ่งเหล่านี้ถูกหลอมรวมกลายมาเป็นร่มบ่อสร้าง ภูมิปัญญาอันทรงค่าของชาวล้านนา กว่าจะเป็นร่มบ่อสร้างที่วิจิตรงดงาม และสร้างชื่อเสียงคู่เชียงใหม่มายาวนานกว่า 200 ปี ชุมชนบ่อสร้างได้มีการเตรียมความพร้อม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ และนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมาโดยตลอด การสืบสาน ต่อยอด จนทำให้ร่มบ่อสร้างกลายเป็น หนึ่งใน Soft Power ของเชียงใหม่ ที่ทุกคนให้การยอมรับมาจนถึงทุกวันนี้ สร้างไม้ที่ตายแล้ว ให้กลับมามีชีวิต งานหัตถกรรมที่อยู่บนความภาคภูมิใจของชาวล้านนามากว่า […]

สัญลักษณ์แห่งความศรัทธา “ตุง” วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 16 ตุงล้านนา “…เวลาคนมาเที่ยว เราเอาอะไรไปให้เขาดู เรามีวัฒนธรรม มีประเพณีอันดีงาม ที่จะทำให้เขามารู้ มาเห็น ถ้าไม่ช่วยกันรักษา ไม่ช่วยกันดำรงสืบ อนาคตข้างหน้า มันจะค่อย ๆ กลืนหายไปทีละนิด ๆ… ”— พลเทพ บุญหมื่น – ตุงล้านนา เป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่แฝงไปด้วยความเชื่อ ความศรัทธาของชาวล้านนา ตุง เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ธง ส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ฝังรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวล้านนา ตั้งแต่เกิดจนตาย ชาวล้านนาจะนำตุงมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และใช้เป็นเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรืองานอวมงคล ในปัจจุบันเราก็ยังคงเห็นตุงถูกนำมาประดับตามสถานที่ต่าง ๆ และจะพบเห็นได้มากในช่วงเทศกาล สามารถกล่าวได้ว่า ตุง ยังคงอยู่ในชีวิตประจำวันของคนล้านนาสมัยใหม่ แม้รูปแบบการนำมาใช้อาจแตกต่างออกไปจากอดีตบ้างเล็กน้อย ตามยุคสมัย และบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่คุณค่า และความหมายของ ตุง ก็ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มรดกทางวัฒนธรรม “ตุง” เอกลักษณ์สำคัญที่อยู่คู่ชาวล้านนามาหลายศตวรรษ ตุงล้านนา ธงที่ใช้สำหรับแขวนประเภทหนึ่ง เป็นศิลปะของล้านนา […]

เชิงช่างสืบศิลป์หัตถกรรม “โคมผัด”แสงสว่างแห่งล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 15 แสงสะท้อนโคมผัดล้านนา “…โซเชียลมันก้าวไปไกลแล้ว อย่าไปกระโดด ต้องหันมามองข้างหลัง หันมามองที่มา ที่ไป ของรากเหง้าของเรา ว่าเรามาจากไหน… ”— พ่อครูจำนงค์ เสมพิพัฒน์ – โคมผัดล้านนา งานหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวล้านนา เป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษร่วมสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ชุมชนท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นต้นกำเนิดของภูมิปัญญาล้ำค่านี้ มีการทำโคมหลากหลายชนิด ที่นี่มีเครือข่ายของสล่าทำโคมในชุมชนประมาณ 400 คน สล่าที่ยังร่วมรักษา และสืบสานการทำโคมให้อยู่คู่ล้านนามาจนถึงปัจจุบัน กว่าจะเป็นโคมที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ โคมที่ประดับตกแต่งตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วภาคเหนือ และนำไปใช้ในช่วงเทศกาลสำคัญ ทุกขั้นตอนล้วนสร้างสรรค์ด้วยมือ ด้วยหัวใจ และจิตวิญญาณของความเป็นสล่าที่ยังยึดมั่นในการรักษามรดกทางวัฒนธรรม เพื่อส่งต่อความรู้ของวิถีชีวิต จารีตประเพณี และวัฒนธรรม สิ่งที่แสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ล้านนา ให้ผู้ที่พบเห็นได้รําลึกหวนคิดถึงวิถีชีวิตของคนยุคเก่า และตระหนักในคุณค่าของความเป็นคนเมืองล้านนา จุดประกายแสงแห่งล้านนา วัฒนธรรมอันทรงค่า ที่อยู่คู่แผ่นดินล้านนามาจนถึงปัจจุบัน “…ต้นตอของโคมล้านนาเรา มันมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิม ปู่ ย่า ตา ยาย ของเราทำมาก่อน แล้วพ่อครูก็มาสืบทอดต่อ ส่วนใหญ่ก็จะทำไว้ที่วัดเป็นพุทธบูชา คนเมื่อก่อนมีความผูกพันในด้านศาสนา ที่หมู่ […]

เยือนถิ่นวัฒนธรรม “ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม” งานหัตถกรรมที่สืบทอดมานานกว่าหลายร้อยปี

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 14 ผ้าซิ่นตีนจก “…แม่ภูมิใจ ที่แม่เกิดมาเป็นคนแม่แจ่ม แม่ภูมิใจ แม่ได้เกิดมาอยู่กับผ้าซิ่นตีนจก ลูกหลานทำเป็นทุกคน สืบต่อแน่นอน แต่อาจจะน้อยลง  ใครทอผ้าซิ่นตีนจกเป็นนี่ไม่อดตาย … ”— สมหมาย กรรณิกา – ศูนย์หัตถกรรมผ้าตีนจกแม่แจ่ม ตำบล ช่างเคิ่ง อำเภอ แม่แจ่ม จังหวัด เชียงใหม่ เป็นแหล่งสะสมภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ศิลปหัตถกรรมผ้าซิ่นตีนจก เป็นสิ่งที่อยู่คู่เคียงแม่แจ่ม และหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวบ้านมาอย่างยาวนาน วัฒนธรรมที่ผูกพันกับชาวแม่แจ่ม เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตตั้งแต่เกิด จนล่วงลับไป หัตถกรรมผ้าทอมือที่มีเอกลักษณ์ แตกต่างจากที่อื่น ๆ มีลวดลายที่มีความละเอียด ประณีต สามารถใช้ได้ทั้งสองด้านในผืนเดียว มีลวดลายโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 16 ลาย และก็ยังมีลายโบราณ และลายประยุกต์อื่น ๆ มากสูงสุดถึง 100 ลาย ภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ที่สืบทอดมานานกว่าหลายร้อยปี เอกลักษณ์สำคัญของอำเภอแม่แจ่ม เที่ยวบ่อน้ำแร่ ล่องแพน้ำแจ่ม พักแรมน้ำตก ผ้าตีนจกยอดน้ำมือ เป็นคำขวัญประจำอำเภอแม่แจ่ม […]

ภูมิปัญญากว่า 50 ปี “ผ้าฝ้ายเชิงดอย” ตำนานผ้าย้อมหินโมคคัลลาน

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 13 ช่างทอผ้าฝ้ายเชิงดอย “…เด็กสมัยนี้อาจมองว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย แต่รู้หรือไม่ว่าทุกวันนี้ที่เราคิด เราทำ ก็ทำให้พวกเขาวันหนึ่งเขากลับมาบ้าน จะได้รู้ว่าคุณค่าจริง ๆ แล้ว ก็คือของในหมู่บ้านเรานี่แหละ… ”— ทัญกานร์ ยานะโส – “ผ้าฝ้ายเชิงดอย” การย้อมผ้าด้วยหินโมคคัลลาน เอกลักษณ์หัตถกรรมล้านนา ที่สืบทอดมานานกว่า 50 ปี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอย ตำบล สบเตี๊ยะ อำเภอ จอมทอง จังหวัด เชียงใหม่ คือ ชุมชนที่มีภูมิปัญญาโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการใช้หินเป็นวัตถุดิบในการย้อมผ้า คือ หินโมคคัลลาน เป็นวิธีการทางธรรมชาติ สีที่แปลกตาจากหิน ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับผ้าฝ้ายคุณภาพ ก่อเกิดรายได้ และการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืนให้คนในชุมชนมาอย่างยาวนาน ซึ่งทางชุมชนเองก็เคยเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมามากมาย จนสามารถปรับตัว และเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน อยู่ได้มาจนถึงทุกวันนี้ หนึ่งเดียวในเชียงใหม่ หัตถกรรมผ้าฝ้ายเชิงดอย ภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วยหินโมคคัลลาน ภูมิปัญญาที่อยู่บนความภาคภูมิใจของชาวจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี คุณทัญกานร์ ยานะโส ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอย ได้บอกเล่าถึงความเป็นมา […]

งานหัตถกรรมล้ำค่า “ผ้าเขียนเทียน” ศิลปะบนผืนผ้า ความภาคภูมิใจของชนเผ่าม้ง

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 12 ผ้าเขียนเทียน ม้งดอยปุย “…เราภูมิใจที่เราเกิดเป็นคนม้ง ทำลวดลายที่คนอื่นเขาทำไม่ได้ อนาคตไม่รู้ แต่ปัจจุบันสูญหายไม่ได้ ถ้าผ้าเขียนขี้ผึ้ง กับกัญชงหายไป เอกลักษณ์ของม้งก็คงไม่มี… ”— ธัญพร ถนอมวรกุล – ศูนย์วิสาหกิจชุมชนดาวม่าง บ้านแม่สาน้อย ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่มีสภาพทางกายภาพทั่วไปเป็นภูเขา บางส่วนเป็นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ และเป็นพื้นที่ราบเพาะปลูก เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยมีคำขวัญประจำตำบลโป่งแยงว่า ต้นน้ำแม่สา ตระการตาไม้ดอก ส่งออกพริกหวาน บ้านพักโฮมสเตย์ ประเพณีไทยม้ง ถิ่นดงมะระหวาน ตำนานขุนหลวง บวงสรวงพญาแสน ดินแดนมะแขว่นหอม หลอมรวมวัฒนธรรม หนึ่งในวัฒนธรรมโดดเด่น ก็คือ งานหัตถกรรม “ผ้าเขียนเทียน” เป็นภูมิปัญญาล้ำค่า ที่ส่งต่อจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนาน เป็นความภาคภูมิใจของชนเผ่าม้ง ดาวม่างมีความหมายมาจากคำว่า ดาว ที่แปลว่าผ้า ม่าง ที่แปลว่ากัญชง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทอผ้าด้วยเส้นใยของกัญชงของชาวม้ง เส้นใยจากกัญชงที่เหนียวแน่น เชื่อมต่อกับวิถีชีวิตของชาวม้ง เป็นมรดกทางศิลปะ ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ […]

ตำนานที่ยังมีลมหายใจ “ฝาลายอำบ้านร้อยจันทร์” หนึ่งเดียวที่เหลืออยู่

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 11 เครื่องจักสาน 2 : ฝาลายอำบ้านร้อยจันทร์ “…เมื่อก่อนมี 50 – 60 หลังเลยที่ทำ ตอนนี้วางมือกันหมดแล้ว เหลือแค่นี้แหละบ้านเราไม่มีคนสอน ก็คงจะหมด คงไม่มีใครทำต่อเด็กที่เกิดมารุ่นใหม่ ต่อจากนี้ไปก็จะไม่เห็นแล้ว… ”— พ่อมา นามธุวงค์ – เมืองล้านนา คือ ดินแดนแห่งวัฒนธรรม มีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่งดงาม มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ ที่หาดู หาชมได้แค่เพียงที่ดินแดนแห่งนี้เท่านั้น รวมไปถึงด้านสถาปัตยกรรมล้านนา เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญา ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีต ที่มีวิธีการสร้างที่เป็นแบบเฉพาะ มีการใช้วัตถุดิบที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของบ้านเมือง หนึ่งในวัตถุดิบที่นิยมใช้ในการสร้างบ้านเรือนในอดีตของชาวล้านนานั้น คือ ไม้ไผ่ ที่นำมาสานเป็นฝาในรูปแบบต่าง ๆ อย่างฝาลายอำ ฝาลายสอง และฝาลายสาม ในอดีตเป็นที่นิยม แต่ในปัจจุบันกำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ชุมชนบ้านร้อยจันทร์ ต.หนองควาย อ.หางดง จ. เชียงใหม่ เป็นเส้นทางวัฒนธรรมหนึ่งเดียว ที่ยังคงสืบสานภูมิปัญญาการสานฝาลายต่าง ๆ นี้ไว้อยู่ […]

สานไม้ไผ่ สานสานใย สานต่อความภาคภูมิใจ “จักสานบ้านป่าบง”

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 10 เครื่องจักสาน 1 : จักสานบ้านป่าบง “…ผมภูมิใจ ที่ได้เกิดเป็นคนป่าบง จะทำต่อไป จนทำไม่ได้ จนวินาทีสุดท้ายจะนอนเสียไปกับตะกร้าเลย เกิดกับจักสาน ตายกับจักสาน สัญญา จะอยู่ตรงนี้ จะอยู่กับสิ่งนี้ จะอยู่อนุรักษ์จักสานป่าบงนี่แหละ…” — อำนวย แก้วสมุทร์ – ไม้ไผ่ที่ถูกนำมาตอก นำมาสานร้อยเรียงกัน จนเกิดเป็นรูปทรงต่าง ๆ นิยมนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ดำรงชีพของชาวล้านนาในอดีต สิ่งที่เรียกว่า “เครื่องจักสาน” ภูมิปัญญาที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวล้านนา จะสานต่อความภาคภูมิใจนี้ไปยังคนรุ่นใหม่ได้อย่างไร ความน่ากังวลใจที่เหล่าสล่าจักสานกำลังเผชิญ ที่ในทุกวันนี้เครื่องจักสาน ได้มีสิ่งมาทดแทนมากมาย ความนิยมที่ลดน้อยถอยลง และสล่าผู้สืบสานภูมิปัญญาล้ำค่านี้เริ่มแก่เฒ่า และจากเราไปตามกาลเวลา สานสายใยแห่งชีวิต หัตถกรรมพื้นบ้านอันล้ำค่า “เครื่องจักสานบ้านป่าบง” ป่าบง หมายถึง ป่าไผ่ วิถีชีวิตของชาวบ้านป่าบงส่วนใหญ่นั้นจะมีความผูกพันกับไม้ไผ่กันมาอย่างยาวนาน ในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่เจริญ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตก็ล้วนทำมาจากไม้ไผ่ ในยามว่างจากทำไร่ไถนา ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยนั้นก็จะมีการเหลาตอก สานกระด้ง กระบุง และตะกร้าไว้ใช้เอง หรือไม่ก็นำไปขายยังหมู่บ้านอื่น ทำให้เครื่องจักสานบ้านป่าบง เป็นเครื่องจักสานที่มีชื่อเสียง และได้รับการยกย่องเป็นสินค้า […]

สิ่งล้ำค่าที่ใกล้สูญหาย “เครื่องเขิน” หัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญาล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 9 เครื่องเขิน “…ถ้ามองเครื่องเขินนันทารามต่อไป ก็อาจจะไม่มี หรืออาจจะมีก็ได้เพราะต้องมีคนต่อยอด แต่ ณ ตอนนี้ดูแล้วมันจะหายไปละ…”— แม่ประทิน ศรีบุญเรือง – ชุมชนนันทาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในเส้นทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เป็นชุมชนที่รักษามรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่าของชาวล้านนาเอาไว้ “เครื่องเขิน” หัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ในปัจจุบัน กาลเวลาเปลี่ยน ความนิยมก็เปลี่ยนตาม จากสิ่งล้ำค่า กลายเป็นสิ่งใกล้สูญหาย อดีตมีผู้คนทำเครื่องเขินเป็นจำนวนมาก ตลอดเส้นทางนันทาราม แต่ทุกวันนี้กลับเหลือเพียงสามหลังคาเรือน เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า คุณค่า และความสำคัญของเครื่องเขินไม่เหมือนในอดีตอีกต่อไป 700 ปี แห่งความภาคภูมิใจ “เครื่องเขิน” งานหัตถศิลป์ล้านนา“ เครื่องเขิน ” หมายถึง ภาชนะ เครื่องมือ หรือ ของใช้ ที่ผลิตขึ้นโดยชาวเชียงใหม่ที่มีเชื้อสายสืบมาจากไทเขินแต่โบราณ เครื่องเขินเป็นภูมิปัญญาที่อยู่คู่กับชาวล้านนามาอย่างยาวนานกว่าหลายร้อยปี เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เป็นยุคที่มีการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ และดินแดนล้านนา ได้มีการกวาดต้อนผู้คนจากหลากหลายที่เข้ามาอยู่รวมกัน ในส่วนของไทเขิน ก็ได้มีการอพยพมาอยู่บริเวณใกล้กับวัดนันทาราม […]

ภูมิปัญญาแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา…สล่าปิดทอง

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 8 สล่าปิดทอง “…มีความซื่อสัตย์ และมีใจรักในศาสนา ถ้าเรามีจิตตั้งมั่น มันก็มีความสุขในการทำมันไม่ใช่แค่รุ่นเราที่ทำมา มันตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ กี่ร้อยกี่พันปีเขาก็ทำดีมา เราทำให้ดีที่สุด ก็โอเคแล้ว… ”— ภานุชิต พรหมเมือง — งานลงรักปิดทอง ถือเป็นงานที่แสดงถึงภูมิปัญญา และความรู้ด้านศิลปะของเหล่าสล่าปิดทอง โดยมีวัสดุสำคัญ คือยางรัก ปิดทับด้วยทองคำเปลว เพื่อตกแต่งสถาปัตยกรรม และประติมากรรมให้มีสีทองอร่าม เป็นงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างงานฝีมือ และเทคนิคการสร้างสรรค์อันซับซ้อน เป็นความวิจิตร งดงามที่อยู่คู่กับศาสนามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ความรัก และ ความศรัทธาของชาวล้านนากับพระพุทธศาสนานั้นถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน และจากความรัก ความศรัทธา ก็ได้ทำให้เกิดศิลปะคู่บ้านคู่เมือง ตราบใดที่พระพุทธศาสนายังเจริญรุ่งเรืองคู่ดินแดนล้านนา และประเทศไทย งานศิลปกรรมชั้นสูง หัตถกรรมการปิดทองนี้ ก็จะยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการสืบทอด และคงไว้ซึ่งการดำรงอยู่ของช่างหัตถศิลป์ ตำนานเล่าขาน…งานปิดทองงานลงรักปิดทอง ถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมไทย แขนงหนึ่งที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ประเภทช่างรัก คนไทยรู้จักการลงรักปิดทองพระพุทธรูป และลวดลายต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน ไม่น้อยกว่าสมัยสุโขทัย มีการค้นพบหลักฐานการลงรักปิดทอง ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะ ปั้นปูนสด หรือจักสานด้วยไม้ไผ่ และการลงรักปิดทองคำเปลว แม้หลักฐานของการปิดทองจะยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่มีการกล่าวถึงอานิสงส์ของการทำบุญด้วยทอง […]

ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน…ภูมิปัญญากว่า 200 ปี

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 7 สล่าปั้น “…ถ้าสินค้าไม่ดีจริงคงไม่อยู่ถึง 200 กว่าปี คนปั้นเริ่มสูงอายุ เริ่มสูญหายไปตามกาลเวลา อยากให้วัฒนธรรมที่มีอยู่ 200 กว่าปี ยังคงอยู่คู่กับบ้านเหมืองกุงของเรา… ”— วชิระ สีจันทร์ – ชุมชนบ้านเหมืองกุง ชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน และมีการถ่ายทอดการทำเครื่องปั้นดินเผา มาตั้งแต่บรรพบุรุษ กว่า 200 ปี คนโทยักษ์ หรือที่คนภาคเหนือ เรียกกันว่า น้ำต้น สิ่งที่ตั้งตระหง่าน อยู่ ณ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ คือ สัญลักษณ์ทางเข้าสู่บ้านเหมืองกุง หมู่บ้านที่รวมยอดสล่าเครื่องปั้นดินเผา ที่มีการใช้วิธีปั้นแบบดั้งเดิม ในวันนี้เราแทบจะหาดูจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ตำนานงานช่าง คนปั้นดิน บ้านเหมืองกุง ที่มีการเชื่อมโยงสีสันวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของคนล้านนา จากอดีตสู่ปัจจุบัน ชุมชนบ้านเหมืองกุง…เส้นทางภูมิปัญญากว่า 200 ปี หมู่บ้านเหมืองกุงเดิมมีชื่อว่า “บ้านสันดอกคำใต้” เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของเชียงใหม่ มีการปั้นน้ำต้น และหม้อน้ำมานานกว่า 200 […]

สมบัติวัฒนธรรมล้านนา…งานคัวตอง วัดพวกแต้ม

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 6 สล่าคัวตอง “…ลายนี้มันควรจะดุนอย่างไรให้มันสวยแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้นั่งทำไม่เหมือนกันสักชิ้นจิตวิญญาณของสล่าที่ตอกลงไป งานคัวตอง Handmade งานศิลปะที่หาดูได้ยาก… ”— นิวัติ เขียวมั่ง – บอกเล่าผ่านกาลเวลา….งานคัวตองเครื่องหมายสะท้อนวิถีชีวิตชาวล้านนาในอดีต งานคัวตอง หรือ งานเครื่องทองเหลือง คือ สัญลักษณ์ของความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ในงานหัตถกรรมล้านนา “คัว” หมายถึง งานฝีมือ หรือ งานหัตถการ “ตอง” คือ ทองเหลือง “คัวตอง” จึงหมายถึง งานเครื่องทองเหลืองที่ถูกทำขึ้นมาด้วยการตีขึ้นรูป และนำมาฉลุลายด้วยฝีมือของ ‘สล่า’ หรือช่างคัวตอง ที่ทำขึ้นมาด้วยความประณีต ต้นกำเนิดงานหัตถศิลป์ล้ำค่านี้ มีการสันนิษฐานว่า น่าจะเริ่มจากยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ที่พระเจ้ากาวิละได้ทำการกวาดต้อนผู้คนจากหลายที่มารวมตัวกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้น ต่างคนต่างมีทักษะเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นช่างหล่อ ช่างแกะสลัก ช่างเงิน ช่างเขิน เป็นต้น จึงมีการคาดการณ์ว่า งานคัวตอง น่าจะถือกำเนิดขึ้นในช่วงนี้ สล่าที่ถูกกวาดต้อนมา ได้ทำการหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้นเป็นจำนวนมาก อยู่ในบริเวณย่านถนนช่างหล่อ ใกล้กับวัดพวกแต้ม […]

สานต่อตำนานศิลปหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย ความภาคภูมิใจของชาวล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 5 สล่าไม้บ้านถวาย “…อีกไม่เกิน 10 ปี ทุกอย่างจะหายไป การสืบทอดภูมิปัญญาในด้านแกะสลักมันหายไปแล้ว มาบ้านถวาย มาสัมผัสของจริง สัมผัสด้วยตัวเอง ท่านจะรู้คุณค่าของงาน คำว่าภูมิปัญญามันมีค่า ต่อไป 10 ปี ใครแกะเก่งใครแกะได้คนนั้นจะรวย… ”— สวัสดิ์ พันธุศาสตร์ – ตำนานไม้แกะสลักบ้านถวาย ศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเชียงใหม่ บ้านถวาย ชุมชนที่อยู่มายาวนานกว่า 100 ปี หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก ตั้งอยู่ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จากชุมชนที่ทำการเกษตรกรรม กลายมาเป็นชุมชนที่ทุกคนร่วมใจกันสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจากไม้ จนเป็นชุมชนต้นแบบ และยกระดับไม้แกะสลักให้เป็นงานศิลปหัตถกรรมระดับชาติ ปี 2500 จุดเริ่มต้นของตำนานไม้แกะสลัก เมื่อเกิดภาวะฝนแล้ง นาล่ม ชาวบ้านไม่สามารถทำการเกษตรได้ ต้องดิ้นรนต่อสู้ ออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน จะมีพ่อลุง 3 ท่าน ที่เป็นช่างไม้ของชุมชนบ้านถวาย ได้ไปทำงานเป็นช่างไม้อยู่ที่ประตูเชียงใหม่ ได้ซ่อมแซมโบราณวัตถุ ไม้แกะสลักที่ชำรุด จนตระหนักได้ว่า ไม้เหล่านั้นสามารถซ่อม และแกะสลักมันได้ จึงเริ่มเกิดการเรียนรู้ และสร้างทักษะด้านแกะสลัก […]

หัตถศิลป์ “เครื่องเงิน” อันล้ำค่าที่อยู่คู่ชาวล้านนามากว่า 700 ปี

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 4 สล่าเงิน วัดศรีสุพรรณ “…ถ้าใช้จิตวิญญาณตอกลงไปในเครื่องเงิน ชิ้นงานจะมีความเป็นอมตะ ต่อให้ตัวตาย แต่จิตวิญญาณที่ฝังอยู่ในเครื่องเงิน ก็ยังคงอยู่นิจนิรันดร์… ”— พ่อครูดิเรก สิทธิการ — ยอดสล่า ผู้อุทิศทั้งชีวิตเพื่อสืบสานวัฒนธรรมล้านนา เครื่องเงินอันทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดินไทย ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา พ่อครูดิเรก สิทธิการ ผู้เกิด และเติบโตมาในครอบครัวช่างดุนโลหะ สลักเงิน ในชุมชนบ้านวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นยอดสล่าพื้นบ้านดุนลายเครื่องเงิน ผู้มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ในเรื่องของการดุนโลหะ เปลี่ยนจากแผ่นโลหะเรียบ ๆ ไร้ลวดลาย ให้กลายเป็นลวดลายสุดวิจิตร มีการออกแบบทั้งลวดลายไทย และลวดลายร่วมสมัย “สิ่งที่ภูมิใจมาก ๆ เมื่อไม่นานมานี้ ทางกระทรวงวัฒนธรรม เขาเลือกสินค้าชุมชนวัวลายเรา มอบให้เป็นของที่ระลึกผู้นำเอเปค ถ้าพูดถึงมูลค่าไม่นับว่าแพงหรอก แต่คุณค่ามันอยู่ที่ว่า สกุลช่างบ้านเรา ได้รับเกียรติ ได้เป็นตัวแทนในการทำ นับเป็นสตางค์มันไม่แพง แต่มันอยู่ที่จิตใจ” — พ่อครูดิเรก สิทธิการ — สล่าที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวล้านนา พ่อครูดิเรก สิทธิการ […]

1 23 24 25